วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2553

พริกไทย


พริกไทย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Piper nigrum) เป็นพืชมีผลเป็นพวงเม็ดขนาดเล็ก และเป็นเครื่องเทศที่ให้รสเผ็ดร้อน สามารถนำมาทำพริกไทยแห้งเป็นเครื่องปรุงสำหรับ อาหาร ซึ่งถ้าทำแห้งทั้งเปลือกจะได้พริกไทยดำเนื่องจากผงของเปลือก เป็นสีดำปนอยู่ ส่วนพริกไทยขาวได้จากการลอกเปลือกออกก่อนทำเป็นผง

ลักษณะ ต้นพริกไทย
พริกไทย เป็นต้นไม้ประเภทไม้เลื้อย มีความสูงประมาณ 5 เมตร ลักษณะของลำต้นเป็นข้อๆ เป็นต้นไม้ที่มีอายุยืน ระบบรากของต้นพริกไทยจะมีเกิดบริเวณข้อตามลำต้นเป็นรากเล็กๆจะเป็นรากที่ ช่วยยึดเกาะ และมีรากที่อยู่ในดินขนาดใหญ่ประมาณ 3-6 ราก แต่ละรากจะมีรากฝอย ลักษณะใบจะมีสีเขียวสด ใบใหญ่คล้ายใบโพ ดอกของพริกไทยจะมีขนาดเล็ก จะออกช่อตามข้อเป็นพวง เมล็ดจะมีลักษณะกลมติดกันเป็นพวง

สรรพคุณ ทางยาสมุนไพร
พริกไทยดำและพริกไทยขาว

ใบ : แก้ลมจุกเสียด แน่น ท้องอืดเฟ้อ

เมล็ด : ผลที่ยังไม่สุกนำมาทำเครื่องเทศ แต่งกลิ่นอาหาร

* ผลแก่ 15-20 เมล็ด บดเป็นผงชงน้ำกินให้หมด 1 ครั้ง ช่วยขับลม ขับเสมหะ

ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงธาตุแก้อาการอาหารไม่ย่อย

ดอก : แก้ตาแดง

ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น ระงับอาเจียน ผ่อนคลายอาการไม่สบายจากอาหารเป็นพิษจากอาหารทะเลและเนื้อสัตว์

สมอไทย


สมอไทย

ชื่อพื้นเมือง สมออัพยา มะนะ (ภาคเหนือ) ม่าแน่ (กะเหรี่ยง เชียงใหม่)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Terminalia chebula Retz.

ชื่อ วงศ์ สมอ COMBRETACEAE

ชื่อ สกุลไม้ สมอไทย Terminalia L.

ชื่อ สามัญ Chebulic Myrobalans, Myrobalan Wood, Ink Nut

นิเวศวิทยา และการกระจายพันธุ์

ใน ประเทศไทย พบขึ้นใน ป่าดงดิบเขา ป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ และป่าสักที่สูงจากระดับน้ำทะเล 100 - 500

ในต่าง ประเทศ พบขึ้นทั่วไปใน เอเชีย
สถานภาพ ประเภท ก. ไม้หวงห้ามธรรมดา ยกเว้วนกรณีที่ขึ้นในที่ดินกรรมสิทธิ์

ลักษณะ ทั่วไป

ต้นไม้ เป็นไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 15 - 25 ม. ลำต้นเปลาตรง โคนต้นไม่มีพูพอนหรือมีบ้างเล็กน้อยในช่วงที่ใกล้ผิวดิน เรือนยอด เป็นพุ่มกลม เปลือกนอก หนา สีน้ำตาลค่อนข้างดำ มีรอยแตกตามยาวเป็นร่องลึก ขรุขระ เปลือกใน สีน้ำตาลแดง กิ่งอ่อนและยอดอ่อน มีขนสีน้ำตาลแดงหนาแน่น ปลายกิ่งลู่ลง

ใบ ใบเดี่ยว ติดตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย ทรงใบมีทั้งรูปรี ๆ และรูปไข่ขนาดใหญ่ใบสั้นปลายแหลมเล็ก ๆ หรือรูปขอบขนานบริเวณขอบใบใกล้กับโคนใบ มีตุ่มหูด 1 คู่ โคนใบมนและมักบิดเบี้ยวเล็กน้อย ขนาดใบกว้าง 10 - 13 ซม. ยาว 18 - 28 ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนา ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 2 - 2.5 ซม. ใบอ่อน ขอบใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลอ่อนหนาแน่น เรียงเป็นระเบียบ ใบแก่หลังใบสีเขียวเข้ม มีขนสีขาวคลุม ท้องใบสีจางกว่า มีขนสีน้ำตาลอ่อนนุ่ม เมื่อใบแก่ ขนทั้ง 2 ด้านจะหลุดร่วงหมดไป หรือมีเหลืออยู่บ้างเพียงประปราย เส้นแขนงใบค่อนข้างถี่ มี 12 - 18 คู่ และมักมีเส้นแทรก เส้นใบย่อยแบบร่างแหเห็นชัดมากทางด้านท้องใบ

ดอก ดอกออกเป็นช่อ แต่ละช่อจะมีช่อแขนง 4 - 7 ช่อ ปลายช่อจะห้อยลงสู่พื้นดินหรือตั้งขึ้น ดอกบานเต็มาที่กว้างประมาณ 3 - 4 มม. เป็นดอกสมบูรณ์เพศสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม กลีบรองกลีบดอกมี 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย มีขนแน่นทางด้านใน ไม่มีกลีบดอก เกสรผู้ มี 10 อัน เรียงตัวเป็นสองแถวล้อมรอบรังไข่ รูปไข่ เกลี้ยง ๆ ภายในมีช่องเดียว มีไข่อ่อน 2 หน่วย หลอดท่อรังไข่มีหลอดเดียว

ผล เป็นพวกผลสด รูปไข่กลับ รูปไข่ รูปกระสวย หรือรูปรักบี้ ยาว 3 - 4 ซม. กว้าง 2 - 3 ซม. ผิวเรียบมี 5 เหลี่ยมหรือพู จำนวนเมล็ด มี 1 เมล็ด มีเนื้อเยื่อหนาหุ้ม ผลแก่ สีเขียวอมเหลือง แต่เมื่อแห้งจะออกสีดำ

ระยะเวลาใน การออกดอกและเป็นผล ออกดอกระหว่างเดือน เมษายน-มิถุนายน และเป็นผลแก่จัดระหว่างเดือนกันยายน-ธันวาคม

การขยาย พันธุ์ โดยการเพาะกล้าไม้จากเมล็ด
ลักษณะ เนื้อไม้

เนื้อไม้แปร รูป กระพี้สีเขียวอ่อนถึงเหลืองอ่อน หรือสีน้ำตาลแกมเทา แก่นสีม่วงแก่ แตกต่างจากกระพี้เห็นได้ชัดเจน เสี้ยน สน แข็ง เลื่อย ไสกบ แตกต่างยาก ทนทานแดดฝนได้ดี

ความถ่วง จำเพาะ ประมาณ 1.22

กลสมบัติไม้ เนื้อไม้มีความแข็ง ประมาณ 1,133 กก. ความแข็งแรง 1,155 กก./ตร.ซม. ความดื้อ 121,700 กก./ตร.ซม. ความเหนียว 3.04 กก-ม.

การผึ่ง การอบ อบให้แห้งได้ยากปานกลาง ใช้ตารางอบไม้ที่ 4

ความทนทาน ตามธรรมชาติ ตั้งแต่ 2 - 6 ปี เฉลี่ยประมาณ 3 ปี
การ ใช้ประโยชน์

ด้านเนื้อไม้แปรรูป ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เช่น ทำเสา รอด คาน ตง เครื่องเรือน เครื่องเกวียน กรรเชียง เกวียน ครก สาก กระเดื่อง

ด้านการทำสี ย้อม เปลือกให้สีเขียว และผลให้ สีดำ ชาวบ้านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง นิยมใช้ย้อมผ้าไหม ผ้าฝ้าย ย้อมเครื่องมือประมง เช่น แห อวน และให้น้ำฝาดชนิด Pyrogallol

ด้านสมุนไพร ส่วนที่ใช้เป็นสมุนไพรและสรรพคุณคือ

ดอก รสฝาด ต้มดื่มแก้บิด

ลูก แก่ รสฝาดเปรี้ยวขม แก้ไข้ ขับเสมหะ แก้โลหิตในอุทร แก้น้ำดี ถ่ายอุจจาระ รู้ถ่ายรู้ปิดเอง แก้ลมป่วง แก้พิษร้อน ภายใน แก้ลมจุกเสียด ถ่ายพิษไข้ คุมธาตุ แก้ไอเจ็บคอ ขับน้ำเหลืองเสีย แก้เสมหะเป็นพิษ แก้ดีพลุ่ง แก้อาเจียน บำรุงร่างกาย แก้นอนสะดุ้งผวา ดองกับน้ำมูตรโค ดื่มแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ตามข้อ แก้อ่อนเพลีย บดเป็นผงโรยแผลเรื้อรัง

เนื้อ ลูกสมอ รสฝาดเปรี้ยว แก้บิด แก้ท้องผูก แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ แก้โรคเกี่ยวกับน้ำดี แก้โรคท้องมส แก้ตับ ม้ามโต แก้อาเจียน แก้สะอึก แก้หืดไอ แก้ท้องร่วงเรื้อรัง

ลูก อ่อน รสเปรี้ยว ถ่ายอุจจาระ แก้โลหิตในท้อง แก้น้ำดี แก้เสมหะ

เปลือก ต้น รสฝาดเมา ต้มดื่ม บำรุงหัวใจ ขับน้ำเหลืองเสีย ขับปัสสาวะ

ด้านเป็นพืชอาหาร ส่วนที่ใช้เป็นอาหารและ ปริมาณคุณค่าสารอาหารคือ

คุณค่าสาร อาหารขอผลสมอไทย ในส่วนที่กินได้ 100 กรัม และสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ตามรายงานของกองโภชนาการ กรมอนามัย พ.ศ. 2535 ประกอบด้วย

พลังงาน 53 กก. แคลอรี่ น้ำ 85.9 กรัม โปรตีน 1.2 กรัม ไขมัน 1.7 กรัม คาร์โบไฮเดรต 8.2 กรัม กาก 2.5 กรัม ใยอาหารยังไม่มีรายงาน เถ้า 0.4 กรัม แคลเซียม 18 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม เหล็ก มีเล็กน้อย เบต้าแคโรทีน 32 มิลลิกรัม วิตามินเอ 500 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.01 มิลลิกรัม ไนอะซิน 2.0 มิลลิกรัม วิตามินซี 116 มิลลิกรัม

ด้านการเป็นไม้ประดับ ความน่าสนใจของไม้ต้นนี้ คือ เป็นต้นไม้ที่มีรูปทรงดี มีร่มจากเรือนยอดกว้าง รูไข่ กิ่งและใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดงคลุมทั่วไป ทำให้มีสีสันสวยงาม ผลเป็นอาหารของคนโดยกินผลสดหรือเชื่อม พัฒนาเชิงพาณิชย์ได้กว้างขวาง และสัตว์ป่ากินเป็นอาหารทั่วไป เป็นพืชสมุนไพรที่มีค่ามากคู่กับตำราสมุนไพรไทย

วันจันทร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2553

โสมตังกุย


โสมตังกุย มีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีน ถูกนำเข้ามาปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ทางยาสมุนไพรในประเทศไทยนานแล้ว ลักษณะเป็นไม้ลงหัวคล้ายโสมทั่วไป แต่กิ่งก้านเป็นพุ่มเตี๊ยแจ้ สูงไม่เกิน 1 ฟุต เมื่อกิ่งเยอะจะเอนลู่ตามหน้าดินดูคล้ายไม้เถาเลื้อย ลำต้นเป็นปล้องสีเขียว หัวหรือเหง้าโตประมาณนิ้วหัวแม่มือผู้ใหญ่ ซึ่ง ส่วนมากจะแยกเป็น 2 ง่าม คล้ายขาคน สีขาว ใบเป็นใบประกอบแบบ 3 ใบ ออกเรียงสลับเป็นรูปรี แกมรูปไข่กลับ ปลายแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ลึกไม่เท่ากัน ดูคล้ายใบ "ผักชี" สีเขียวสด เวลาใบดกจะสวยงามน่าชมยิ่ง

ดอก เป็นสีขาวอมเหลือง ออกเป็นช่อแบบแยกแขนงช่อที่ซอกใบ และปลายกิ่ง แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกจะบานพร้อมๆกัน ทำให้ดูสวยงามแปลกตามาก
ผล กลม ขนาดเล็กมีเมล็ดจำนวนมาก ดอกจะออกตลอดปี

ขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเมล็ดกับปักชำกิ่ง

ประโยชน์ ใบสดหรือยอดอ่อนสามารถรับประทานเป็นอาหารได้ โดยนำไปปรุงเป็นต้มจืดเลือดหมูกินกับข้าวร้อนๆได้อร่อยมาก และเป็นยาบำรุง ทำให้ร่างกายสดชื่นกระปรี้กระเปร่า ส่วนหัวตากแห้งหรือสดๆเข้าเครื่องยาจีนตุ๋นกับไก่ดำ กินเป็นยาบำรุงร่างกายได้เด็ดขาดนัก ชาวจีนนิยมกันมาก

การปลูก โสมตังกุย ขึ้นได้ในดินทั่วไป ไม่ชอบน้ำท่วมขัง ชอบแดด ปลูกลงดินหรือ ลงกระถาง ได้ทั้ง 2 แบบ บำรุงปุ๋ยหมักคอก 10 วันครั้ง รดน้ำพอชุ่มทั้งเช้าและเย็น เมื่อต้นโสมตังกุย เจริญเติบโตเต็มที่ จะมีใบ ดอก และหัวให้ใช้ประโยชน์คุ้มค่าครับ

มะขามแขก


ชื่อวิทยาศาสตร์

Senna alexandrina P. Miller

ชื่อวงศ์ Fabaceae (Leguminosae)
ชื่อพ้อง Cassia acutifolia Delile, Cassia angustifolia Vahl,
Cassia obovata Collad., Cassia senna L.

ชื่ออังกฤษ Alexandria senna, Alexandrian senna Indian senna, senna, Tinnevelly senna

1. สารสำคัญในการออกฤทธิ์เป็นยา ถ่าย

มีการศึกษาพบฤทธิ์ เป็นยาถ่าย (1-24) สารที่ออกฤทธิ์ คือ sennoside A และ B, aloe emodin, dianthrone glycoside ซึ่งเป็น anthraquinone glycoside (3, 12) สาร anthraquinone glycoside จะยัง ไม่มีฤทธิ์เพิ่มการขับถ่ายเมื่อผ่านลำไส้เล็ก เมื่อผ่านเข้าไปในลำไส้ใหญ่ Sennoside A จึงถูก hydrolyze ได้ sennoside A-8-monoglucoside และถูก hydrolyzed โดย bata-glycosidase จากแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ และอุจจาระได้แก่ Bacillus, E. Coli ได้ sennidin A ส่วน sennoside B ก็จะถูกเปลี่ยนแปลงด้วยกระบวนการเช่น เดียวกันได้ sennidin B ทั้ง sennidin A & B จะเปลี่ยน กลับไปกลับมาได้ และถูกเปลี่ยนต่อไปเป็น rheinanthrone ซึ่งออกฤทธิ์ต่อลำไส้ส่วน colon โดยตรง (3, 21) สารสำคัญนี้จะกระตุ้นกลุ่มเซลล์ประสาทซึ่งอยู่ใต้ ชั้น Submucosa ทำให้เกิดการบีบตัวของลำไส้ (3)

2. ฤทธิ์กระตุ้นการเคลื่อนไหวของ ลำไส้

มีผู้พบฤทธิ์ กระตุ้นลำไส้ใหญ่ได้ (3, 4, 7, 13) และมีการศึกษาในอาสาสมัคร 12 คน โดยให้ดื่มชาชงมะขามแขก เปรียบเทียบกับการใรับประทานยา erythromycin และทำการถ่ายภาพลำไส้ใหญ่ด้วยวิธี Magnetic Resonance Imaging (MRI) ก่อนและหลังได้รับชาชงหรือยา พบว่ากลุ่มที่ได้รับชาชงมะขามแขกจะทำให้ลำไส้ใหญ่ส่วน colon มีการเคลื่อนไหวมากกว่ากลุ่มที่ได้รับ erythromycin อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (25)

3. การทดลองทางคลินิกใช้รักษาท้อง ผูก

ทำการศึกษาในผู้ ป่วยหลังผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก หรือมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ที่มีอาการท้องผูก จำนวน 92 คน อายุระหว่าง 43-82 ปี โดยให้ผู้ป่วย 61 คน รับประทานยาแคลเซียมเซนโนไซด์ ซึ่งเป็นแคลเซียมฟอร์มของเซนโนไซด์จากใบมะขามแขกที่ใช้เป็นยาระบาย ขนาดเม็ดละ 15 มก. 2 เม็ด ก่อนนอนทุกคืน หลังผ่าตัดในวันที่ 1 และให้รับประทานติดต่อกันจนถึงวันที่ 7 หลังการผ่าตัด และคนไข้อีก 31 คน เป็นกลุ่มควบคุม ไม่ได้รับยาระบายใดๆ พบว่าผู้ป่วยที่รับประทานยาแคลเซียมเซนโนไซด์ ถ่ายอุจจาระคล่องตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 4 หลังรับประทานยา คิดเป็นร้อยละ 90 การถ่ายอุจจาระเฉลี่ยวันละ 1.23 ครั้ง/คน ส่วนกลุ่มควบคุมมีเพียงร้อยละ 19 เท่านั้น ที่ถ่ายอุจจาระคล่อง สัดส่วนของการถ่ายอุจจาระคล่องในผู้ป่วยที่รับประทานยาแคลเซียมเซนโนไซด์ มากกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (26) นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในผู้ป่วยหลังผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก จำนวน 81 ราย อายุระหว่าง 52-86 ปี โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มควบคุม ซึ่งไม่ได้รับยา กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ได้รับยาเม็ดมะขามแขก 2 เม็ด ก่อนนอนทุกคืน หลังผ่าตัดในวันที่ 1 ติดต่อกันนาน 14 วัน กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่ได้รับยาระบาย Milk of Magnesia (MOM) 30 มล. ก่อนนอน นาน 14 วัน จากนั้นทำการบันทึกลักษณะอุจจาระ และจำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระ พบว่าสัดส่วนของผู้ที่มีอาการท้องผูกและท้องเสียมีความแตกต่างกันระหว่าง 3 กลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มควบคุมถ่ายอุจจาระไปทางแข็งที่ไม่พึงประสงค์มากกว่ากลุ่มมะขามแขกและ กลุ่ม MOM ในขณะที่กลุ่ม MOM ถ่ายไปในทางเหลวและน้ำมากกว่ากลุ่มมะขามแขก ดังนั้นจากการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่าการใช้ยาเม็ดมะขามแขกในผู้ป่วยหลัง ผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก จะช่วยให้การถ่ายอุจจาระในลักษณะที่พึงประสงค์ (ปกติและเหลว) ได้ดีกว่าการใช้ยา MOM (27)

การศึกษาในผู้ป่วย 100 คน อายุระหว่าง 40-60 ปี โดยเป็นโรคเบาหวาน 30 คน โรคอ้วน 40 คน และไขมันในเลือดสูง 30 คน ซึ่งผู้ป่วยทุกคนมีปัญหาเรื่องท้องผูก การศึกษานี้ไม่มีกลุ่มควบคุม ให้ผู้ป่วยรับประทานยาน้ำ Agiolax ที่มีส่วนผสมของเมล็ดเทียนเกล็ดหอย และฝักมะขามแขก ขนาด 2 ช้อนชา ทุกเย็น วันละ 1 ครั้ง นาน 3 เดือน พบว่าผู้ป่วยตอบสนองยาน้ำ Agiolax ได้ดีถึง 88% คือผู้ป่วยมีการถ่ายอุจจาระที่ดีขึ้น และช่วยลดอาการท้องผูก (28) นอกจากนี้ยังมีการศึกษาผู้ที่มีอาการท้องผูก (ถ่ายอุจจาระน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3ครั้ง/สัปดาห์) จำนวน 42 คน โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานเทียนเกล็ดหอย ขนาด 7.2 กรัม/วัน กลุ่มที่2 ให้รับประทานเทียนเกล็ดหอยร่วมกับมะขามแขก ขนาด 6.5 + 1.5 กรัม/วัน พบว่ายาถ่ายทั้ง 2 ชนิด เพิ่มจำนวนครั้งในการถ่ายอุจจาระ แต่ในกลุ่มที่ได้รับเทียนเกล็ดหอยร่วมกับมะขามแขกมีจำนวนครั้งของการถ่าย อุจจาระ อุจจาระมีความชุ่มชื้นได้ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับเทียนเกล็ดหอยอย่างเดียว (29) มีการจดสิทธิบัตรยาที่มีส่วนผสมของสารสกัดใบมะขามแขก 30-40 ส่วน สารสกัดว่านหางจระเข้ 30-40 ส่วน สารสกัดหมาก 20-30 ส่วน oryzanol 3-4 ส่วน calcium lactate 20-30 ส่วน ว่าสามารถป้องกันและรักษาอาการท้องผูกในคนได้โดยไม่มีพิษและผลข้างเคียงใดๆ (30)

4. หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ

4.1 การทดสอบความเป็นพิษ

เมื่อทดลองผสมผง มะขามแขกลงในอาหารหนูถีบจักร 0.5% ซึ่งเทียบเท่ากับ 2.3-2.5 เท่าของขนาดยาที่เป็นยาถ่ายในหนูถีบจักรเพศผู้และเพศเมียตามลำดับ เมื่อให้หนูกินเป็นเวลา 400 วัน พบว่าไม่มีผลต่อโภชนาการ และการเติบโตของหนูทั้ง 2 เพศ อาการดื้อยาไม่พบในหนูเพศเมีย แต่พบบ้างในหนูเพศผู้ อาการดื้อยานี้จะลดลงเมื่อเพิ่มปริมาณยาเป็น 1% และเลี้ยงหนูต่อไปอีก 225 วัน โดยที่ยังไม่มีผลต่อโภชนาการการเติบโตตลอดจนอัตราการตายของหนูถีบจักร นำหนูที่เหลือมาตรวจสอบพบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงของผนังลำไส้ และยังพบว่าหนูถีบจักรที่กินมะขามแขกเป็นเวลา 10 เดือน ไม่พบอาการดื้อยา (9) ได้มีผู้ทดลองนำเอาsoldol E ซึ่งเป็นยาเตรียมที่มี sennoside 8.5% ไปทดลองกับหนูถีบจักรและกระต่าย โดยให้หนูกิน 78 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทำให้หนูตายครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ทดลอง และฤทธิ์ยานี้ขึ้นกับขนาดที่ใช้ และเมื่อให้กระต่ายกินยาตัวละ 10 เม็ด จะมีอาการท้องเสีย ผลนี้เป็นการเปรียบเทียบกับผงใบ มะขามแขก ยาเม็ดสารสกัดมะขามแขก sennoside A, sennidine และ pursennide (16) ใบมะขามแขกทำให้เพิ่มการระบาย ในหนูที่ป้อนยาหลังอาหาร และขนาดที่ทำให้หนูที่ทดลองตายครึ่งหนึ่ง คือ 303 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (1)

4.2 ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์

การศึกษาสารสกัดใบ มะขามแขกด้วยเมทานอลในขนาด 100 มิลลิกรัม/ซี.ซี. มี ฤทธิ์อ่อนๆ ในการก่อกลายพันธุ์เชื้อแบคทีเรีย Salmonella typhimurium TA 98 และไม่มีผลต่อเชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis H-17 (Rec+) และสารสกัดด้วยน้ำในขนาด 100 มิลลิกรัม/ซี.ซี. และไม่มีผลต่อ Bacillus subtilis H-17 (Rec+) (31)

4.3 พิษต่อยีนส์

สาร aloe-emodin และ emodin ที่เป็นส่วนประกอบเล็กน้อยในมะขามแขก มีพิษต่อยีนส์ของคน (32)

4.4 การกำจัดสาร

glycoside ที่มี อยู่ในมะขามแขกบางส่วน ถูกขับออกทางปัสสาวะในรูป glycoside และ conjugated emodin อาจถูกขับออกทางอุจจาระได้บ้าง ไม่ถูกขับออกไปกับน้ำนม อาจทำให้ปัสสาวะและอุจจาระมีสีเหลืองหรือแดง ถ้าปัสสาวะหรืออุจจาระเป็นด่าง เนื่องจากสาร anthraquinone glycoside จะให้สีแดงในภาวะเป็น ด่าง (5) การให้มารดาซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างเลี้ยงทารกด้วยน้ำนม กินมะขามแขก พบว่าใช้ได้ผลดีและไม่มีผลต่อทารกในคนไข้ 49 ใน 50 ราย (33)

ข้อควรระวัง

1. การเตรียมยาถ้าเป็นกรดมากๆ จะทำให้เสื่อมคุณภาพลง (17)

2. การเก็บมะขามแขกไว้นานๆ จะทำให้คุณภาพเสื่อมลง รวมทั้งความร้อนจะทำให้สารสำคัญในมะขามแขกลดลง แต่การฉายแสง
กัมภาพรังสี เพื่อทำให้มะขามแขกปราศจากเชื้อไม่ทำให้คุณภาพลดลง (34)

3. การใช้มะขามแขกร่วมกับยาต้านฮีสตา มีน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ ทำให้ฤทธิ์การเป็นยาถ่ายลดลง (12)

4. การใช้ยาถ่ายมะขามแขกนานๆ จะทำให้เกิดอาการขาดโปแตสเซียมได้ (14)

5. เมื่อใช้ยาถ่ายมะขามแขกนานๆ อาจมีอาการพิษและอาการข้างเคียง โดยมีการทำลายระบบประสาท ที่ควบคุมการบีบตัวของ
ลำไส้ ทำให้ไม่ถ่ายเมื่อไม่ได้รับยา (35)

6. อาการอักเสบที่ทวารหนัก เมื่อให้คนไข้ซึ่งกินมะขามแขก พร้อมแบเรียม (36)

7. เกิดปริมาณแกรมมากลอบบูลินในเลือด ต่ำ และการโตของนิ้วมือ และนิ้วเท้าเนื่องจากเนื้อเยื่ออ่อนอักเสบ (36)

8. การเจริญเติบโตผิดปกติของกระดูก ตามข้อ (37)

ส้มแขก


ส้มแขก

ชื่อวิทยาศาสตร์
ชนิดที่ 1 Garcinia atroviridis Griff. Ex T. Anderson
ชนิดที่ 2 Garcinia cambogia Desr.

ชื่อวงศ์
GUTTIFERAE

ชื่ออื่น ๆ
ชนิดที่ 1 ส้มแขก มะขามแขก ชะมวงช้าง ส้มมะวน ส้มควาย
ส้มพะงุน อาแซกะลูโก
ชนิดที่ 2 ส้มแขก , Gamboge

ส่วนที่ใช้ผล ส้มแขกชนิดแรกเป็นชนิดที่พบมากในประเทศไทย ส่วนชนิดที่ 2 เป็นชนิดที่มีการใช้กันมากในตลาดโลก ประเทศอินเดียเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่
การปลูก
ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด โดยเมล็ดที่ใช้ต้องมีลักษณะสมบูรณ์ปราศจากโรคและแมลงทำลาย สามารถทำได้ดังนี้
1. ทำการเพาะเมล็ดส้มแขกในถุงดำก่อน เมื่อต้นกล้าอายุ 3-4 เดือน จึงทำการย้ายปลูก
2. เตรียมแปลงปลูกโดยขุดหลุมกว้าง 30 เซนติเมตร X ยาว 30 เซนติเมตร X ลึก 30 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองก้นหลุม
3.นำต้นพันธุ์ลงปลูกในหลุมปลูก กลบดินให้แน่นและมีไม้ยึดลำต้นกันโยก ถ้าแดดจัดต้องพรางแสงแดดในระยะแรกปลูกด้วย
การเก็บเกี่ยว
อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 7-8 ปี โดยผลจะออกในช่วงเดือนมิถุนายน ถึงเดือนสิงหาคม เก็บผลผลิตโตเต็มที่ ผลผลิตสด 3 ตัน/ไร่
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
นำผลส้มแขกมาหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ และตากแดดจัด ๆ ประมาณ 3 วัน ให้แห้งสนิท เก็บไว้ในภาชนะที่กันความชื้น อัตราส่วนการทำแห้งคือ ผลผลิตสด : ผลผลิตแห้ง = 4:1
สารสำคัญ
ส้มแขกทั้งชนิด G. atroviridis และ G.cambogia , สารสำคัญเหมือนกัน คือ
? -hydroxycitric acid ที่เรียกสั้น ๆ ว่า “สาร HCA” ซึ่งมีคุณสมบัติในการยับยั้งเอนไซม์ในกระบวนการสร้างไขมันจากการบริโภคอาหาร ที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง นอกจากนี้ยังมีกรดอินทรีย
์อื่น ๆ อีก ได้แก่ กรดซิตริก (citric acid) กรดเพนตาดีคาโนอิค (pentadecanoic acid) กรดออคตาดีคาโนอิค (octadecanoic acid) และกรดโดคีคาโนอิค (dodecanoic acid)
ผลการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
การศึกษาในสัตว์ทดลอง พบว่า สารสกัดหรือสารสำคัญของผลส้มแขกมีฤทธิ์ทางยาหลายประการ ดังนี้
1. การศึกษาผลต่อน้ำหนักตัว และไขมันในร่างกาย
จากการวิจัยฤทธิ์ของสาร HCA ของต่างประเทศ โดยศึกษาในหนูขาวหรือหนูถีบจักร พบว่า HCA ช่วยลดการกินอาหาร ลดน้ำหนักตัว หรือลดการเพิ่มของน้ำหนักตัวได้
2. การศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์
อนุพันธ์ของ ? -hydroxycitric acid 2 ชนิด แสดงฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา Cladosporium herbarum ซึ่งเป็นเชื้อราชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้โดยมีความแรงเทียบเท่า cyclohecimide แต่ไม่มีฤทธิ์ต่อเชื้อราอื่นหรือยีสต์
3. การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant)
สารสกัดด้วยน้ำ และสารสกัดด้วยเอธานอลของผลส้มแขกไม่แสดงฤทธิ์ antioxidant เมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH radical scavenging assay ที่ระดับความเข้มข้นสูงสุด 2000 ?g/ml. แต่สารสกัดของราก ใบ และเปลือกต้นแสดงฤทธิ์ antioxidant ที่แรงกว่าวิตามินอี ในขณะที่สารสกัดด้วยเมธานอลของผลส้มแขกก็ไม่แสดงฤทธิ์ antioxidant เช่นกัน
ประสิทธิผลในการรักษาโรคจากราย งาการวิจัยทางคลินิก
มีรายงานการวิจัยทางคลินิกของ HCA ในคนอยู่หลายรายงาน แต่พบว่าไม่สนับสนุนฤทธิ์ลดไขมัน หรือประสิทธิผลในการลดน้ำหนักหรือเพิ่ม fat oxidation ของ HCA ซึ่งไม่สอดคล้องกับผลการวิจัยในสัตว์ทดลอง อย่างไรก็ตาม มีข้อเสนอว่าผลิตภัณฑ์จากส้มแขกอาจมีประโยชน์ในการช่วยควบคุมไม่ให้น้ำหนัก เพิ่มขึ้นอีกหลังจากลดน้ำหนักได้แล้ว โดยใช้ร่วมกับการควบคุมอาหาร ลดการบริโภคไขมัน และออกกำลังกาย ซึ่งยังต้องพิสูจน์ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ต่อไป
การศึกษาทางพิษวิทยา
ไม่มีรายงานการศึกษาทางพิษวิทยาในสัตว์ทดลอง ผลของส้มแขกใช้เป็นอาหารด้วยจึงถือว่ามีความปลอดภัย ทางภาคใต้ใช้ผลส้มแขกมาปรุงอาหารเช่น ต้มเนื้อ ต้มปลา แกงส้ม
ข้อห้ามใช้


ข้อควรระวัง
เนื่องจากสาร HCA มีผลรบกวนการสร้าง acetyl CaA, fatty acid รวมทั้ง cholesterol จึงอาจมีผลรบกวนต่อการสร้าง steroid hormone ได้ จึงไม่แนะนำให้ใช้ HCA หรือผลิตภัณฑ์ส้มแขกที่มี HCA ในปริมาณสูงในสตรีมีครรภ์ หรือสตรีที่ให้นมบุตร
อาการข้างเคียง
ในขนาดสูงอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารเล็กน้อย
ขนาดที่ใช้และวิธีใช้
- ไม่มีข้อบ่งใช้ที่ได้รับรองจากวงการแพทย์ ที่มีงานวิจัยที่ยืนยันประสิทธิผลในคนสนับสนุน แต่ปัจจุบันมีการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการช่วยลดน้ำหนัก ลดความอยากอาหาร
- สำหรับผลิตภัณฑ์ส้มแขกที่มีการควบคุมปริมาณ HCA ไม่ต่ำกว่า 50 % ให้รับประทานในขนาด 750-1,500 มิลลิกรัม โดยแบ่งให้วันละ 2-3 ครั้ง 30-60 นาทีก่อนอาหาร

แปะก๊วย


แปะก๊วย (จีน: 银杏 , (ญี่ปุ่น: イチョウ ?)) เป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดจากทางตะวันออกของประเทศจีน (แถบภูเขาด้านตะวันตกของนครเซี่ยงไฮ้) ที่มีการแยกต้นเป็นเพศผู้ และเพศเมีย ใบมีลักษณะคล้ายใบพัด แยกออกเป็น 2 กลีบพบว่ามีการนำเข้าไปปลูกในประเทศญี่ปุ่น พร้อมกับการเผยแผ่ศาสนาพุทธนิกายเซน เมื่อประมาณ ช่วงราวค.ศ. 1300 หรือสมัยคามากุระมีลักษณะพิเศษ คือจะผลัดใบไม่พร้อมกันทุกต้น แต่เมื่อผลัดใบ ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วร่วงหล่นทั้งต้นภายในไม่กี่วัน

* แปะก๊วยเป็นพืชที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 270 ล้านปีก่อน ถือกำเนิดขึ้นในยุคเพอร์เมียน เมื่อประมาณ 290 ล้านปีมาแล้ว และมีชีวิตต่อมาในมหายุคมีโซโซอิก ในสมัยเดียวกับไดโนเสาร์ จึงเป็นอาหารของไดโนเสาร์กินพืช

* สำหรับชื่อตามความหมายแปลว่า "ลูกไม้สีเงิน" ซึ่งดั้งเดิม ในภาษาจีนเรียกว่าต้น "หยาเจียว" ซึ่งแปลว่าตีนเป็ดจากลักษณะใบ (นกเป็ดน้ำเป็นสัญลักษณ์ดีหมายถึงความรักของในจีน และในญี่ปุ่น) ต่อมามีการเรียกชื่อผลของมันว่าลูกไม้สีเงิน หรือ ลูกไม้สีขาว เนื่องจากผลจะมีสีเงิน และ สีขาวส่วนภาษาญี่ปุ่นจะเรียกว่า อิโจว มีรากจากคำว่าตีนเป็ด หรือ คินนัน ซึ่งมีรากความหมายคล้ายกับในภาษาจีนคือลูกไม้สีเงิน สำหรับในภาษาอังกฤษก็นิยมเรียกว่า กิงโกะ หรือ ต้นเมเดนแฮร์ หรือ ต้นขนนิ่ม (maidenhair tree) ซึ่งสันนิฐานว่ามาจากรูปทรงของใบที่เหมือนกันใบของเฟิร์นที่มีขนนิ่มชื่อเดียวกัน หรือ เรียกว่า ต้นสี่สิบมงกุฏทอง (หมายถึงว่ามีราคาแพง) ของชาวฝรั่งเศส ส่วนชื่ออื่น ๆ ที่มีผู้เรียกได้แก่ ต้นไม้แห่งความหวัง แพนด้าแห่งอาณาจักรพืช ต้นไม้อิสรภาพ

* สารที่สกัดได้จากใบแปะก๊วยมีหลายชนิดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Free radical) ในบริเวณตา ป้องกันการ เกิดโรคเบาหวานขึ้นตาได้ เพิ่มการไหลเวียนของโลหิตไปสู่สมอง ปลายมือปลายเท้า ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง เพราะเมื่อสมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ย่อมเสื่อมสมรรถภาพและฝ่อไปในที่สุด ส่งผลต่อการทำงานและประสิทธิภาพของสมอง ทำให้เกิดการหลงลืมในผู้สูงอายุ หรือโรคความจำเสื่อม ที่เรียกว่า อัลไซเมอร์ (Alzheimer disease)

* ในปัจจุบันหลายๆ ประเทศได้ให้การยอมรับถึงสรรพคุณของใบแปะก๊วยในการรักษาโรคสมองเสื่อม โดยการนำสารสกัดจากใบแปะก๊วยมารวมกับสารอื่น ๆ ช่วยให้การดูดซับที่ผนังลำไส้เล็กดีขึ้น ทำให้ร่างกายสามารถนำเอาสารสกัดจากใบแปะก๊วยนี้มาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการนำสารสกัดดังกล่าวมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อบำรุงสมอง และช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ใช้รักษาโรคความจำเสื่อมโรคซึมเศร้า อาการหลงๆ ลืมๆ อันเนื่องมาจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอในผู้ป่วยสูงอายุ ผลแปะก๊วยที่ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารจีนหลากหลายชนิด มีสรรพคุณช่วยบำรุงสมอง ช่วยให้เลือดลมหมุนเวียนได้สะดวก แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าแหล่งใหญ่ของสารที่ทำหน้าที่ช่วยเสริมสุขภาพดังกล่าว กลับพบมากในส่วนของใบมากกว่าผลเสียอีก แปะก๊วย

* ใบแปะก๊วยยังเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยโตเกียวประเทศญี่ปุ่นเป็นตัวแทนของความคงทน ไม่เปลี่ยนแปลง เหมือนต้นแปะก๊วยที่คงทนต่อสภาพแวดล้อม คงความเป็นต้นแปะก๊วยมาแต่ยุคโบราณกาลจนปัจจุบัน และมีความหมายในการปกป้องคุ้มครองภัย จากการที่วัดอันศักด์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวญี่ปุ่น มักจะถูกปกป้องจากอัคคีภัยหรือแผ่นดินไหวโดยต้นแปะก๊วย

* ส่วนในจีนแปะก๊วยยังใช้แทนตัวขงจื๊อ ผู้เป็นปราชญ์ใต้ต้นแปะก๊วย

โกฐเชียง


โกฐเชียง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Livisticum officnale Koch.
ชื่อสามัญ : กุยบ๊วย (จีน) Lovage ตังกุย (จีน)
ชื่อวงศ์ : UMBELLIFERAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
โกฐเชียงเป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 0.4-1 เมตร รากแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนราก รากเป็นไม้พวกโสมสีน้ำตาลเหลือง รากฝอย รากทั้งหมดยาวประมาณ 2-4 ซม. เปลือกนอกเป็นสีน้ำตาลส้ม สารสำคัญคือ น้ำมันหอมระเหย กรดวาเรอริก แอนเจนลิซิน วิตามันบี 12 วิตามินเอ ฯล

สรรพคุณ
ราก รสหวานสุขุม บำรุงหัวใจให้แข็งแรง ป้องกันตับ และต้านเชื้อแบคทีเรียชนิดต่างๆ นอกจากนี้ยังพบว่า สมุนไพรชนิดนี้สามารถรักษาโรคเบาหวาน โรคหัวใจโรคอัลไซเมอร์ โรคจิต อาการซึมเศร้า เบื่ออาหาร โรคไมเกรน โรคไตและอื่นๆ

โสม


ประโยชน์ ของโสม

สาร Adaptogens ในโสม มีคุณสมบัติลดความเครียด ช่วยปรับสภาพร่างกายและจิตใจให้ทนต่อภาวะต่างๆ ได้มากขึ้น และยังช่วยลดความเมื่อยล้า โดยกระตุ้นให้เซลล์ในร่างกายสร้างพลังงานเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรงมากขึ้น นอกเหนือจากสรรพคุณที่ได้กล่าวมาแล้วยังมีรายงานผลการวิจัยของโสมเพิ่มเติม อีกดังต่อไปนี้

โสมมีส่วนช่วยเพิ่มการสร้างพลังงาน ทำให้นักกีฬามีความทนทานต่อการออกกำลังหนักได้ดีขึ้น และทำให้สามารถนำพาออกซิเจนไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรง โดยการสร้างสาร Interferon ซึ่งเป็นสารต้านเชื้อไวรัส และกระตุ้นการสร้างโปรตีน Interleukin- 1

ช่วยบรรเทาอาการร้อนวูบวาบในหญิงวัยหมดประจำเดือน

ลดการหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความเครียดจากต่อมหมวกไต

ลดอัตราการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง

ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ

ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพทางเพศ

ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเป็นปกติ

ลดอาการข้างเคียงจากการฉายรังสี

จากที่กล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าพืชสมุนไพรชนิดนี้มีสรรพคุณมากมาย ตั้งแต่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆ ในเวลาที่อ่อนเพลีย ช่วยสร้างพลังงานกับร่างกาย ลดภาวะซึมเศร้า เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด ไปจนถึงการเสริมสร้างระบบความจำของสมอง ถึงแม้ว่าการรับประทานโสมอาจทำให้มีอาการนอนไม่หลับได้บ้าง แต่ในปัจจุบันยังไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ที่ร้ายแรงจากการใช้โสม (การใช้โสมหรือสมุนไพรอื่นๆ ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ควรอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์หรือเภสัชกร)

น้ำผึ้ง


น้ำผึ้ง คือน้ำหวานที่ผึ้งเก็บมาจากต่อมน้ำหวาน ของดอกไม้ (nectar) โดยผึ้งจะกลืนน้ำหวานลงสู่กระเพาะน้ำหวาน ซึ่งจะมีเอนไซม์ช่วยย่อยน้ำหวานแล้วนำมาเก็บไว้ในหลอดรวงผึ้ง จากนั้นน้ำผึ้งค่อยๆ บ่มตัวเองโดยการระเหยน้ำออกไปจนน้ำผึ้งมีปริมาณน้ำตาลที่เข้มข้นขึ้นจนได้ ระดับที่เหมาะสมกับการเก็บรักษาผึ้งงานก็จะปิดฝาหลอดรวง เราเรียกน้ำผึ้งนี้ว่า “น้ำผึ้งสุก” เป็นน้ำผึ้งที่ได้มาตรฐาน คือมีน้ำอยู่ไม่เกิน 20-21 เปอร์เซ็นต์

น้ำผึ้งในตำรับยาไทย

เมื่อรู้ว่าน้ำผึ้งเป็นเภสัชทานแล้ว ฉันก็ยังอยากรู้ต่อไปว่า น้ำผึ้งยาไทยได้อย่างไรบ้าง หมอบุญยืน ผ่องแผ้ว แพทย์แผนไทยประจำคลินิกหนองบง จังหวัดลพบุรี ก็กรุณาเล่าให้ฟังดังนี้

* น้ำผึ้งช่วยแต่งรสยา - น้ำผึ้งมีรสหวานฝาด ร้อนเล็กน้อย มีสรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ปวดหลัง ปวดเอว ทำให้แห้ง ใช้ทำยาอายุวัฒนะ เราใช้น้ำผึ้งแต่งรสยาบางชนิด เช่น ยาแก้ไข้ที่มีรสขมมาก จนคนไข้กินไม่ได้ เราต้องใช้น้ำผึ้งผสมให้มีรสหวานนิดหนึ่ง รสยาก็จะอร่อยขึ้น และช่วยชูกำลัง ซึ่งน้ำผึ้งเข้าได้กับตำรับยาทุกชนิด
* น้ำผึ้งหนึ่งในน้ำกระสายยา - น้ำกระสายยาคือส่วนผสมหนึ่งของตำรับยาไทย ที่ช่วยให้ตัวยาออกฤทธิ์ได้เร็วขึ้น ซึ่งมีหลายชนิด เช่น ได้จากพืช อาทิ น้ำมะนาว ได้จากธาตุ เช่น เปลือกหอยนำมาฝนกับน้ำ ได้จากสัตว์ เช่น งาช้าง รวมถึงน้ำผึ้งที่ถือเป็นน้ำกระสายยาตัวหนึ่งที่มีฤทธิ์แรงทำให้ตัวยาดูดซึม เร็วขึ้น ช่วยกระตุ้นการทำงานของไต และกระจายเลือด ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีกำลังมากขึ้น หรือบางครั้งนำน้ำผึ้งมาผสมกับยาปั้นเป็นลูกกลอน แต่ผู้ปรุงยาควรนำน้ำผึ้งไปเคี่ยวให้เดือดเพื่อฆ่าเชื้อโรค มิฉะนั้น ยาลูกกลอนจะขึ้นราภายหลัง

ผู้ป่วยที่ไม่ควรกินน้ำผึ้ง
ตามหลักการแพทย์แผนไทยแล้ว น้ำผึ้งมีประโยชน์มากมายก็จริง แต่สำหรับผู้ป่วยบางราย แนะนำว่าไม่ควรกินน้ำผึ้งแบบเข้มข้นโดยไม่ผสมอะไรเลย เช่น คนที่ดีพิการ คือ มีอาการตัวเหลืองตาเหลือง นอนสะดุ้งผวา สอง เสมหะพิการ คือมีเสมหะมากและมีภาวะโรคปอดแทรก สาม คนที่น้ำเหลืองเสีย มีฝีพุพอง ตุ่มหนอง หรือโรคครุฑราชต่างๆ

น้ำผึ้งในตำรายาจีน
ภาษาจีน แต้จิ๋ว เรียกน้ำผึ้งว่า "พังบิ๊ก" เป็นยาบำรุงร่างกาย โดยเฉพาะบำรุงลำไส้ ช่วยให้ระบบขับถ่ายดี ลดความร้อนในร่างกาย บรรเทาอาการอ่อนเพลีย และยังช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย น้ำผึ้งมีรสชาติหวาน ชุ่มคอ สามารถใช้ได้ทั้งเดี่ยว และนำไปเป็นส่วนผสมของยา กรณีที่ใช้เดี่ยวโดยมากใช้ในกรณีลำไส้ไม่ดี

ถ้าร่างกายแข็งแรงอยู่แล้ว กินน้ำผึ้งประจำจะไปช่วยเคลือบลำไส้ ช่วยระบบขับถ่าย แต่สำหรับคนที่มีปัญหาท้องผูกบ่อยๆ กากอาหารที่ค้างอยู่ในลำไส้จะแข็งตัว ถ้าปล่อยให้ท้องผูกนานๆ กากอาหารจะขูดผนังลำไส้ อาจทำให้เป็นแผล และมีปัญหาสุขภาพตามมา ซึ่งถ้าเรากินน้ำผึ้งเพื่อช่วยเคลือบลำไส้จะช่วยลดปัญหาลงได้

สารสำคัญในน้ำผึ้ง
น้ำผึ้งประกอบด้วยน้ำประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ น้ำตาลชนิดต่างๆ เช่น กลูโครส ฟลุคโตส และเลวูโรส ประมาณ 79 เปอร์เซ็นต์ โดยมีปริมาณน้ำตาล "ฟรักโทส" มากกว่าน้ำตาล "กลูโคส" เล็กน้อย ทำให้น้ำผึ้งไม่ตกผลึก และมีรสหวานกว่าน้ำตาลชนิดอื่นๆ กรดชนิดต่างๆ ประมาณ 0.5 เปอร์เซ็นต์ ทำให้น้ำผึ้งมีรสเปรี้ยวเล็กน้อยโดยกรดที่พบมาก คือ กรดกลูโคนิก วิตามิน (ไรโบเฟลวิน, ไนอะซิน) เอนไซม์ และแร่ธาตุ (แคลเซียม, แมกนีเซียม, โปตัสเซียม, ฟอสฟอรัส)ประมาณ 0.5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำผึ้งที่มีสีเข้ม จะมีปริมาณแร่ธาตุสูงกว่าน้ำผึ้งที่มีสีอ่อน ซึ่งจะเห็นได้ว่า องค์ประกอบหลักของน้ำผึ้ง คือน้ำตาล และเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดียวเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย โดยน้ำผึ้ง 100 กรัม จะให้พลังงาน 303 แคลอรี่

น้ำผึ้งมีคุณสมบัติทางยา คือ สามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ ได้ เพราะน้ำผึ้งมีความเข้มข้นของน้ำตาลสูง ซึ่งความเข้มข้นนี้เองจะช่วยกำจัดปริมาณน้ำที่แบคทีเรียใช้ในการเจริญเติบโต รวมถึงน้ำผึ้งมีความเป็นกรดสูง และมีปริมาณโปรตีนต่ำ ซึ่งทำให้แบททีเรียไม่ได้รับไนโตรเจนที่จำเป็น นอกจากนี้น้ำผึ้งยังมีสารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และสารแอนตี้ออกซิแดนด์ซึ่งจะมีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของ แบคทีเรียด้วย ดังนั้นเมื่อเราใช้น้ำผึ้งทาบาดแผลจึงสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้และทำให้ แผลไม่เกิดการอักเสบ

เอนไซม์ในน้ำผึ้งมีหลายชนิด มีหน้าที่ช่วยย่อยคาร์โบโฮเดรตได้ น้ำผึ้งจึงมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ และแก้อาการท้องผูกในเด็กและคนชราได้เป็นอย่างดี

หลาก ประโยชน์จากนมผึ้ง

นมผึ้ง (Royal Jelly) หรือ วุ้นนางพญา เป็นผลิตภัณฑ์จากรังผึ้ง มีลักษณะเป็นของเหลวข้น สีขาวครีม มีกลิ่นออกเปรี้ยว รสค่อนข้างเผ็ดเล็กน้อย ผลิตจากต่อม Hypopharyngeal ที่อยู่ในส่วนหัวของผึ้งงาน ซึ่งเป็นผึ้งที่ทำหน้าที่เลี้ยงดูตัวอ่อนและป้อนอาหารให้แก่นางพญา นมผึ้งที่สร้างผลิตขึ้น จะกลายเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงราชินีและตัวอ่อนของผึ้ง ซึ่งจะช่วยบำรุงให้ราชินีมีอายุยืนยาวและตัวอ่อนผึ้งเติบโตแข็งแรงต่อไป

นมผึ้งมีฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่ง เป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่เกิดตามธรรมชาติ สำหรับผู้หญิงที่ตัดมดลูกแล้ว ร่างกายจะไม่สร้างฮอร์โมน ทำให้กินอะไรเข้าไปร่างกายจะไม่ค่อยดูดซึม ร่างกายจึงผอมลง และหงุดหงิดง่าย แต่เมื่อกินฮอร์โมนสังเคราะห์ทดแทนก็มีผลข้างเคียงต่อสุขภาพ เราจึงแนะนำให้คนที่ผ่าตัดมดลูกลองกินนมผึ้งที่มีฮอร์โมนจากธรรมชาติ กินทีละน้อยร่างกายก็จะค่อยปรับไปตามธรรมชาติ และมีผลข้างเคียงน้อยกว่า ผิวพรรณก็จะกลับมาผุดผ่องตามธรรมชาติ

สำหรับคนที่มีอาการเครียด นอนไม่หลับ และเป็นภูมิแพ้ว่าควรรับประทานนมผึ้งเพราะ ในนมผึ้งมีกรดที่สำคัญชนิดหนึ่งคือ Decenonic acid ซึ่งเป็นกรดธรรมชาติที่ช่วยคลายเครียด และทำให้อารมณ์ดี นอกจากนี้นมผึ้งยังอุดมด้วยวิตามินหลายชนิด ที่สำคัญคือวิตามินบี ได้แก่ ไธอามีน ไรโบฟลาวิน ไบโอติน ฯลฯ ซึ่งเป็นสารจำเป็นต่อกระบวนการทำงานของโปรตีน และเชื่อกันว่าเป็นวิตามินต่อต้านความเครียด รวมถึงกรดโฟลิกและวิตามินบี 12 ซึ่งชนิดป้องกันโรคโลหิตจางได้ และยังมีอะเซตทิลคลอไรด์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นต่อระบบการทำงานของระบบประสาทในมนุษย์ และมีสารประกอบชีวเคมีไอโนซิทอล ซึ่งช่วยขจัดไขมันตกค้างในตับ ลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด

ผึ้งแต่ละรังจะผลิตนมผึ้งในปริมาณน้อย นมผึ้งจึงมีราคาสูง นมผึ้งสดๆ จะเก็บได้ไม่นาน จะสลายตัวอย่างรวดเร็ว ส่วนมากจะผลิตเป็นแคปซูล หากผลิตอย่างดีมีคุณภาพจะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากมาก ทั้งนี้เพื่อคงคุณค่าของนมผึ้งไว้


เกสร ผึ้งสร้างความสดชื่น
เกสรผึ้ง (Pollen) คือละอองเม็ดเล็กๆ คล้ายฝุ่นแป้งที่เกิดจากการหลุดจากช่อเกสรตัวผู้ของดอกไม้นานาชนิด ผึ้งจะไปเก็บรวบรวมเกสรเหล่านี้มาผสมกับน้ำหวานของดอกไม้และทำเป็นก้อนเล็กๆ ติดมากับขา แล้วนำไปเก็บไว้ในรังเพื่อเป็นอาหารโปรตีนเลี้ยงตัวอ่อน

สำหรับเกสรผึ้งนั้น มีธาตุอาหารหลักคือ คาร์โบไฮเดรต 60 เปอร์เซ็นต์ กรดอะมิโน 20 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 7 เปอร์เซ็นต์ เกลือแร่ 6 เปอร์เซ็นต์ และน้ำ 7 เปอร์เซ็นต์

เกสรผึ้ง สามารถนำมาบำบัดโรคภูมิแพ้ ประเภทแพ้อากาศและฝุ่นละออง แต่หากแพ้เกสรดอกไม้ห้ามรับ ประทานเกสรผึ้งเพราะอาจทำให้ช็อคและเสียชีวิตได้ รวมถึงคนที่เป็นโรครูมาติซั่ม รอบเดือนมาไม่ปกติ นอกจากนั้นยังช่วยบำรุงร่างกายนักกีฬา ช่วยคลายความเหน็ดเหนื่อย สร้างความกระฉับกระเฉง และบำรุงเส้นผมให้ดกดำ

นอกจากนี้เกสรผึ้งยังเป็นสารฮอร์โมนธรรมชาติที่ช่วยกระตุ้น และบำรุงระบบสืบพันธุ์ทั้งชายและหญิง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ผู้ที่ไม่มีบุตรในวัยเจริญพันธุ์ อาจมีบุตรได้ เพราะเกสรผึ้งจะทำให้สตรีตกไข่ดีขึ้น และสร้างความแข็งแรงให้ตัวสเปิร์มและเพิ่มจำนวนตัวสเปิร์มด้วยเช่นกัน

เปลี่ยน น้ำผึ้งเป็นอาหารและยา

* ลดการอักเสบ หากมีบาดแผลหรือแผลถลอกให้ล้างด้วยน้ำเบกกิ้งโซดา หรืออบเชย ชาเสจ ชาใบผักชี (ที่เย็นแล้ว) ซึ่งมีสรรพคุณฆ่าเชื้อทั้งสิ้น อาจใช้ชาดำธรรมดา น้ำมันหอม และน้ำมันกระเทียมช่วยล้างด้วยเพื่อห้ามเลือด จากนั้นทาน้ำผึ้งสะอาดบนแผล น้ำผึ้งจะช่วยป้องกันการติดเชื้อและทำให้แผลหายเร็ว
* รักษาโรคผิวหนังจากเชื้อรา ใช้ผงขมิ้นผสมน้ำผึ้งทาบริเวณกลากเกลื้อน วันละ 2 ครั้ง
* ต้านข้ออักเสบ ผสมน้ำส้มแอ๊ปเปิ้ลไซเดอร์ 2 ช้อนชาลงในน้ำร้อน เติมน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา ชงดื่มวันละ 2 ครั้ง
* แก้อาการท้องผูก กินกล้วยน้ำว้าสุกจิ้มน้ำผึ้งหรือมันต้มสุกจิ้มน้ำผึ้ง ช่วยลดอาการท้องผูกได้เช่นกัน
* แก้นอนไม่หลับ น้ำผึ้งเป็นยาระงับประสาทอ่อนๆ ชงน้ำผึ้งผสมน้ำอุ่นหรือชาดอกไม้ เช่น ชาดอกคาโมมายล์ ดื่มก่อนนอนจะช่วยให้หลับสบายขึ้น
* บำรุงเลือด เทน้ำผึ้งครึ่งช้อนโต๊ะใส่แก้ว บีบน้ำมะนาว 1 ซึก ใส่เกลือนิดหน่อยเติมน้ำร้อน ดื่มเป็นยาบำรุงเลือด
* บรรเทาอาการไอ บีบมะนาวฝานสดๆหนึ่งเสี้ยวเข้าปากให้ลงลำคอ และจิบน้ำผึ้งแท้ หนึ่งช้อนโต๊ะ อมไว้ หายไอดีมาก หรือ
o ส่วนผสม: น้ำผึ้ง 500 กรัม ขิงสด1.2 กิโลกรัม (1 ชั่ง)
o วิธีทำ: คั้นขิงสดเอาแต่น้ำ แล้วนำมาผสมกับน้ำผึ้งต้มจนแห้ง
o วิธีกิน: กินครั้งละขนาดเท่าลูกอมจะช่วยบรรเทาอาการไอเรื้อรัง
* บำบัดเบาหวาน
o ส่วนผสม: สาลี่หอมหรือสาลี่หิมะจำนวน 5 ลูก น้ำผึ้ง 250 กรัม
o วิธีทำ: ปอกเปลือกสาลี่แล้วตำให้ละเอียด นำไปคลุกกับน้ำผึ้งแล้วต้มจนเหนียว บรรจุใส่ขวด
o วิธีกิน: ผสมน้ำกิน ช่วยแก้อาการไอและบำบัดโรคเบาหวานได้
* ลดความดันโลหิตสูง
o ส่วนผสม: น้ำผึ้งและงาดำ อย่างละ 50 กรัม
o วิธีทำ: ตำงาดำให้ละเอียดแล้วคลุกกับน้ำผึ้ง
o วิธีกิน: ชงกับน้ำร้อนดื่มรักษาโรคความดันโลหิตสูงและบรรเทาอาการท้องผูกเรื้อรัง
* ช่วยปรับสมดุลร่างกายและควบคุมน้ำหนัก ผู้ที่รักสุขภาพและผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคปวดข้อ เป็นตะคริวอยู่บ่อย ๆ หรือโรคอ้วน สามารถนำวิธีนี้ไปใช้ดื่มเป็นประจำ เพื่อสุขภาพที่ดี และช่วยบรรเทาโรคต่าง ๆ ได้ ซึ่งได้มีการพิสูจน์และใช้กันมานานในอเมริกาและยุโรป โดยนำน้ำผึ้งไม่ผ่านความร้อน (Raw Organic Honey) 3 ช้อนชา และน้ำส้มสายชูหมักแอปเปิ้ลไม่ผ่านความร้อน (Raw Organic Apple Cider Vinegar) 3 ช้อนชา ผสมน้ำเปล่า 1 แก้ว ดื่มทุกเช้าหลังตื่นนอน และระหว่างมื้อเป็นประจำทุกวัน จะทำให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงและสดชื่น
* สำหรับผิวหน้าสดใส ผู้ที่มีปัญหาสิวเสี้ยนหรือต้องการบำรุงผิวหน้าให้ดูอ่อนเยาว์ มีวิธีง่าย ๆ ดังนี้ หลังจากล้างหน้าด้วยน้ำอุ่นและเช็ดให้แห้งแล้ว นำกล้วยหอม 1/2 ลูก นำมาบดผสมกับน้ำผึ้งไม่ผ่านความร้อน แล้วนำมาทาบนหน้า ทิ้งไว้ซัก 10-15 นาที แล้วล้างออก น้ำผึ้งไม่ผานความร้อนจะมีเอ็นไซน์ ซึ่งทำให้หน้าคุณชุ่มชื่นและนุ่มนวลขึ้น
* เพื่อผมเงางาม หลังสระผมเสร็จนำน้ำผึ้งไม่ผ่านความร้อนผสมกับน้ำมะกอกอย่างละ 3 ช้อนโต๊ะ นำมาชโลมผมแล้วทิ้งไว้ซัก 3-5 นาที จึงล้างออกด้วยน้ำสะอาด ผมคุณจะนิ่มและเงางามตามธรรมชาติปราศจากสารเคมีใด ๆ

ทดสอบ น้ำผึ้งแท้

ปัจจุบันผู้ผลิตบางรายมักใส่สารแปลกปลอมลงในน้ำผึ้ง การตรวจจับด้วยเทคนิคด่างๆ จึงเป็นเรื่องยาก นอกจากตรวจสอบในห้องปฏิบัติการเท่านั้นซึ่งมีราคาแพงและค่อนข้างยุ่งยาก วิธีที่ดีที่สุดคือควรซื้อน้ำผึ้งจากผู้ขายที่เชื่อใจได้ หรือมิฉะนั้นต้องใช้สายตาประเมินคุณภาพดังต่อไปนี้

1. มีความข้นและหนืดพอสมควรซึ่งแสดงว่าน้ำผึ้งมีน้ำน้อย มีคุณภาพสูง
2. มีสีตามธรรมชาติ ตั้งแต่สีเหลืองอ่อนถึงน้ำตาล ใส่ ไม่ขุ่นทึบ
3. มีกลิ่นหอมของน้ำผึ้งตามชนิดของดอกไม้นั้นๆ เช่น น้ำผึ้งจากดอกลำไย น้ำผึ้งจากดอกลิ้นจี่
4. ปราศจากกาก ไขผึ้ง หรือเศษตัวผึ้งปะปน รวมทั้งวัสดุแขวนลอยต่างๆ
5. ไม่มีกลิ่นบูดเปรี้ยว ไม่มีฟอง
6. ไม่มีการใส่สารปรุงแต่งสี กลิ่น รสใดๆ ลงในน้ำผึ้ง
7. การหยดน้ำผึ้งใส่กระดาษไข ถ้าเป็นของแท้จะไม่ซึมแน่นอน
8. ทดสอบโดยหยดน้ำผึ้งลงในแก้วน้ำชา สังเกตการละลายถ้าเป็นนํ้าผึ้งแท้เมื่อคนให้เข้ากันจะไม่ละลายในทันที

วันอาทิตย์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2553

สะระแหน่


สะระแหน่ หรือ (อังกฤษ: Lemon balm) เป็นพืชสมุนไพรยืนต้น เป็นพืชในตระกูลมิ้นต์ วงศ์กะเพรา มีแหล่งกำเนิดมาจากแถบยุโรปตอนใต้และแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เมื่อโตเต็มที่จะมีความสูงประมาณ 70 - 150 เซนติเมตร ส่วนใบจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับใบพืชในตระกูลมิ้นต์ มีกลิ่นหอมคล้ายใบมะนาว และทุก ๆ ปลายฤดูร้อนต้นสะระแหน่จะออกดอกสีขาว ๆ ที่เต็มไปด้วยน้ำหอมและน้ำหวาน อยู่ภายใน นี้ดึงดูดใจให้ผึ้งมาดูดน้ำหวานและจากเหตุนี้ทำให้สะระแหน่อยู่ในสกุล Melissa (ภาษากรีก แปลว่า "น้ำผึ้ง") และยังมีรสชาติคล้ายคลึงกับ ตะไคร้หอม, มะนาว และแอลกอฮอล์

การ เพาะปลูก

สะระแหน่สามารถเพาะปลูกได้ง่าย มันแค่ต้องการหญ้าหรือฟางมาคลุมใว้ด้านบนในช่วงที่อากาศหนาว ดินที่เหมาะสมในการปลูกคือดินร่วนปนทรายที่ซึ่งน้ำสามารถไหลซึมได้อย่าง สะดวก สามารถเก็บเกี่ยวได้ในช่วงที่อย่างน้อยก่อนจะหมดเดือนพฤศจิกายน ชอบที่ที่มีแดดเพียงพอแต่ไม่มากจนเกินไปเช่นเดียวกับพืชตระกูลมิ้นต์ และเหมาะที่จะปลูกในสภาพอากาศที่แห้งและความชิ้นต่ำ จะโตได้ดีที่สุดในที่ร่มและยังสะดวกที่จะเพาะปลูกในกระถางในร่ม สามารถเพาะเป็นแบบเมล็ดโดยการว่านกระจายไปให้ทั่วบริเวณ อุณหภูมิไม่เย็นจัดจนเกินไป ลำต้นจะเริ่มตายลงในช่วงฤดูหนาวและจะเริ่มงอกใหม่ในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ ยังเหมาะที่จะปลูกโดยไม่ใช้ดินและปักต้นกล้า และถ้าหากไม่คอยเอาใจใส่ดูแลให้ดี มันก็อาจจะเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ไปทั่วจนก่อให้เกิดความรกรุงรังและน่า รำคาญได้

การทำครัว

สะระแหน่มักใช้เป็นส่วนผสมในการทำไอศกรีมและชาสมุนไพร ทั้งร้อนและเย็น และมักผสมในอาหารกับสมุนไพรชนิดอื่นเช่น สแปร์มิ้นต์ อีกทั้งยังเหมาะในการเป็นเครื่องเคียงในอาหารจำพวกผลไม้สดและขนมหวาน

ประโยชน์ และสรรพคุณทางยา

มักนำใบสะระแหน่มาบดแล้วทาลงบนผิวหนังจะทำให้ผิวหนังชุ่มชื่นอีกทั้งยัง ช่วยไล่ยุง นอกจากนี้ยังใช้ทำยาผสมลงไปในชาสมุนไพรหรือคั้นน้ำมาผสมลงในเครื่องดื่ม สะระแหน่ยังสามารถนำไปทำเป็นยาปฏิชีวนะและยังใช้เป็นตัวขับไล่อนุมูลอิสระ ออกจากร่างกาย อีกทั้งยังใช้เป็นยาเย็นและใช้เป็นยาคลายความเครียด และมีงานวิจัยอย่างน้อยชิ้นหนึ่งระบุว่ามันช่วยคลายความกดดันของกล้ามเนื้อ อันมาจากความเหนื่อยล้าและความเครียด สะระแหน่ยังใช้ไปทำน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ในการทำสุคนธบำบัด อีกทั้งยังใช้เป็นยารักษาโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์

กระวาน

กระวาน เป็นพืชล้มลุกมีเหง้าหรือลำต้นอยู่ใต้ดินใบเป็นมัน โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลมออกสลับกันที่โคนต้น ก้านใบเป็นกาบติดต้น ออกดอกเป็นช่อเหนือพื้นดินเล็กน้อย

ชื่อสามัญ : Camphor Seeds, Round Siam Cardamon, Best Camdamon,Clustered Cardamon

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amomum krevanh Pierre. , Amomum cardamomum L.

ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE

ชื่อท้องถิ่น : กระวานดำ กระวานแดง กระวานขาว (ภาคกลาง, ภาคตะวันอก) กระวานจันทน์ กระวานโพธิสัตว์

ถิ่นกำเนิด

กระวานมี 2 พวกใหญ่ๆ คือ กระวานแท้ หรือ กระวานเทศ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ส่วนอีกพวกคือ กระวานไทย พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถใช้แทนกระวานเทศได้ดี

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

กระวานมีลำต้นเป็นเหง้าหรือหัวใต้ดิน มีข้อประมาณ 8 - 20 ข้อ กระวานเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ก้านใบโค้งมีกาบใบติดกัน ใบออกสลับกันที่โคนต้น ใบมีสีเขียวเป็นมัน ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน ผิวใบเรียบ ใบสูงจากพื้นดินประมาณ 2 - 12 ฟุต ดอกออกเป็นช่ออยู่ใกล้โคนต้นบริเวณผิวดิน กลีบดอกสีเหลือง ออกผลเป็นช่อ ผลกลม ช่อหนึ่งๆมีผลประมาณ 10 - 20 ผล รูปกลม ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 9 - 18 เมล็ด เมล็ดมีกลิ่นหอมฉุนคล้ายการบูร มีรสเผ็ด

สารสำคัญที่พบ

ผลกระวานให้น้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วยการบูร (Camphor) และพิมเสน (Borneol) อัลฟ่า-ไพนีน (Pinene) ไลโมนีน (Limonene) เมอร์ซีน (Myrcene) ไลนาลูออล (Linalool) แป้ง และแคลเซียม ออกซาเลท ฯลฯ

สรรพคุณ
* ราก แก้โลหิตเน่าเสีย ฟอกโลหิต แก้ลม เสมหะให้ปิดธาตุ รักษาโรครำมะนาด
* หัวและหน่อ ขับพยาธิในเนื้อให้ออกทางผิวหนัง
* เปลือก แก้ไข้ผอมเหลือง รักษาโรคผิวหนัง แก้ไข้อันง่วงเหงา ขับเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไขอันเป็นอชินโรค
* แก่น ขับพิษร้าย รักษาโรคโลหิตเป็นพิษ
* กระพี้ รักษาโรคผิวหนัง บำรุงโลหิต
* ใบ แก้ลมสันนิบาด ขับผายลม ขับเสมหะ รักษาโรครำมะนาด แก้ไข้เซื่องซึม แก้ลม จุกเสียด บำรุงกำลัง
* ผลแก่ รสเผ็ดร้อน กลิ่นหอม มีน้ำมันหอมระเหย (Essentialoil) 5-9 เปอร์เซ็นต์ มีฤทธิ์ขับลมและบำรุงธาตุยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย แก้ลมจุกเสียดแน่นเฟ้อ วิธีใช้แก้อาหารท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลมและแน่จุกเสียด โดยใช้ผลกระวานแก่จัดประมาณ 6-10 ผล ตากแห้งปดเป็นผง รับประทานครั้งละ 1-3 ช้อนชา ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือครึ่งถ้วยแก้ว ใช้รับประทานครั้งเดียว นอกจากนี้ผลกระวานยังใช้ผสมกับยาถ่าย เช่น มะขามแขกเพื่อบรรเทาอาการไซ้ท้อง
* เมล็ด แก้ธาตุพิการ อุจจาระพิการ บำรุงธาตุ
* เหง้าอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักได้ มีกลิ่นหอมและเผ็ดเล็กน้อย


วิธีใช้ในการประกอบอาหาร

นำผลกระวานที่แก่จัดไปตากแห้ง เพื่อใช้เป็นเครื่องเทศในน้ำพริกแกงเผ็ด มัสมั่น แกงกะหรี่ ฯลฯ ใช้แต่งกลิ่นและสีของอาหารหลายชนิด เช่น เหล้า ขนมปัง เค้ก คุ้กกี้ ตับบด ไส้กรอก แฮม อาหารหมักดองและผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ชนิดต่างๆ ผลอ่อนและหน่ออ่อนใช้รับประทานเป็นผักสด

สภาพอากาศที่เหมาะสม
กระวานเป็นพืชเมืองร้อนประเภทไม้ล้มลุก มีอายุยืน เป็นพืชที่ปลูกง่าย สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินร่วนปนทราย มีอินทรีย์วัตถุสูง มีการระบายน้ำดี กระวานต้องการความชื้นสูง ที่ร่มรำไร หรือต้นไม้ยืนต้นอื่นให้ร่มเงา กระวานจะเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 500 - 800 ฟุต ขึ้นไป ปริมาณน้ำฝนประมาณ 3,000 - 3,500 มิลลิเมตรต่อปี และฝนตกกระจายตลอดปี

วิธีปลูก

การปลูกกระวานควรปลูกเป็นพืชแซมไม้ผล ไม้ยืนต้นเพื่อให้ร่มเงา การขยายพันธุ์ควรใช้เหง้า ซึ่งเป็นวิธีขยายพันธุ์ที่นิยมเพราะกระวานจะให้ดอกผลเร็วกว่าการขยายพันธุ์ โดยใช้เมล็ดปลูก เหง้าที่ใช้เพาะปลูกควรแยกออกจากกอแม่ที่มีอายุไม่น้อยกว่า 18 เดือน ถึง 2 ปี และเหง้าที่แยกออกมาควรมีหน่อติดมาด้วยประมาณ 2 - 3 หน่อ และหน่อที่ใช้ควรมีความสูงประมาณ 1 - 2.5 ฟุต หลุมปลูกกระวานควรมีขนาด กว้าง x ยาว x ลึก ประมาณ 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างต้นและแถว 2 x 2 เมตร ไม่นิยมปลูกชิดมาก ต้องเว้นพื้นที่ว่างไว้ให้หน่อได้ขยายเพิ่มขึ้นทุก ๆปี ฝังหน่อลึกประมาณ 3 - 4 นิ้ว รดน้ำให้ความชุ่มชื้น

การดูแลรักษา
กระวานเป็นพืชที่ไม่ต้องดูและรักษามาก ควรกำจัดวัชพืชบ้าง ที่สำคัญควรทำการริดใบ โดยตัดใบและลำต้นที่แห้งแก่ตายหรือมีลักษณะที่ไม่สมบูรณ์ออกให้หมด เพื่อให้สะดวกในการเก็บเกี่ยว การป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช ปกติกระวานไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวนมากนัก นอกจากโรคใบไหม้ซึ่งอาจจะเกิดจากการได้รับแสงแดดมากเกินไป ส่วนศัตรูอื่น ได้แก่ หนู กระรอก และกระแต ซึ่งจะกัดทำลายเมล็ดในระยะรอเก็บเกี่ยว การตัดหน้อกระวานออกจากต้นแม่เพื่อใช้ประโยชน์อย่างอื่นนั้น จะมีผลกระทบกระเทือนต่อการติดผลของกระวาน

การเก็บเกี่ยวและผลผลิต
กระวานจะให้ผลผลิตหลังปลูก 2 - 3 ปี ตามปกติกระวานจะออกดอกตลอดปี แต่ผลผลิตจะมากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และเดือนสิงหาคม โดยช่วงเวลาตั้งแต่ออกดอกจนผลแก่ประมาณ 5 เดือน การเก็บเกี่ยวควรเก็บเมื่อผลแก่ซึ่งจากโคนไปหาปลายช่อ หากไมาสามารถเลือกเก็บได้ การเก็บทั้งช่อควรเก็บเมือ่ผลแก่ 3 ใน 4 ของช่อ ผลกระวานทำให้แห้งโดยการตากแดดในภาชนะที่สะอาดและมีการรองรับ 5 - 7 แดด กระวาน 1 ไร่ ให้ผลผลิตแห้ง 30 - 50 กิโลกรัม โดยมีอัตราแห้งคือผลกระวานสด 3 กิโลกรัม จะได้ผลกระวานแห้ง 1 กโลกรัม



กานพลู


กานพลู (อังกฤษ: Clove) เป็นไม้ยืนต้น สูง 5 - 10 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 2.5 - 4 ซม. ยาว 6 - 10 ซม. ขอบเป็นคลื่น ใบอ่อนสีแดงหรือน้ำตาลแดง เนื้อใบบางค่อนข้างเหนียว ผิวมัน ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาวและร่วงง่าย กลีบเลี้ยงและฐานดอกสีแดงหนาแข็ง ผลเป็นผลสด รูปไข่

ประโยชน์

ในตำรายาไทย ใช้ดอกตูมแห้งแก้ปวดฟัน โดยใช้ดอกแช่เหล้าเอาสำลีชุบอุดรูฟัน และใช้ขนาด 5 - 8 ดอก ชงน้ำเดือด ดื่มเฉพาะส่วนน้ำหรือใช้เคี้ยวแก้ท้องเสีย ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ นอกจากนี้ใช้ผสมในยาอมบ้วนปากดับกลิ่นปาก พบว่าในน้ำมันหอมรเหยที่กลั่นจากดอกมีสาร eugenol ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ จึงใช้แก้ปวดฟัน และมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ ทำให้เกิดอาการปวดท้องลดลง ช่วยขับน้ำดี ลดอาการจุกเสียดที่เกิดจากการย่อยไม่สมบูรณ์ และสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดเช่น เชื้อโรคไทฟอยด์ บิดชนิดไม่มีตัว เชื้อหนองเป็นต้น นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้มีการหลั่งเมือก และลดการเป็นกรดในกระเพาะอาหารด้วย

ชะเอมเทศ


ชะเอมเทศ
เป็นพรรณไม้ที่มีอายุนานหลายปี ลำต้นมีความยาวประมาณ 1-2 เมตร ใบเป็นใบประกอบลักษณะเป็นรูปขนนก และจะออกสลับกัน มีใบย่อยประมาณ 9-17 ใบ ส่วนก้านใบย่อยนั้นจะสั้นมาก ใบจะเป็นสีเขียวอมเหลือง ดอกจะออกเป็นช่อ กลีบดอกจะเป็นสีม่วงอ่อน ๆ และก้านดอกจะสั้นมาก ฝักจะมีลักษณะแบน และผิวข้างนอกจะเรียบ
สรรพคุณ ทางยา

* เปลือกของราก จะมีเป็นสีแดง และมีรสหวานใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้คลื่นเหียน อาเจียน
* ใบทำให้เสมหะแห้ง และเป็นยารักดีพิการ
* ดอกใช้รักษาอาการคัน และรักษาพิษฝีดาษ
* ผลจะมีรสหวาน ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง และอาการคอแห้ง ทำให้ชุ่มชื้น
* รากจะมีรสชุ่ม ใช้เป็นยาบำรุงปอด ขับเลือดที่เน่าในท้อง รักษาพิษยาหรือพืชพิษต่าง ๆ ชนิดคั่วแล้วรักษาอาการเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ตรากตรำทำงานหนัก ปวดท้อง ไอเป็นไข้ สงบประสาท บำรุงปอด ใช้รากสดรักษาอาการเจ็บคอ เป็นแผลเรื้อรัง ระบบการย่อยอาหารไม่ดี หรืออาหารเป็นพิษ และรักษากำเดาให้เป็นปกติ
* อื่น ๆในรากของชะเอมนั้น จะมีแป้งและความหวานมาก ต้องรักษาไว้อย่าให้แมลงมารบกวน เพราะพวกมอดและแมลงอื่นชอบกิน ถ้าผุจะทำให้เสื่อมคุณภาพ นอกจากนี้ยังใช้รากผสมยาอื่น ช่วยกลบรสยา หรือแต่งยาให้หวานอีกด้วย

ข้อมูล ทางคลีนิค

1. รักษาอาการปัสสาวะออกมากผิดปกติ (เบาจืด)
2. รักษาแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก
3. รักษาอาการหอบหืดจากหลอดลมอักเสบ
4. รักษาโรควัณโรคปอด
5. รักษาเส้นเลือดดำขอด
6. รักษาลำไส้บีบตัวผิดปกติ ซ้อนกันเป็นก้อน
7. รักษาโรคไข้มาลาเรีย
8. รักษาโรคพยาธิใบไม้ในเลือดอย่างเฉียบพลัน
9. รักษาโรคตับอักเสบชนิดที่ติดต่อได้
10. รักษาเยื่อตาอักเสบ
11. รักษาผิวหนังบริเวณแขน ขา แตกเป็นขุย
12. รักษาผิวหนังอักเสบเป็นผื่นคัน
13. รักษาปากมดลูกอักเสบเน่าเปื่อย
14. รักษาแผลที่เกิดจากการถูกความเย็นจัด
15. รักษาเยื่อหุ้มลูกตาชั้นนอกอักเสบ (Scleritis)

ข้อมูล ทางเภสัชวิทยา

1. มีฤทธิ์รักษาอาการอักเสบและอาการแพ้ กรดกลีเซอเรตินิคมีฤทธิ์ในการรักษาอาการบวมอักเสบในหนูใหญ่

1. มีฤทธิ์อะดรีโนคอร์ติโคสเตียรอยด์ (adrenocorticosteroids) ฤทธิ์คล้ายคอร์ติโตสเตียรอยด์ มีสารสกัดเข้มข้น โปแตสเซียมกลีเซอไรซิเนต หรือแอทโมเนียมกลีเซอไรซิเนต กรดกลีเซอเรตินิค (glycyrhetinic acid) สารพวกนี้ล้วนแต่มีฤทธิ์เหมือนกับดีออกซีคอร์ติโซน (deoxycortisone) ทำให้การขับถ่ายปริมาณของปัสสาวะ และเกลือโซเดียมลดน้อยลง และฤทธิ์คล้ายกลูโคคอร์ติโคสเตียรอยด์ (glucocorticosteroids) กรดกลีเซอเรตินิคจะไปยังยั้งการทำลายกรด อะดรีโนคอร์ติโคสเตียรอยด์ ในร่างกายทำให้ปริมาณของคอร์ติโคสเตียรอยด์ในเลือดให้สูงขึ้น
2. มีฤทธิ์ในการรักษาพิษ กลีเซอไรซินและน้ำต้มสกัดชะเอมมีฤทธิ์รักษาพิษของตริคนีนได้ โดยสามารถลดความเป็นและอัตราการตายจากสตริคนีนได้ ฤทธิ์นี้อาจเนื่องมาจากกรดกลูคิวโรนิค ที่มีอยู่ในชะเอมเทศ
3. มีฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหารคือ มีฤทธิ์ในการรักษาแผลเรื้อรังในระบบทางเดินอาหาร มีฤทธิ์ต่อการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร มีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบ
4. ฤทธิ์ต่ออาการดีซ่านที่ทำให้เกิดขึ้นในการทดลอง กลีเซอไรซินและกรดกลีเซอเรตินิค ทำให้บิลิรูบิน (Bilirubin) ในพลาสมาของกระต่ายและหนูใหญ่สีขาวที่เกิดจากการผูกท่อน้ำดีให้มีปริมาณลดลง และการขับบิลิรูบินออกทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น
5. มีฤทธิ์ต่อการเผาผลาญไขมันในเส้นเลือด กลีเซอไรซินจะไม่มีผลต่อการเผาผลาญไขมันในคนปรกติ แต่ในคนไข้ที่มีความดันเลือดสูง ส่วนมากเมื่อกินกลีเซอไรซินไปแล้วจะทำให้ระดับโฆเลสเตอรอลในเลือดนั้นลดลง และความดันเลือดจะลดลงด้วย
6. มีฤทธิ์รักษาอาการไอ หลังจากที่ได้กินชะเอมเทศแล้วสารที่สกัดได้จะไปเคลือบเยื่อเมือกตามบริเวณ ที่อักเสบตามคอจะช่วยลดการระคายเคืองและบรรเทาอาการไอด้วย
7. มีฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการปวดและอาการชัก สารที่สกัดที่ได้จากชะเอม FM100 จะมีฤทธิ์บรรเทาอาการปวดได้
8. มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง กรดกลีเซอเรตินิคนี้มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งในไขกระดูก ชนิด Oberling-Guerin ที่ได้เพาะเลี้ยงในไขกระดูกของหนูใหญ่สีขาว
9. มีฤทธิ์ต่อระบบปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ กลีเซอไรซิน และเกลือแคลเซียมกลีเซอไรวิเนต นำมาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ จะทำให้เพิ่มฤทธิ์ในการขับปัสสาวะของธีโอฟิลลีน (theophylline)
10. ฤทธิ์อื่น ๆ โซเดียมกลีเซอไรซิเนตจะทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น และกลีเซอไรซินนี้มีฤทธิ์ในการลดไข้ในหนูเล็กสีขาวและกระต่ายทดลองที่ทำให้ เกิดขึ้นได้

มะแว้งต้น


กลุ่ม ยาขับเสมหะ แก้ไอ

มะแว้งต้น

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum indicum L.
วงศ์ : Solanaceae
ชื่อ อื่น : มะ แคว้ง มะแคว้งขม มะแคว้งคม มะแคว้งดำ (ภาคเหนือ) แว้งคม (สงขลา, สุราษฎร์ธานี) สะกั้งแค (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หมากแฮ้งคง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-1.5 เมตร เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาล ยอดอ่อนและต้นอ่อนมีขนสีขาว ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่หรือขอบขนาน กว้าง 4-10 ซม. ยาว 6-12 ซม. ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบหยักเว้า แผ่นใบสีเขียว มีขนนุ่ม ก้านใบยาว ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่งหรือซอกใบ ดอกย่อยมี 5-10 ดอก ดอกสีม่วง กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉกแหลม ด้านนอกมีขน กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปไข่ ปลายแหลม เกสรเพศผู้สีเหลือง ติดกันเป็นรูปกรวย ผล รูปทรงกลม ขนาด 1 ซม. ผิวเรียบ ผลดิบสีเขียวไม่มีลาย ผลสุกสีส้ม เมล็ดแบนจำนวนมาก
ส่วนที่ใช้ : ราก ทั้งต้น ใบ ผล

สรรพคุณ :
*
ราก - แก้เสมหะ น้ำลายเหนียว แก้ไอ แก้ไข้สันนิบาต แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ทวารเบา
*
ทั้งต้น - แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ทวารเบา
*
ใบ - บำรุงธาตุ แก้วัณโรค แก้ไอ
*
ผล - บำรุงน้ำดี รักษาโรคเบาหวาน แก้ไอ แก้เสมหะ แก้น้ำลายเหนียว แก้คอแห้ง ขับปัสสาวะ รักษาโรคทางไต และกระเพาะปัสสาวะ แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ทวารเบา

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

1.

ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร แก้ไอ และแก้โรคหอบหืด
ใช้มะแว้งต้น ผลแก่
ในเด็ก ใช้ 2-3 ผล ใช้เป็นน้ำกระสายยา กวาดแก้ไอ ขับเสมหะ
ผู้ใหญ่ ใช้ 10-20 ผล รับประทาน เคี้ยว แล้วกลืนทั้งน้ำและเนื้อ รับประทานบ่อยๆ จนกว่าอาการจะดีขึ้น
2.

ใช้ลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน
ใช้มะแว้งต้นโตเต็มที่ 10-20 ผล รับประทานเป็นอาหารกับน้ำพริก

สารเคมี :
สาร Solasodine จะพบได้ในส่วน ผล ใบ และต้น นอกจากนี้ในใบและผลยังพบ Solanine , Solanidine Beta-sitosterol และ Diogenin

คุณค่าทางด้านอาหาร :
ลูกมะแว้งต้น ใช้เป็นผักได้ แต่นิยมน้อยกว่ามะแว้งเครือ ลูกมะแว้งต้นมีวิตามินเอ ค่อนข้างสูง

วันอังคารที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2553

สมุนไพร ว่านชักมดลูก

“ว่านชนิดนี้นิยมกันมากในหมู่สตรีที่มีสามีและผ่านการคลอดบุตรแล้ว เนื่องจากมีสรรพคุณ ทำเป็นสาวเสมอแม้จะมีบุตรก็ตาม ไม่ต้องไปพึ่งมีดหมอผ่าตัด ทำสาว หรือ “รีแพร์”ยกเครื่องใหม่ ให้เสียเงินและเจ็บตัว ทำให้มดลูกรัดตัวเล็กลง เรียกว่ามดลูกเข้าอู่เร็ว กระชับตัว เหมือนยังสาวแรกรุ่น ทำให้สามีรักไม่ไปเที่ยวนอกบ้าน ที่สำคัญยังรักษ มดลูกพิการ ปวดมดลูก ปวดประจำเดือน ประจำเดือนผิดปกติ มีกลิ่นเป็นมุตกิตระดูขาว

ว่านชักมดลูก เป็นสมุนไพรไทยสำหรับเสริมสร้างภายในช่องคลอดของสตรี ให้คุณประโยชน์กับสุภาพสตรีอย่างมหาศาล คุณค่าของว่านชักมดลูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ

ส่วนที่ 1. ใช้เป็นสมุนไพรดูแลความสะอาดภายในช่องเคล็ด
•ใช้ว่านชักมดลูกช่วยดูแล อาการมดลูกต่ำ มดลูกโตหรือปวดหน่วงเป็นประจำ
• แก้หน่วง เสียวท้องน้อย หรือปีกมดลูกทั้งสองข้าง
• แก้ปวดประจำเดือนอย่างรุนแรงระหว่างมีรอบเดือน
• ช่วยป้องกันไม่ให้แท้งบุตรง่าย หรือตกเลือด
• ช่วยลดระดูขาว หรือมติกิดเรื้อรัง ที่มีมานานในสุภาพสตรี
• ดับกลิ่นภาพในช่องคลอดได้อย่างมหัศจรรย์
• ช่วยให้ความอบอุ่นกับร่างกาย ช่วยลดอาการมือเย็นเท้าเย็น หนาวเป็นประจำ หนาวในอก
• ช่วยลดอาการเจ็บปวดหรือปวดภายในช่องคลอดเวลาร่วมเพศ
• รักษอาการขัดเบา ได้ทั้งบุรุษและสตรี

ส่วนที่ 2. ปรุงเป็นอาหารเสริม ของสุภาพสตรี
• ช่วยให้ผิวพรรณชุ่มชื่น มีน้ำมีนวล ผิวลื่น ละเอียดขึ้น
• ช่วยบำรุงผิวหน้าที่เสียวย่นและหยาบก้านมากๆ ให้ดีขึ้น
• ช่วยเสริมสร้างสตรีทีมีหน้าท้องที่เหี่ยวย่นหรือหย่อนยานที่เกิดจากการคลอด บุตรให้หายไป
• ช่วยให้ภายในและปากช่องคลอกให้กระชับเหมือนสาวๆ อย่างมหัศจรรย์
• ช่วยเสริมสร้างให้สตรีที่มีอารมณ์ทางเพศบกพร่องให้สมบูรณ์ปกติ
• ช่วยสตรีที่มีอายุเริ่มเข้าวัยกลางคนให้มีน้ำหล่อลื่นให้สมบูรณ์ปกติ
• คนโบราณใช้ว่านชักมดลูกหลังการคลอดบุตร แทนการอยู่ไฟ ช่วยเสริมสร้างน้ำนมของคุณ
• ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
• เป็นยาอายุวัฒนะได้ทั้งบุรุษ และสตรี

ขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน เป็นสมุนไพรที่ใครๆ ก็รู้จัก เพราะมักจะพบในชีวิตประจำวัน โดย นิยมใช้ปรุงแต่งกลิ่นและรสในอาหารหลายชนิด โดยเฉพาะอาหารทางภาคใต้ เช่น แกงเหลือง แกงไตปลา แกงกะหรี่ ไก่ทอดขมิ้น เป็นต้น นับเป็นความฉลาดของคนใต้ ที่หาวิธีกินขมิ้นในชีวิตประจำวัน เพราะขมิ้นนั้นปัจจุบัน มีงานศึกษาวิจัยพบ ว่ามีคุณค่าต่อสุขภาพยิ่งนัก และ ยังพบว่าขมิ้นชันโดยเฉพาะในภาคใต้ดีที่สุดในโลก เพราะมีสารสำคัญคือเคอร์คิวมิน และ น้ำมันขมิ้นสูงกว่าประเทศอื่นๆ ที่มีการปลูกขมิ้นทั้งหมด คนสมัยก่อนมีการใช้ประโยชน์จากขมิ้นใน หลายๆ ด้าน ทั้งเป็นยาภายนอกและยาภายใน ใน ส่วนของยาภายนอกเชื่อว่าขมิ้นชัน ช่วยรักษาแผล ทำให้แผลไม่เป็นหนอง ช่วยสมานแผล ดังนั้น เวลาที่ก่อนจะบวชเป็นพระนาคต้องปลงผมก่อนอุปสมบท หลังจากโกนผมแล้วเขาจะทาหนังศรีษะด้วย ขมิ้น เพื่อรักษาบาดแผลที่อาจ จะเกิดจากใบมีดโกน

ขมิ้นยังมีสรรพคุณ ในการรักษาพิษแมลงสัตว์กัดต่อย ในสมัยที่ยังเล็กๆ ตอนยุงกัดเป็นตุ่มแดง คุณ ยายมักจะใช้ปูนกินกับหมากแต้ม เพราะต้องการฤทธิ์แก้พิษของขมิ้น ที่ผสมอยู่ในปูนที่กินกับหมาก และฤทธิ์ของปูนที่ช่วยให้ขมิ้นติดผิวได้ดีขึ้น (ปูนกินกับหมากของคนโบราณ ได้จากการเผาเปลือกหอยจนร้อนจัด สามารถบดเป็นฝุ่นละเอียดสีขาว แล้วเอาไปผสมกับขมิ้นจะให้สีส้ม หรือ เรียกเป็นสีเฉพาะว่า สีปูน)

นอก จากนี้ยังนิยมใช้ขมิ้นเป็นเครื่องสำอาง คน ในแถบตอนใต้ของเอเชีย และแถบตะวันออกไกล ใช้ขมิ้นทาผิวหน้าทำให้ผิวหน้านุ่มนวล คน มาเลเซียและคนไทยสมัยก่อนจะใช้ขมิ้นในการอาบน้ำ ทำให้ผิวผ่องยิ่งขึ้น วิธีการอาบน้ำด้วยขมิ้นนั้น จะทาขมิ้นหมักไว้ที่ผิวหนังสักพัก แล้ว จึงขัดออกด้วยส้มมะขามเปียก นอกจากทำให้ผิวหนังนุ่มนวลแล้ว ขมิ้นยังมีสรรพคุณในการป้องกันการงอก ของขน ผู้หญิงอินเดียจึงใช้ขมิ้นทาผิวหนัง เพื่อ ป้องกันไม่ให้ขนงอก คนพม่าเชื่อว่าถ้าใช้ขมิ้นผสมสมุนไพร ที่ชื่อทาคาน่า ทาผิวเด็กสาวตั้งแต่ยังเล็กๆ จะทำให้เนื้อผิวละเอียด จนมีคำกล่าวใน บรรดาชายไทยว่าสาวจะสวยต้อง "ผิวพม่า นัยน์ตาแขก"

ส่วนในการใช้เป็นยารับประทาน เชื่อ ว่าขมิ้นชันมีสรรพคุณในการกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย มีสรรพคุณในการช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ช่วยย่อยอาหาร มีสรรพคุณในการบำรุงร่าง กายและช่วยบำรุงตับ รักษาระบบทางเดินหายใจที่ผิดปกติ หืด ไอ เวียนศรีษะ รักษาอาการปวดและอักเสบเนื่องจากไขข้ออักเสบ เป็นต้น ปัจจุบันมีการศึกษาเพื่อพิสูจน์ สรรพคุณของขมิ้น ตามการใช้แบบโบราณ ก็ พบว่ามีสรรพคุณมากมายตามที่เคยใช้กันมา เช่น ขมิ้น ชันมีสรรพคุณทำให้แผลหายเร็วขึ้น มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ลดปฏิกิริยาภูมิแพ้ เพิ่มภูมิคุ้นกันให้แก่ร่างกาย มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง มี ฤทธิ์ขับน้ำดีช่วยในการย่อยและป้องกันไม่ให้เป็นนิ่วในถุงน้ำดี มีฤทธิ์ขับลม และมีการศึกษาการใช้ ขมิ้นชันรักษาโรคกระเพาะในประเทศไทย (โรงพยาบาลศิริราช) พบว่า ได้ผลดีพอควร

มีการค้นพบสรรพคุณใหม่ๆ ของขมิ้นชันอีกมากมาย เช่น การป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด การชลอความแก่ การเป็นสารต้านมะเร็งและ เนื้องอกต่างๆ พบว่า การกินอาหารผสม ขมิ้นสามารถทำลายเชื้อไวรัสที่ผ่านมาทางอาหารได้ รวมทั้งสามารถป้องกันมะเร็งจากสารก่อ มะเร็งต่างๆ และยังมีสรรพคุณในการต้านไวรัส โดย เฉพาะเชื้อ HIV อันเป็นต้นเหตุของโรคเอดส์ ขมิ้นชันจึงเป็นอีกความหวังหนึ่งของ ผู้ป่วยเอดส์

ขมิ้นชันยังมีคุณสมบัติ ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและลด ปฏิกิริยาการแพ้ คนที่เป็นโรคภูมิแพ้และเป็นหวัดบ่อยๆ สมควรกินอาหารใต้ที่ใส่ขมิ้นทุกวันจะ ได้แข็งแรง ตอนนี้สงสารหมอโรคภูมิแพ้ เพราะ คนเป็นกันมากเหลือเกินและเราต้องขาดดุลยารักษาโรคภูมิแพ้ ที่รักษาไม่หายสักที่ปีละมากมายมหาศาล หันมาลองกินขมิ้นชันกันดีกว่า

ฟ้า ทะลายโจร


ฟ้า ทะลายโจร ยาที่มีความหมายในตัวเองไม่น้อย เพราะแม้แต่ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าฟ้าประทานมาให้ปราบโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ซึ่งเปรียบเสมือน เหล่า โจรร้าย ส่วนในภาษาจีนกลาง ยาตัวนี้มีชื่ออย่างเพราะพริ้งว่า “ชวนซิเหลียน” แปลว่า “ดอก บัวอยู่ในหัวใจ” ซึ่งมีความหมายสูงส่งมาก วงการ แพทย์จีนได้ยก ฟ้าทะลายโจรขึ้นทำเนียบ เป็นยาตำราหลวงที่มีสรรพคุณโดดเด่นมากตัวหนึ่ง ที่สำคัญคือสามารถใช้เป็นยาเดี่ยวเพียงตัวเดียวก็มี ฤทธิ์แรงพอ ที่จะรักษาโรคได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่หาได้ยากในสมุนไพรตัวอื่น
สมุนไพรฟ้า ทะลายโจร ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ว่าเป็นสมุนไพรที่ช่วยบรรเทาอาการหวัด และเสริมภูมิต้านทานดีกว่าการใช้ ยาปฏิชีวนะในคนที่เป็นหวัดบ่อยๆ ร้อนในบ่อยๆ เนื่องจากร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ ภูมิต้านทานอ่อนลง การรับประทานสมุนไพรฟ้าทะลายโจรจะช่วย กระตุ้น ภูมิคุ้มกัน ทำให้ไม่เป็นหวัดง่าย ร้อนในจะหายไป และสมุนไพรฟ้าทะลายโจรดีกว่ายาปฏิชีวนะ ตรงที่ไม่เกิดการง่วงนอน ไม่เกิดการดื้อยา และยัง ป้องกันตับ จากสารพิษหลายชนิด เช่น จากยาแก้ไข้พาราเซตามอล หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นไม้ล้มลุกสูง 1-2 ศอก ลำต้นสี่เหลี่ยมตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขามากมาย ใบเรียวกว้างประมาณ 1 ซ.ม. ดอกออกเป็นช่อเล็กๆ สีขาว มีรอบประสีม่วง แดง กลีบดอกด้านบนมี 3 หยัก ด้านล่างมี 2 หยัก ผลเป็นฝักคล้ายฝักต้อยติ่ง เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน ต้นและใบมีรสขมมาก ส่วนที่ใช้เป็นยาคือ ราก ใบ ทั้งต้น
การปลูก ฟ้าทะลายโจร ทำได้หลายวิธีได้แก่

1. แบบหว่าน สิ้นเปลืองเมล็ด ให้ผลผลิตน้อย
2. แบบโรยเมล็ดเป็นแถว ประมาณ 50-100 เมล็ด ต่อ ความยาวร่อง 1 เมตร
3. แบบหยอดหลุม ระยะระหว่างต้น 20-30 ซม. ระหว่างแถว 40 ซม. หยอดเมล็ดหลุมละ 5-10 เมล็ด
4. ปลูกโดยใช้กล้า ให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำกว่าการปลูกโดย 3 วิธีแรก
การเก็บเกี่ยว
ช่วงที่พืชออกดอกนับตั้งแต่เริ่มออกดอกจนถึงดอกบาน 50 % เพื่อให้มีปริมาณสารสำคัญสูง ซึ่งพืชจะมีอายุประมาณ 110-150 วัน

การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
การทำความสะอาด นำฟ้าทะลายโจรมาล้างน้ำให้สะอาดตัดให้มีความยาว 3-5 ซม. ผึ่งให้สะเด็ดน้ำ แล้วนำมาเกลี่ยบนกระด้งหรือถาดที่สะอาด
การทำให้แห้ง อบที่อุณหภูมิ 50 C. ใน 8 ชั่วโมงแรก ต่อไปใช้อุณหภูมิ 40-50 C. อบจนแห้งสนิท หรือตากแดดจนแห้งสนิท ควรคลุมภาชนะด้วยผ้าขาวบาง
สารสำคัญ
ส่วนเหนือดินฟ้าทะลายโจร มีสารสำคัญจำพวกไดเทอร์ปีนแลคโตน (diterpene lactones) หลายชนิด ได้แก่ แอนโดรกราโฟไลด์ (andrographolide) นีโอแอนโดกราโฟไลด์ (neoandrographolide) ดีออกซีแอนโดกราโฟไลด์ (deoxyandrographolide) ดีออกซีไดดีไฮโดรแอนโดรกราโฟไลด์ (deoxy-didehydroandrographolide) วัตถุดิบฟ้าทะลายโจรที่ดีควรมีปริมาณแลคโตนรวมคำนวณเป็นแอนโดรกราโฟไลด์ ไม่ต่ำกว่า 6 % ไม่ควรเก็บวัตถุดิบไว้ใช้นาน ๆ เพราะปริมาณสารสำคัญจะลดประมาณ 25 % เมื่อเก็บไว้ 1 ปี
ผลการศึกษาทางเภสัชวิทยา
การศึกษาในสัตว์ทดลองหรือในหลอดทดลอง พบว่า สารสกัดหรือสารสำคัญของฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ ทางยาหลายประการ ดังนี้
1. ฤทธิ์ลดการบีบหรือหดเกร็งตัวของทางเดินอาหาร
2. ฤทธิ์ลดอาการท้องเสีย โดยทำให้การสูญเสียน้ำทางลำไส้จากสารพิษของแบคทีเรียลดลง
3. ฤทธิ์ลดไข้และต้านการอักเสบ
4. ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน
5. ฤทธิ์ป้องกันตับจากสารพิษหลายชนิด เช่น จากยาแก้ไข้พาราเซทตามอล หรือเหล้า
6. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
7. ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด

วันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553

ไขมันไม่อิ่มตัว

ไขมันไม่อิ่มตัว (Unsatuarated fatty acid) คือไขมันที่ธาตุคาร์บอนยังมีเหลือสามารถจับกับธาตุไฮโดรเจนได้ แบ่งออกเป็น
ก. กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว (Monounsaturated fatty acid) ได้แก่ กรดโอเลอิก (Oleic acid) เป็นกรดไขมันที่ร่างกายสามารถสร้างได้เอง แต่ถ้ารับประทานเข้าไปมาก ก็ไม่ทำให้เกิดโรคหัวใจ และมีแนวโน้มที่จะช่วยลดไขมันในเลือดด้วย
ข. กรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดหลายตำแหน่ง (Polyunsaturated fatty acid) เป็นกรดไขมันที่ร่างกายไม่สามารถสร้างได้เอง จำเป็นต้องรับจากอาหาร ไขมันที่สำคัญคือ Omega-3 (Alpha-linolenic acid) และ Omega-6 (linolenic acid)

ในหมู่ไขมันในอาหาร มีไขมันที่เป็นมิตรต่อสุขภาพ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ จะเป็นไขมันที่อยู่ในกลุ่มไขมันไม่อิ่มตัว ไขมันเหล่านี้อยู่ในอาหารอะไรบ้าง เรามาดูกัน

น้ำมันมะกอก olive oil
เป็นน้ำมันที่มีส่วนผสมของกรดโอลิอิก (Oleic acid) ซึ่งจะไม่เพิ่มระดับคลอเรสเตอรอลในเลือด และเป็นแหล่งที่ดีของวิตามินอี ซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูล (Antioxidants) ช่วยลดการเกิดมะเร็ง และช่วยลดการทำลายหลอดเลือด ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน

น้ำมันจากเมล็ดพืช
น้ำมันคาโนลา (Canola oil) เป็นน้ำมันที่มีส่วนผสมของ กรดโอลิอิก (Oleic acid) ซึ่งช่วยลดไขมันในเลือดชนิด LDL ที่เป็นคลอเรสเตอรอลที่ไม่ดีให้ลดลง และมีส่วนประกอบของOmega-3 และ Omega-6 ซึ่ง Omega-3 มีส่วนช่วยลดไขมันไตรกรีเซอไรด์ และลดการเกาะตัวของเกร็ดเลือด ที่เป็นต้นเหตุให้เส้นเลือดหัวใจอุดตัน จึงมีส่วนสำคัญในการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ

แต่นับว่าเป็นข่าวร้ายที่นัก วิจัยพบว่าน้ำมันพืชชนิดอื่นที่เราใช้อยู่ปัจจุบันคือ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันเมล็ดฝ้าย มีส่วนของ omega-6 มากกว่า omega-3 ซึ่ง omega-6 นี้แม้จะมีความจำเป็นต่อร่างกาย แต่ถ้าได้รับมากเกินไป ก็เป็นต้นเหตุให้ความดันเลือดสูง ทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือดง่ายขึ้น ทำให้เกิดหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้ง่าย และทำให้ร่างกายบวมน้ำ ดังนั้นถึงแม้เราจะใช้ไขมันเหล่านี้ปรุงอาหาร ก็ควรหลีกเลี่ยงอย่าใช้มากเกินจำเป็น และหลีกเลี่ยงอาหารที่ใช้น้ำมันมาก เช่น ของทอด หรือผัด ควรทานอาหารประเภทต้ม หรือนึ่งมากกว่า

น้ำมันปลา fish oil
น้ำมันปลา (อย่าสับสนกับน้ำมันตับปลา) ในปลาทะเลได้แก่แซลมอน ทูน่า ซาดีน เฮอร์ริ่ง เป็นปลาที่มีกรดไขมัน omega-3 จากการศึกษาพบว่าการทานปลาเหล่านี้ สองครั้งต่อสับดาห์ จะช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง ช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้นและอารมณ์ดีขึ้น

ถั่วนัท (nut)
ได้แก่ ถั่วแอลมอนด์ วอลนัท พีนัท พีแคน จะมีไขมันไม่อิ่มตัวชนิด Monounsaturated fatty acid ช่วยลดปริมาณไขมัน LDL ได้ และในวอลนัท จะมีปริมาณ Omega-3 สูงด้วย แต่ในการทานถั่วนี้ ไม่ควรทานในรูปของ ถั่วคั่วใส่เกลือ เพราะมีพลังงานสูงและเกลือมากเกินไป

ถึงแม้ไขมันเหล่านี้ จะเป็นมิตรต่อสุขภาพ แต่ก็เป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง ดังนั้นการทานอาหารที่มีไขมันสูง ก็ต้องระวังเรื่องความอ้วนด้วย จึงไม่ควรทานมากเกินกว่าความต้องการของร่างกาย

น้ำมันรำข้าว

น้ำมันรำข้าว คือ น้ำมันพืชที่ผลิตจาก น้ำมันรำข้าวดิบsexy ซึ่งสกัดจากรำข้าว มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินอี ในกลุ่มโทโคฟีรอลประมาณ 19-40% และกลุ่มโทโคไตรอีนอล 51-81% และโอรีซานอล (Oryzanol) ซึ่งสามารถต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่าวิตามินอีถึง 6 เท่า มีกรดไขมันอิ่มตัว 18% กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (Monounsaturated Fatty Acid : MUFA) 45% กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (Polyunsaturated Fatty Acid : PUFA) 37% น้ำมันรำข้าวเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL-C)

เป็นน้ำมันที่ได้จากกระบวนการพิเศษในการสกัดเอาสารสำคัญที่มี

ประโยชน์นานาชนิด ซึ่งมีอยู่ในเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว (Seed Membrane Layer) และจมูกข้าว (Rice Germ) จึงอุดมด้วยสารสำคัญทางธรรมชาติ และมีคุณค่าสูงต่อร่างกายหลายชนิด เช่น

• กลุ่มสารฟอสโฟไลฟิด (Phospholipids) เช่น เลซิติน (Lecithin) เซฟฟาลิน (Cephalin) ไลโซเลซิติน (Lysolecithin) ซึ่งมีความสำคัญในการนำไปสร้าง และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของเซลล์ประสาทสมอง และช่วยป้องกันเซลล์ประสาท จากสารที่เป็นพิษและอนุมูลอิสระต่างๆ ช่วยลดความเครียด และช่วยเสริมสร้างในด้านความจำ

• กลุ่มเซราไมด์ (Ceramide) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของชั้นใต้ผิวหนัง ช่วยทำให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่น การเสริมสร้างเซราไมด์ให้เพียงพอ ทั้งโดยการรับประทานหรือการให้ทางผิวหนังในรูปการทาครีม หรือโลชัน จะช่วยรักษาผิวพรรณให้สดใสเปล่งปลั่ง ปราศจากริ้วรอยย่นก่อนเวลาอันควร นอกจากนี้เซราไมด์ยังมีคุณสมบัติเป็นไวท์เทนเนอร์ (Whitener) ซึ่งสามารถยับยั้งการสังเคราะห์เมลานิน อันเป็นสาเหตุให้เกิดฝ้า กระ จุดด่างดำบนผิวพรรณได้ดี และยังเป็นมอยเจอไรเซอร์ (Moisturizer) ให้ความชุ่มชื่นแก่ผิวอีกด้วย

• กลุ่มคอลโทคอล (Tocols) วิตามินอีธรรมชาติ ในรูปของโทโคเฟอรอล(Tocopherol) และโทโคไทรอีนอล (Tocotrienol) มีประโยชน์ต่อร่างกายในการสร้าง และซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ ของร่างกายและยังช่วยทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อโรคต่างๆช่วยต้านอนุมูล อิสระ ซึ่งเป็นเหตุสำคัญของการเกิดโรคมะเร็ง

• กลุ่มกรดไขมันไลโนเลอิค (Linoleic Acid) หรือโอเมก้า 6 และกรด ไลโนเลอิค (Linoleic Acid) หรือโอเมก้า 3 ที่เป็นกรดไขมันจำเป็น โดยมีอยู่ประมาณ 33%

• กลุ่มวิตามิน B - Complex ซึ่งช่วยให้การทำงานของระบบประสาทดีขึ้น

• กลุ่มแกมมา - ออไรซานอล มีฤทธิ์ในการลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ทำให้ลดการตีบตันของหลอดเลือด เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต และยังมีฤทธิ์ในการลดความเครียด และรักษาอาการผิดปกติของสตรีวัยทอง นอกจากนี้ยังเป็นสารอนุมูลอิสระ และยังป้องกันแสงยูวีได้ เมื่อใช้กินหรือใช้ทา ทำให้ผิวหนังชุ่มชื่นและต้านการอักเสบ สารชนิดนี้มีความปลอดภัยสูงมาก

เอกสารอ้างอิง

1. Juliano BO.ed. Rice : chemistry and technology, 2nd ed. Minnesota : American Association of Cerial Chemists. Inc., 1985, p.18

2. Sugano M.Tsu ji E. Rice bran oil and human heath, Biomed Environ Sci 1996: 9(2-3): 242-6.

3. Raghuram TC. Rukmini C. Nutritional significance of rice bran oil. Indian j Med Res 1995: 102: 241-4

4. Lichenstein AH et al. Rice bran oil consumption and plasma lipid levels in moderately hypercholesterolemic humans. Arterioscler Thromb 1994: 14(4): 549-56

5. Sugano M. Koba K. Tsuji E. Heath benefits of rice bran oil. Anticancer Res 1999: 19(5A): 3651-7.

6. Taniguchi H, Nomura E, Tsuno T, Minami S. 1999 Ferulic acid ester antioxidant/UV adsorbent. U.S. Pat. 5, 908, 615 Jun. 1.

7. Liu Y. 1987, Pharmaceutical composition for increasing immunity and decreasing side effects of anticancer chemotherapy. U.S. Pat. 4, 687, 761, Aug. 18.

8. Cherukuri RSV, Cheruvanky R. Lynch I. McPeak DL. 1999. Process for obtaining micronutrient enriched rice bran oil U.S. Pat, 5. 985, 344, Nov. 16.

9. Schmidt MA. Smart fats. Berkeley; Frog, Ltd., 1997, p.57

10. Hudson T, Womens’s encyclopedia of natural medicine. Los Angeles: Keals Publishing, 1999, p.112

11. Liebeman S. The real vitamin & mineral. 2nd ed. Honesdale: Paragon Press, 1997, p.76

12. Lane RH. Quershi AA. Saiser AS. 1997 Tocotrienols and tocotrienol-like compounds and methods for their use. U.S. Pat. 5. 591, 772 Jan. 7.

กรดไขมันโอเมกา-3

กรดไขมันโอเมกา-3 (ω-3 หรือ omega-3) ซึ่งเป็นโครงสร้างไขมันสำคัญในสมองและจอประสาทตา

ดร.อลัน ไรอัน จาก มาร์เท็ค ไบโอไซน์ส (Martek Biosciences) จะนำเสนอผลของการบริโภคกรดไขมันโอเมกา-3 ในเด็กอายุ 4 ขวบ ที่มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ดี ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายิ่งมีระดับกรดไขมันโอเมกา-3 ในเลือดมากเท่าใด เด็กก็จะทำแบบทดสอบด้านการรับรู้ได้ดีเท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าควรมีการผสมกรดไขมันโอเมกา-3 ในอาหารสำหรับเด็ก กรดไขมันโอเมกา-3 พบได้ในไขมันปลา แต่ผู้เชี่ยวชาญมากมายแนะนำว่าสตรีและเด็กควรบริโภคไขมันปลาในปริมาณจำกัด [1]

กรดไขมันโอเมกา-3 เป็นกลุ่มของกรดไขมันชนิดที่ไม่อิ่มตัวสูง เป็นหนึ่งในกรดไขมันจำเป็น (Essential Fatty acid) ที่ร่างกายมนุษย์ขาดไม่ได้ ซึ่งในสูตรโครงสร้างโมเลกุลจะมีพันธะคู่อยู่ไม่น้อยกว่า 3 แห่ง โดยพันธะคู่แรกจะอยู่ที่ตำแหน่งของคาร์บอนตัวที่ 3 นับจากปลายโมเลกุลด้านที่มีกลุ่มเมธิล (methyl group) เข้าไป ส่วนพันธะคู่ต่อไปจะอยู่ตรงตำแหน่งคาร์บอนถัดไปครั้งละ 3 ตำแหน่ง สารสำคัญในตัวมันมี 2 ตัว คือ Eicosopentaenoic (EPA) และ Docosahexaenoic (DHA)

กรดไขมันโอเมกา-3 มีบทบาทสำคัญต่อโครงสร้างและการทำงานของสมอง ตับ และระบบประสาทเกี่ยวกับการพัฒนาเรียนรู้ รวมทั้งเกี่ยวกับเรตินาในการมองเห็น นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อโภชนาการและสุขภาพของคนเรา เช่น ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอล และไตรเอธิลกลีเซอรอล (triethylglycerol) ในพลาสมา ควบคุมระดับไลโปโปรตีน (lipoprotien) และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบและหน้าที่ของเกล็ดเลือด จึงมีแนวโน้มก่อให้เกิดผลดีในการลดอันตรายของโรคทางเดินหายใจ โรคไขมันในเส้นเลือด โรคหัวใจและโรคซึมเศร้า โอเมกา-3 พบมากในปลาทะเล และ ปลาน้ำจืดบางชนิด

น้ำมัน ปลา


น้ำมัน ปลา

น้ำมันปลา (Fish oil) เป็นส่วน หนึ่งของไขมันที่สกัดจากส่วนหัวและส่วนเนื้อของปลา เช่น ปลาทูน่า ปลาทู และปลาซาร์ดีน ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญ คือ กรดไขมันไม่อิ่มตัว ชนิด โอเมก้า 3 ซึ่งมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเด่นๆ 2 ชนิด ได้แก่

- กรดดีโคซาเฮกซาอีโนอิก หรือ DHA ( Decoxahexaenoic Acid )

- กรดไอโคซาเพนทาอีโนอิก หรือ EPA ( Eicosapentaenoic Acid )

จากการศึกษาพบว่าการบริโภคน้ำมันตับปลาทะเลอาจช่วยป้องกันโรคหัวใจและสมอง ขาดเลือดได้ โดยการป้องกันการสะสมของไขมันใต้ผนังหลอดเลือดแดง (Arteroma)จากการลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดและการป้องกันการแข็งตัวของ เลือด (Thrombosis) จากการเพิ่ม Thrombroxane A3 (TXA3)

น้ำมันปลาทะเล ที่ใช้ควรมีปริมาณ EPA สูงขนาดที่ใช้ประมาณ 3 กรัมต่อวัน และต้องบริโภคอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาทดลองในคนจำนวนมากเป็นเวลานานเพียงพอ จึงไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่าการบริโภคน้ำมันปลาทะเลจะช่วยป้องกันการอุดตัน ของหลอดเลือดแดงได้และจะมีอันตรายในระยะยาวหรือไม่

DHA พบมากทีสมองและจอตาของสัตว์บกและคน แต่ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดบ่งบอกว่า DHA มีผลต่อสายตาและการเรียนรู้ในระยะยาว ถ้าจะเติม DHA ในผลิตภัณฑ์นมเลี้ยงทารกและเด็กเล็กต้องเติม AA (Arachidonic acid) โดยมีปริมาณอัตราส่วนของ DHA และ AA เท่ากับในนมแม่ ไม่ควรมี EPA และอัตราส่วน กรดไลโนเลอิก และกรดไลโนเลนิค ต้องเท่ากับในนมแม่

ไม่มีหลักฐานใดๆ ทั้งสิ้นที่แสดงว่าถ้าบริโภคน้ำมันปลาทะเลแล้วจะทำให้เด็กฉลาดมากขึ้นและทำ ให้ผู้สูงอายุมีความจำดีขึ้น

น้ำมันปลาทะเลอาจเป็นประโยชน์ในการลดการอักเสบ ( inflammatory ) และโรคที่เกี่ยวกับภูมิต้านทาน ( Immunologic disease ) เช่น SLE, rheumatoid arthritis เป็นต้นด้วยการที่ EPA ไปแทนที่ AA ยับยั้งการสังเคราะห์ cytokines ที่ทำให้เกิดการอักเสบ เช่น IL-1,IL-2 และ TNF มีรายงานผลการศึกษาการบริโภคน้ำมันปลาทะเลวันละ 6 กรัม ซึ่งมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ประมาณ 2.6 กรัม นาน 12 เดือนในผู้ป่วย rheumatoid arthritis พบว่าผู้ป่วยมีอาการของข้อดีขึ้นและสามารถลดยาที่รักษาอยู่ได้โดยเปรียบ เทียบกับกลุ่มควบคุมที่บริโภคน้ำมันมะกอกวันละ 6 กรัมเช่นกัน
หัวข้อ

* ข้อ ควรระวังในการบริโภคน้ำมันปลา
* น้ำมัน ตับปลากับน้ำมันปลาต่างกันอย่างไร

ข้อควรระวังในการบริโภคน้ำมัน ปลา

1. เลือดออกง่าย(Excess Bleeding) เนื่องจากการลดการจับตัวของเกร็ดเลือด ดังนั้นจึงควรระมัดระวังเป็นพิเศษในผู้ที่รับประทาน Baby Aspirin เป็นประจำ

2. เพิ่มความต้องการวิตามินอี เนื่องจากร่างกายต้องนำวิตามินอีไปต้านอนุมูลอิสระที่เกิดจากปฏิกิริยา ออกซิเดชันของกรดไขมันไม่อิ่มตัว (PUFA) ดังนั้นถ้าร่างกายได้รับ Antioxidant ไม่เพียงพอในระยะยาวอาจส่งเสริมการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด เนื่องจากการเพิ่ม oxidize LDL

3. อาจเกิดโรคติดเชื้อได้ง่ายเนื่องจาก EPA กดระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

น้ำมันปลาแม้จะมีประโยชน์ในการรักษาดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ในทางปฏิบัติอาจเป็นไปได้ยาก เนื่องจากน้ำมันปลาทะเลมีกลิ่นแรงและต้องใช้ขนาดสูง ผู้ป่วยมักรู้สึกผะอืดผะอมและปั่นป่วนในท้องมากจนต้องหยุดรับประทานไปในที่ สุด นอกจากนั้นยังอาจเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยจึงควรบริโภคปลาทะเลแทนน้ำมันปลาทะเลในปริมาณสัปดาห์ละ 3 มื้อ มื้อละ100 กรัม


น้ำมันตับปลากับน้ำมัน ปลาต่างกันอย่างไร
• น้ำมันตับปลา (Cod liver oil) สกัดจากตับ ของปลาทะเล นิยมรับประทานเพื่อเสริมวิตามินเอ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมเยื่อบุผิวให้เป็นปกติ นอกจากนี้ยังมีวิตามินดี ที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมรวมทั้งฟอสฟอรัสบริเวณลำไส้เข้าสู่ร่างกาย ทำให้การสร้างกระดูกเป็นไปอย่างปกติ แต่หากได้รับวิตามินเกินขนาด โดยเฉพาะวิตามินเอและดี ก็อาจเกิดพิษจาก การสะสมวิตามินเกินความจำเป็น โดยมีอาการความดันในสมองสูง ปวดศีรษะ หิวน้ำ และปัสสาวะบ่อย ฯลฯ

• น้ำมันปลา (fish oil) เป็นน้ำมันที่สกัดจากเนื้อ หนัง หัว และหางปลาทะเล อาทิ ปลาซาร์ดีน ปลาเฮอร์ริ่ง ปลาแมคคอเรล ปลาแซลมอน ปลาทูน่า น้ำมันปลามีกรดไขมันที่ร่างกายคนเราไม่สามารถสร้างเองได้ โดยเป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว (Polyunsaturated Fatty Acid) หรือ PUFA 2 ชนิด ในกลุ่มโอเมก้า 3 คือ

- Eicosapentaenoic acid (EPA)
- Docosahexaenoic acid (DHA)

ปัจจุบัน วงการแพทย์ให้ความสนใจถึงความสัมพันธ์ของน้ำมันปลากับโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งกำลังเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ และสาเหตุการเกดโรคก็มาจากการที่หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจไหลเวียนไม่ สะดวกเพราะผนังหลอดเลือดหนาและแข็งขึ้นจากการเกาะตัวของโคเลสเตอรอล การอุดตันของเกร็ดเลือดที่รวมตัวกันส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมา เลี้ยง บางรายที่อาการรุนแรงอาจเสียชีวิตได้

ดังนั้นผู้ป่วย โรคนี้ จึงมักได้รับคำแนะนำจากแพทย์ให้รับประทานน้ำมันปลา เพราะมีส่วนช่วยลดระดับไขมันในเลือด และยังช่วยลดการเกาะตัวของเกร็ดเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ช่วยลดปัญหาโรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดได้เป็นอย่างดี
รับประทานน้ำมันปลาอย่างไรจึง จะปลอดภัย
1. บุคคลทั่วไป ควรรับประทานปลาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง รวมทั้งอาหารที่มีกรด alpha – linolenic acid สูง เช่น น้ำมันถั่วเหลือง เมล็ดธัญญพืช เต้าหู้ เป็นต้น
2. ผู้ป่วยโรคหัวใจ ควรรับประทานน้ำมันปลา ประมาณ 1,000 มิลลิกรัม/วัน
3. ผู้ป่วยที่ต้องการลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ควรรับประทานวันละ 2 – 4 กรัม

* ก่อนตัดสินใจรับประทาน ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียก่อนเพื่อความปลอดภัย และพึงระวังว่าการรับประทานน้ำมันปลาขนาดสูง อาจทำให้ระดับวิตามินอีในร่างกายลดลง *

วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553

คอลลาเจน

คอลลาเจนคืออะไร??

คอลลาเจนคือโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักๆของชั้นผิวหนัง ทำหน้าที่เป็นตัวประสานเนื้อเยื่อของผิวหนังเข้าด้วยกัน โดยโปรตีนชนิดนี้มีส่วนประกอบถึง 25% ถึง 35% ของจำนวนหน่วยโปรตีนทั้งหมดในร่างกาย โดยมีมากที่สุดที่ผิวหนัง และ ประมาณ 1% ถึง 2% ที่ปะปนอยู่ในเซลล์กล้ามเนื้อ การผลิตเจลลาตินในอาหารได้จากกรรมวิธี การย่อยหน่วยคอลลาเจนที่เรียกว่า Hydrolysis


หน้าที่ของคอลลาเจน

คอลลาเจนคือโปรตีนชนิดหนึ่งที่เป็นสายยาว ซึ่งทำหน้าที่แตกต่างจากสารโปรตีนโดยทั่วๆไปเช่นเเดียวกับเอนไซม์ สายเส้นใยของคอลลาเจนถูกเรียกว่า คอลลาเจน ไฟเบอร์ (Collagen Fiber) ซึ่งจะมีลักษณะเป็นสายเกลียวที่มีหน่วยโมเลกุลเกี่ยวพันกันมากมาย โดยปกติทั่วไปผิวหนังที่มีคอลลาเจนเป็นโครงสร้างอยู่มากจึงมีแรงสปริงตัวและ ยืดหยุ่นได้ดีตามไปด้วย คอลลาเจนนั้นไม่ได้มีอยู่ที่ผิวหนังส่วนนอกเท่านั้น อวัยวะภายในร่างกายเองก็ คอลลาเจนเป็นส่วนประกอบอยู่มาก ได้แก่ ผังผืด (Fascia), กระดูกอ่อน(cartilage), เส้นเอ็น(ligaments), ข้อต่อ (tendons),กระดูก (bone) สารคอลลาเจนที่เป็นส่วนประกอบหลักของชั้นผิวมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า เคราติน Keratin

เคราติน Keratin, เคราตินมีหน้าที่สร้างความแข็งแรงและความยืดหยุ่น เมื่อสารเคราตินในชั้นผิวลดลง จึงเกิดริ้วรอยแห่งวัยขึ้นบนชั้นผิว, นอกจากนี้ เคราตินมีหน้าที่สร้างความยืดหยุ่นให้ผนังหลอดเลือด ,มีส่วนช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อใหม่, รวมทั้งยังเป็นส่วนประกอบของเยื่อกระจกตาและเลนส์ตาด้วย

Hydrolyzed Collagen เองยังถูกใช้งานในแง่ของการลดน้ำหนักได้ด้วย เนื่องจากเป็นส่วนประกอบของโปรตีนจึงมีข้อดีในการช่วยเผาผลาญพลังงานลดไขมัน ส่วนเกิน


บทบาทคอลลาเจนในวงการอุตสาหกรรม

เมื่อนำคอลลาเจนมาผ่านกระบวนการ Hydrolyzed สารคอลลาเจนจะแตกตัวออกเป็นสารเชิงซ้อนของคอลลาเจนเปปไทด์แบบ Polyproline II (PPII) หรือลักษณะของเจลาตินที่นำมาเป็นส่วนผสมของอาหารนั่นเอง นอกจากการใช้เป้นอาหารแล้ว คอลลาเจนยังใช้เป็นส่วนประกอบของยา เครื่องสำอางค์ และฟีล์มถ่ายภาพเมื่อพิจารณาในแง่ของอุตสาหกรรมอาหารแล้ว สารคอลลาเจนไม่ได้ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่มีการประชาสัมพันธ์เชิงการค้าว่าผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมคอลลาเจนต่างแสดง คุณสมบัติของสินค้าว่าสามารถยับยั้งการเกิดริ้วรอยแห่งวัยและมีผลดีต่อ สุขภาพ ซึ่งยังไม่มีผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ออกมาสนับสนุนการโฆษณาในลักษณะนี้

คำ ว่าคอลลาเจน (Collagen) มีรากศัท์มาจากภาษากรีกจากคำว่า “Kolla” ที่แปลว่า กาว โดยเมื่อก่อนได้มีการทำกาวโดยการนำหนังและเอ็นม้ามาเคี่ยวจนกลายเป็นกาว ตามหลักฐานที่พบมีการใช้งานกาวลักษณะนี้มากว่า 8000 ปีแล้ว โดยใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตเชือกและตระกร้าสานเพื่อให้มีความแข็งแรง และมีการใช้งานภายในครัวเรือนทั่วไป กาวชนิดนี้เมื่อแห้งแล้วสามารถทำให้อ่อนนิ่มได้อีกโดยการให้ความร้อน เพราะกาวจากสิ่งมีชีวิตเป็น Thermoplastic ชนิดหนึ่งจึงมีการใช้งานได้หลากหลายโดยเฉพาะการผลิกเครื่องดนตรีเช่น ไวโอลีน กีตาร์ แม้กระทั่งเมื่อมนุษย์สามารถผลิตพลาสติกสังเคราะห์ได้แล้ว แต่ก็ยังมีการใช้งานกาวเจลาตินอยู่ทั่วไป


บทบาทคอลลาเจนในวงการแพทย์

คอลลาเจนมีการใช้งานอย่างกว้างขวางในวงการศัลยกรรมความงาม ศัลยกรรมกระดูก การจัดฟัน และวงการศัลยกรรมทั่วไป เป็นส่วนประกอบของผิวหนังสังเคราะห์ที่ใช้ในผู้ป่วยที่สูญเสียผิวหนังเนื่อง จากอุบัติเหตุไฟไหม้ ซึ่งใช้คอลลาเจนสังเคระห์จากผิวหนังของลูกวัว(Bovine), หรือจากหมู (Equine, Porcine) บางครั้งจะใช้ผิวหนังจากผู้บริจาค หรือใส้ซิลิโคนสังเคราะห์แทน

คอลลาเจนได้มีการจำหน่ายในลักษณะของ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นส่วนช่วยเคลื่อนไหว เนื่องจากคอลลาเจนเมื่อรับประทานเข้าไปจะย่อยสลายเป็นโปรตีนและกรดอะมิโนใน ที่สุด จึงช่วยในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอโดนวิธีรับประทานได้น้อยมาก ดังนั้น วงการแพทย์ในปัจจุบันจึงมีการใช้คอลลาเจนในแง่ของศัลยกรรมความงามมากที่สุด

วิธีที่จะเพิ่ม คอลลาเจนนั้น ทำได้หลายวิธี

  1. การฉีดคอลลาเจนโดยตรง จากแพทย์
  2. รับประทานอาหารที่ต่อต้านสารอนุมูลอิสระ ได้แก่ เบต้าแคโรทีน วิตามินซี, วิตามินอี

Co-enzyme Q10

Co-enzyme Q10 หรือ Co-Q 10
Co-Q10 เป็นสารที่มีบทบาทในการเพิ่มพลังงานให้แก่เซลล์ เพื่อใช้เป็นพลังงานในร่างกาย เป็นสารสำคัญใน การสังเคราะห์ Adeno-sinetriphosphate (ATP) ซึ่งเปรียบได้กับขุมพลังงาน ของเซลล์ทั่วร่างกาย Co-enzyme Q10 เป็นตัวต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยปกป้องเซลล์จากการทำร้ายของอนุมูลอิสระช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรค ร้าย ซึ่งมาจากการเสื่อมสภาพของเซลล์ เช่น โรคหัวใจ ข้อเสื่อม อัมพาต หรือ โรคที่เกิดจากความเสื่อมสภาพวัย ตามปกติร่างกายสามารถผลิต Co-Q10 ได้โดยการสกัดและสังเคราะห์ผ่านตับ โดยดูดซึมสารอาหาร ที่ได้ในแต่ละวัน และเก็บสะสม ไว้ในเซลล์ไมโตคอนเดรีย ซึ่งเซลล์นี้มีอยู่มาก ในหัวใจ สมอง และกล้ามเนื้อ แต่เมื่ออายุมากขึ้นการทำงานของร่างกาย ในระบบต่างๆ ก็เสื่อมถอยลง ตับก็ไม่สามารถสังเคราะห์ Co-Q10 ได้ในปริมาณเท่าเดิม สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ริ้วรอย และความเสื่อม ของระบบต่างๆ
เราสามารถพบ Co-Q10 ได้ในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน เครื่องในสัตว์ ไข่ ถั่วเปลือกแข็ง ข้าวกล้อง และงา
ชื่อพ้อง: Coenzyme Q, Coenzyme Q10, CO Q10, Ubidecarenone, Ubiquinone 10
Class: จัดอยู่ในกลุ่ม antioxidant
กลไกการออกฤทธิ์
Coenzyme Q10 เป็น coenzyme ที่จำเป็นของร่างกายมีลักษณะคล้ายเป็นวิตะมิน มีโครงสร้างเหมือนวิตะมิน K โดยจะพบที่ในเยื่อหุ้มของ mitochondria ที่อยู่ที่หัวใจ ตับ ไต และตับอ่อน มีบทบาทสำคัญในการขนส่งอิเล็กตรอนใน mitochondria และการสร้าง adrenosine triphosphate (ATP) Coenzyme Q10 มีคุณสมบัติในการเป็น membrane stabilizing โดยตรงและเป็น antioxidant
ผลต่อหัวใจ มีประโยชน์ในการป้องกันการถูกทำลายของเซลในระหว่างที่เกิดภาวะกล้ามเนื้อ หัวใจขาดเลือดและเพิ่ม reperfusion
ขนาดที่ใช้
ผู้ใหญ่
IV: ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ขนาด 50 – 100 mg ต่อวัน นาน 3-35 วัน เพื่อใช้ในการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวระดับรุนแรง (severe heart failure)
รับประทาน: Coenzyme Q10 โดยทั่วไปจะบรรจุอยู่ใน soft gelatin capsules ซึ่งยาจะละลายอยู่ในน้ำมันถั่วเหลือง (soybean oil)
- การรักษา chronic congestive heart failure ซึ่งได้รับ conventional therapy ร่วมด้วย รับประทานขนาด 50-150 mg ต่อวัน แบ่งให้ 2-3 ครั้งต่อวัน จากการศึกษาใช้ยาต่อเนื่องนานถึง 6 ปี
- การรักษา chronic stable angina รับประทานขนาด 150-600 mg ต่อวัน แบ่งให้ 2-3 ครั้งต่อวัน
- การใช้ยาก่อนการผ่าตัดหัวใจ โดยใช้ยารับประทาน 100 mg ต่อวัน นาน 14 วันก่อนการผ่าตัดและตามด้วยขนาด 100 mg ต่อวัน นาน 30 วันหลังการผ่าตัด
- การรักษา periodontal disease ใช้ขนาด 25 mg รับประทานวันละ 2 ครั้ง ขณะนี้ยังมีข้อมูลจำกัด
- การรักษา Huntington’s disease รับประทานขนาด 800-1200 mg ต่อวัน
- การใช้ป้องกัน migraine รับประทานขนาด 150 mg ต่อวัน โดย Coenzyme Q10 จะไปมีผลลดความถี่ของการปวดศีรษะแต่ไม่มีลดระดับความรุนแรงของการปวดศีรษะ
- การรักษา neurological disease (ที่เกี่ยวข้องกับการขาดการสร้าง mitochondrial ATP) รับประทานขนาด 150 mg หรือมากกว่า ต่อวัน
- การรักษา Parkinson’s disease รับประทานขนาด 800-1200 mg ต่อวัน โดย Coenzyme Q10 อาจไปมีผลทำให้การดำเนินของโรคพาร์กินสันช้าลง ในผู้ป่วยที่เพิ่งพบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน แต่ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาขนาดใหญ่เพิ่มเติม
เด็ก
ขนาดที่ใช้โดยทั่วไปรับประทาน 2.4 – 3.8 mg/kg/day
การรักษา mitochondrial encephalomyoparthy รับประทาน 30 mg ต่อวัน
ข้อห้าม ใช้
ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แพ้ Coenzyme Q10 หรือส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์
ข้อควรระวัง
- ระวังการใช้ในผู้ป่วยทางเดินน้ำดีอุดตัน
- ระวังการใช้ร่วมกับยาลดไขมันในเลือด (ระดับ Coenzyme Q10 ในเลือดจะมีระดับต่ำในผู้ป่วยที่มีระดับไขมันในเลือดสูง) และ HMG-CoA reductase inhibitors อาจมีผลยับยั้งการสร้างของ Coenzyme Q10 โดยธรรมชาติ เนื่องจาก HMG-CoA reductase ช่วยในการสร้าง Coenzyme Q10
- ระวังการใช้ร่วมกับยาลดระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากยาอาจไปยับยั้งผลของ Coenzyme Q10 ที่ได้รับเข้าไป
- ระวังการใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน เพราะอาจจะทำให้ลดความต้องการ insulin
- ระวังการใช้ในผู้ป่วยที่ตับและไตทำงานผิดปกติ เพราะอาจจะเกิดการสะสมของ Coenzyme Q10 ในเลือด
เภสัชจลนศาสตร์
- onset: สำหรับการรักษา congestive heart failure รับประทานนาน 2 สัปดาห์ถึง 3 เดือนจึงจะเริ่มเห็นผลการตอบสนองการรักษา
- ระดับยาในเลือดที่ให้ผลในการรักษา (Therapeutic drug concentration):
Angina: 2.2 mcg/ml
Congestive heart failure: 2 – 2.5 mcg/ml หรือมากกว่า
ระดับยาปกติในเลือด 0.7 – 1 mcg/ml
- Time to peak: 5 – 10 ชั่วโมง (ในรูปแบบการรับประทาน)
- Bioavailability: ยาจะถูกดูดซึมอย่างช้า เนื่องจากน้ำหนักโมเลกุลมากและการละลายน้ำได้น้อย
- Distribution sites: ตับ หัวใจ ไต และตับอ่อน
- Metabolism: ถูก metabolized ที่ตับแต่ไม่ทราบปริมาณ
- Excretion: ถูกขับออกทางน้ำดี ไม่ทราบปริมาณ ทางอุจจาระ 60%
- Elimination half-life: 34 ชั่วโมง
อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
- ผลต่อผิวหนัง: ผื่นแดงและคัน (< 0.5%)
- ผลต่อระบบทางเดินอาหาร: คลื่นไส้ รู้สึกไม่สบายท้อง ท้องเสีย จุกแน่นท้อง และลดความอยากอาหาร (< 1%)
- ผลต่อระบบเลือด: พบ thrombocytopenia (ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ) 1 รายในผู้ป่วยที่ใช้ยา 16 รายในหนึ่งการศึกษา
- ผลต่อตับ: พบอาจเกิดความเป็นพิษต่อตับ โดยพบมีรายงานการเพิ่มขึ้นของระดับ aminotransferases ในเลือดในระดับต่ำ เมื่อมีการใช้ยาในขนาดสูง มีพบการใช้ในขนาด 300 mg ต่อวัน
- ผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง: ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ พบน้อย
- ผลต่อตา: มีรายงานการเกิด photophobia (อาการกลัวแสง) ในระหว่างการใช้ Coenzyme Q10 ได้แต่พบน้อย
Drug interaction
Coenzyme Q10 - Antithrombin III Human, Heparin, Warfarin: ลดผล anticoagulant effect มีรายงานการทำให้ระดับ INR ลดลงในการใช้ Coenzyme Q10 ในผู้ป่วยที่ใช้ยา warfarin อยู่ เนื่องจาก Coenzyme Q10 และ vitamin K2 มีโครงสร้างเหมือนกัน ดังนั้นจึงควรระมัดระวังการใช้ร่วมกัน
รายการยาที่มีรายงานการเกิดปฏิกิริยาระหว่างกันกับ Coenzyme Q10 ได้แก่
Acenocoumarol, Ancrod, Anisindione, Antithrombin III Human, Bivalirudin, Danaparoid, Defibrotide, Dermatan Sulfate, Desirudin, Dicumarol, Fondaparinux, Heparin, Pentosan, Polysulfate Sodium, Phenindione, Phenprocoumon, Warfarin

หมายเหตุ
- สำหรับการใช้ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงยังมีข้อมูลจำกัด มีผู้ป่วยที่เป็น essential hypertension 26 รายได้รับ Coenzyme Q10 ขนาด 50 mg วันละ 2 ครั้ง หลังจาก 10 สัปดาห์ของการรักษาผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยของ systolic blood pressure ลดลงจาก 164.5 เป็น 146.7 mmHg และค่าเฉลี่ย diastolic blood pressure ลดลงจาก 98.1 เป็น 86.1 mmHg การลดลงของระดับความดันโลหิตเกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญเกี่ยวกับการลด peripheral resistance แต่ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงระดับ rennin ในเลือด, ระดับโซเดียมและโพแทสเซียมในเลือดหรือในปัสสาวะ
- การใช้ Coenzyme Q10 เสริมในผู้ป่วยที่มีระดับไขมันในเลือดสูง ยังมีข้อมูลจำกัด ผลการใช้ Coenzyme Q10 ร่วมกับ HMG-CoA reductase inhibitors ผลพบว่าจะทำให้ระดับ Coenzyme Q10 ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น แต่ไม่มีผลลดระดับไขมันในเลือด
- มีการศึกษาแบบ Open, uncontrolled trial การใช้ใน Male infertility รับประทาน Coenzyme Q10 ขนาด 100 mg วันละ 2 ครั้ง จะช่วยเพิ่มการเคลื่อนที่ของ sperm แต่จะไม่เพิ่มระดับความเข้มข้นของ sperm หรือ morphology in infertile men with idiopathic asthenozoospermia จากการติดตามการใช้นาน 6 เดือน
- การใช้ใน pulmonary fibrosis พบ Coenzyme Q10 ช่วยเพิ่ม pulmonary function แต่ยังมีข้อมูลจำกัด โดยในการศึกษาใช้ Coenzyme Q10 ในผู้ป่วย COPD 21 ราย และ 9 รายในผู้ป่วย Idiopathic pulmonary fibrosis (IPF) ยาขนาด 90 mg ต่อวัน นาน 8 สัปดาห์
- การใช้ใน ventricular arrhythmia ยังมีข้อมูลจำกัด

แคลเซียมคาร์บอเนต

แคลเซียมคาร์บอเนต (อังกฤษ: Calcium carbonate) เป็นสารประกอบมีสูตรเคมีคือ CaCO3 แคลเซียมคาร์บอเนต ไม่ละลายในน้ำ แต่สามารถทำปฏิกิริยากับน้ำและ คาร์บอนไดออกไซด์แล้วกลายเป็นแคลเซียมไบคาร์บอเนต (ซึ่งมีสูตรเคมีคือ Ca (HCO3) 2) แคลเซียมไบคาร์บอเนตละลายในน้ำได้เล็กน้อย

ในธรรมชาติพบในรูปดังนี้:

* อะราโกไนต์ (Aragonite)
* แคลไซต์ (Calcite)
* ปูนขาว (Chalk)
* หินปูน (Limestone)
* หินอ่อน (Marble)
* ทราเวอร์ตีน (Travertine)

เมื่ออยู่ในกระเพาะจะเกิดปฏิกิริยาดังนี้

* CaCO3 + 2HCl →→2CaCl2 + H2O + CO2 (gas)

ยา ลดกรดมีดังนี้:

* อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (Aluminium hydroxide) (Amphojel®, AlternaGEL®)
* แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ (Magnesium hydroxide) (Phillips’® Milk of Magnesia)
* อะลูมิเนียมคาร์บอเนต (Aluminium carbonate) gel (Basajel®)
* แคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium carbonate) (Tums®, Titralac®, Calcium Rich Rolaids®)
* โซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium bicarbonate) (Bicarbonate of soda)
* ไฮโดรทัลไซต์ (Hydrotalcite) (Mg6Al2 (CO3) (OH) 16 · 4 (H2O) ; Talcid®)
* อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์และ แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์(Maalox®, Mylanta®)

อินนูลิน

อินนูลิน (Inulin)

อินนูลิน เป็นสารประเภท ฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ (หมายความว่าน้ำตาลที่นำมาต่อกันเป็นสายโซ่สั้นๆ) ลักษณะโมเลกุลของอินนูลินจะคล้ายๆกับเซลลูโลสครับ แต่ต่าง กันตรงที่

เซลลูโลสจะเป็น กลูโคส-กลูโคส-กลูโคส-กลูโคส-กลูโคส-...-กลูโคส

แต่อินนูลินจะเป็น ฟรุกโตส-ฟรุกโตส-ฟรุกโตส-ฟรุกโตส-...ฟรุกโตส ครับ

อินนูลินมีลักษณะ เฉพาะคือมีรสชาติที่หวาน คล้ายน้ำตาล จึงมักนำมาเป็นส่วนประกอบ ในอาหารประเภทอาหารหวาน ไอศกรีม

และไม่ถูกย่อยในทางเดินอาหารจึง ไม่ให้พลังงานและไม่เพิ่มระดับน้ำตาลนั่นคือข้อได้เปรียบเมื่อใช้ แทนน้ำตาลครับ

แต่อย่างไรก็ตามคุณสมบัติอื่นๆของอินนูลินก็ไม่ได้แตก ต่างจาก "ใยอาหาร" อื่นๆเท่าใดนัก

ใยอาหารมี 2 ประเภทครับ ใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ กับใยอาหารที่ละลายน้ำ

* ใยอาหารที่ไม่ ละลายน้ำเช่นผักใบเขียว ใยอาหารในข้าวซ้อมมือ จะช่วยให้คุณ
อิ่มและช่วยให้การทำงานของลำไส้เป็นปกติ


* ใยอาหารที่ละลายน้ำซึ่งจะช่วยให้การย่อยและการ ดูดซึมแป้งและน้ำตาลช้าลง
ครับ ซึ่งเป็นผลดีต่อระดับน้ำตาลน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เช่น ถั่ว
ต่างๆ ส้ม แอปเปิ้ล


อินนูลินจัดเป็นใยอาหารที่ละลายน้ำครับ

อาหารเสริมลด น้ำหนักที่ใส่อินนูลินเพิ่มเข้าไป ก็เป็นเพียงแค่ เพิ่มรสชาติหวาน โดยที่ไม่เพิ่มแคลอรี่เท่านั้น ในความคิดของผมแล้วอินนูลินเป็นเพียงเครื่องปรุงแต่งรสชาติ และเป็นใยอาหารอีกประเภทหนึ่งเท่านั้น

ผู้ผลิตอาหารเสริมลดน้ำหนัก มักจะโฆษณาว่า อินนูลินที่เป็นส่วนประกอบนั้นช่วยให้อิ่ม ช่วยในระบบขับถ่าย ช่วยดูดซับและขับสารพิษ ทำให้ผิวกระจ่างใส และป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ ซึ่งก็ไม่แปลก เพราะคุณสมบัตินี้ก็คือคุณสมบัติของใยอาหารที่พบในผักและผลไม้ และอินนูลินก็จัดเป็นใยอาหารชนิดหนึ่งเท่านั้นครับ

แทนที่จะรับ ประทานอาหารเสริมที่ใส่อินนูลินเพิ่มเข้าไป ผมคิดว่าเปลี่ยนมาเพิ่มการรับประทานอาหารที่มีใยอาหารจากอาหารที่เรารับประทานอยู่ในชีวิต ประจำวันจะดีกว่าไหมครับ ซึ่งก็ทำให้อิ่ม ช่วยขับสารพิษ ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ได้เช่นกัน

สารสกัดจากถั่วขาว

สารสกัดจากถั่วขาว (Phaseolamin)

ส่วนประกอบของอาหารเสริมที่ ตอนนี้กำลังเป็นที่นิยมมากในขณะนี้คือกลุ่มของการใช้เอนไซม์ ซึ่งสกัดการย่อยแป้งครับ ในกลุ่มนี้ก็มีสารสกัดจากถั่วขาวด้วยเช่นกัน

สารสกัด จากถั่วขาวหรือ ฟาซีโอลามิน ( Phaseolamin ) เป็นสารที่บริษัทอาหารเสริมคาดหวังว่าจะเป็นสารที่ยับยั้ง แอลฟา-อไมเลสครับ ซึ่งสร้างมาจากตับอ่อนและทำหน้าที่เปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลกลูโคส ก่อนที่จะดูดซึม ดังนั้นการยับยั้งเอนไซม์นี้จึงเป็นความคาด หวังว่าน่าจะทำให้ร่างกายดูดซึมแป้งน้อยลงครับ

เป็นความจริงหรือที่การยับยั้งเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยแป้งจะทำให้ เราดูดซึมแป้งและน้ำตาลน้อยลงและทำให้เราผอมลง ?

เคยมี การทดลองในหนูครับ เปรียบเทียบกับระหว่าง หนูที่ไม่ให้สารที่ยับยั้งเอนไซม์ ,หนูที่ให้สารที่ยับยั้ง เอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยแป้งได้มากถึง 50% เปรียบเทียบกับ หนูที่ให้สารที่ยับยั้งเอนไซม์ที่สามารถย่อยแป้งได้ถึง 100%

โดย ให้รับประทานอาหารเหมือนๆกันเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ไม่พบความแตกต่างในเรื่องของน้ำหนักของหนูแต่ละกลุ่ม แต่ว่าหนูทั้ง3 กลุ่มมีการขับถ่ายสังกะสีและทองแดงไม่เท่ากัน โดยหนูที่ได้รับสารที่ยับยั้งเอนไซม์มากก็จะสูญเสียสังกะสีและทอง แดงไปกับอุจจาระไปมากกว่าครับ

แล้วก็ มีอีกการทดลองซึ่งทำในสุนัข 8 ตัว แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้รับประทานสารที่ยับยั้งเอนไซม์ อะไมเลส 1.5 กรัม อีกกลุ่มไม่ให้ครับ เป็นระยะเวลานาน 9สัปดาห์ โดยให้รับประทานอาหารเหมือนๆกัน

แม้ว่าจะมีแป้งหลงเหลือที่ไม่ ได้ถูกย่อยเหลือมาถึงลำไส้เล็กส่วนปลาย และพบว่าแป้งดูดได้น้อย กว่าในกลุ่มที่ให้สารที่ยับยั้งเอนไซม์อะไมเลส พบว่าน้ำหนักของสุนัขไม่แตกต่างกันเลยครับ แต่ช่วยให้ควบคุมระดับน้ำตาลได้เท่านั้น

อีก การทดลองครับ เป็นการทดลองโดยใช้สารสกัดจากถั่วขาว ไม่พบว่าสารสกัดจากถั่วขาวช่วยในเรื่องของการป้องกันการย่อยและการดูดซึมของแป้งใน มนุษย์

การทดลองนี้ทำโดยการให้รับประทานแป้ง 100 กรัม(400 กิโลแคลอรี่) แล้ววัดแคลอรี่ที่หลงเหลือมากับอุจจาระครับ

ถ้า สารสกัดจากถั่วขาวสามารถยับยั้งการย่อยและการดูดซึมของแป้งได้จริง ต้องมีส่วนที่เป็นแป้งติดมากับอุจจาระถูกต้องไหมครับ

แต่ ผลการทดลองนี้สรุปว่า สารสกัดจากถั่วขาว ไม่ช่วยในเรื่องของการป้องกันการย่อย
และการดูดซึมของแป้งครับ เพราะว่าแทบจะไม่เหลือแคลอรี่จากแป้งปนมากับ
อุจจาระเลย

มีการทดลองที่นำคนอ้วน 50 คน เปรียบเทียบระหว่างสารสกัดจากถั่วขาว 1500มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง (สังเกตนะครับว่าใช้ปริมาณที่สูงมาก) กับไม่ได้รับ (ได้เป็นยาหลอก) เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์

พบว่าในกลุ่มที่ได้รับ สารสกัดจากถั่วขาวลดน้ำหนักได้ประมาณ 1.7 กิโลกรัม และกลุ่มที่ ไม่ได้รับลดน้ำหนักได้ประมาณ 0.7 กิโลกรัม ร่วมกับมีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดที่ลดลง

แต่ว่าน่าเสียดายครับ การทดลองนี้กลับไม่มีความสำคัญอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเนื่อง จากกลุ่มตัวอย่างน้อยเกินไป ซึ่งการทดลองนี้ควรมีกลุ่มตัวอย่างสัก 150 คนครับการทดลองนี้จึงมีความสำคัญอย่างมีนัยสำคัญ

การทดลองนี้ครับ เป็นการทดลองนำอาสาสมัครมา 60 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งได้รับสารสกัดจากถั่วขาว 445 มิลลิกรัมก่อนอาหารมื้อที่มีแป้งมาก อีกกลุ่มหนึ่งได้รับยา หลอก (ไม่ได้รับ) แล้วให้รับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง ควบคุมแคลอรี่ให้ได้ประมาณ 2000 กิโลแคลอรี่ต่อวัน ผลปรากฎว่าในกลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากถั่วขาวสามารถลดน้ำหนัก ได้เฉลี่ย 2.9 กิโลกรัม ซึ่งลดน้ำหนักได้มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับไม่ได้รับ 0.3 กิโลกรัม

ให้ระวังครับ การทดลอง 2 ครั้งหลังนี้ใช้อาหารเสริมยี่ห้อ "Phase 2" ซึ่งมีส่วนประกอบ อื่นๆนอกเหนือจากถั่วขาว เช่น แคลเซียมฟอสเฟต 20% เซลลูโลส 10% vitamin B3 7% โครเมียมพิโคลิเนต 0.5 มิลลิกรัม ครับ ดังนั้นผลลัพธ์อาจไม่ใช่จากสารสกัดจากถั่วขาวเพียงอย่างเดียว

และ จุดที่ให้สังเกตอีกข้อครับ คือเรื่องสารสกัดจากถั่วขาว จากการทดลองจะใช้ปริมาณสารสกัดจากถั่วขาวไม่ต่ำกว่า 445 มิลลิกรัมครับ ซึ่งแปลว่าถ้าใช้สารสกัดจากถั่วขาวในปริมาณที่น้อยกว่านี้อาจ ไม่ได้ผล และทำให้คุณเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์

คุณไม่มีทางรู้หรอก ครับว่าอาหารเสริมที่คุณรับประทานอยู่ใช้สารสกัดจากถั่วขาวมากเท่า ไหร่ เพราะบริษัทอาหารเสริมส่วนใหญ่ไม่เคยเขียนปริมาณของส่วนประกอบไว้บนฉลาก คุณอาจได้รับในปริมาณที่ไม่เพียงพอสำหรับการลดน้ำหนักก็ได้ครับ

มีการทดลองหนึ่งทำในสิงหาคม 2007 นำอาสาสมัคร 25 คนที่อ้วน มาแบ่งเป็น 2 กลุ่มกลุ่มหนึ่ง ให้สารสกัดจากถั่วขาว 1000 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง อีกกลุ่มหนึ่งไม่ให้ แล้วให้ควบคุมอาหารและออกกำลังกายพอๆกัน เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ก็พบว่าน้ำหนักลดลงไม่แตกต่างกัน นั่นคือสารสกัดจากถั่วขาวอาจไม่มีประโยชน์ในการที่จะช่วยควบคุม น้ำหนัก

เอาล่ะครับ ถึงตอนนี้ผมสรุปว่าสารสกัดจากถั่วขาวยังมีข้อมูลที่ยังขัดแย้งกันอยู่ มีทั้งข้อมูลที่สนับสนุนและคัดค้านครับ และส่วนใหญ่คัดค้านครับ

คุณว่ามีอะไรแปลกๆไหมครับ คุณรับประทานอาหารประเภทแป้งเข้าไป แล้วก็รับประทานอาหาร เสริมเพื่อยับยั้งมัน

ถ้าคุณต้องเสียเงินเพื่อซื้ออาหารเสริมสำหรับ การยับยั้งการย่อยและดูดซึมแป้งแล้วล่ะก็ ทำไมคุณจึงไม่ลด ปริมาณอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลที่คุณรับประทานลงล่ะครับ หรือ เปลี่ยนข้าวเป็นข้าวซ้อมมือ ใยอาหารจะช่วยชะลอการย่อยและการดูดซึมน้ำตาลให้ช้าลงโดยธรรมชาติอยู่แล้ว น่าจะเป็นหนทางเลือกที่ดีกว่า ประหยัดกว่า และส่งผลต่อสุขภาพได้มากกว่าด้วยครับ