วันจันทร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2553

มะขามแขก


ชื่อวิทยาศาสตร์

Senna alexandrina P. Miller

ชื่อวงศ์ Fabaceae (Leguminosae)
ชื่อพ้อง Cassia acutifolia Delile, Cassia angustifolia Vahl,
Cassia obovata Collad., Cassia senna L.

ชื่ออังกฤษ Alexandria senna, Alexandrian senna Indian senna, senna, Tinnevelly senna

1. สารสำคัญในการออกฤทธิ์เป็นยา ถ่าย

มีการศึกษาพบฤทธิ์ เป็นยาถ่าย (1-24) สารที่ออกฤทธิ์ คือ sennoside A และ B, aloe emodin, dianthrone glycoside ซึ่งเป็น anthraquinone glycoside (3, 12) สาร anthraquinone glycoside จะยัง ไม่มีฤทธิ์เพิ่มการขับถ่ายเมื่อผ่านลำไส้เล็ก เมื่อผ่านเข้าไปในลำไส้ใหญ่ Sennoside A จึงถูก hydrolyze ได้ sennoside A-8-monoglucoside และถูก hydrolyzed โดย bata-glycosidase จากแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ และอุจจาระได้แก่ Bacillus, E. Coli ได้ sennidin A ส่วน sennoside B ก็จะถูกเปลี่ยนแปลงด้วยกระบวนการเช่น เดียวกันได้ sennidin B ทั้ง sennidin A & B จะเปลี่ยน กลับไปกลับมาได้ และถูกเปลี่ยนต่อไปเป็น rheinanthrone ซึ่งออกฤทธิ์ต่อลำไส้ส่วน colon โดยตรง (3, 21) สารสำคัญนี้จะกระตุ้นกลุ่มเซลล์ประสาทซึ่งอยู่ใต้ ชั้น Submucosa ทำให้เกิดการบีบตัวของลำไส้ (3)

2. ฤทธิ์กระตุ้นการเคลื่อนไหวของ ลำไส้

มีผู้พบฤทธิ์ กระตุ้นลำไส้ใหญ่ได้ (3, 4, 7, 13) และมีการศึกษาในอาสาสมัคร 12 คน โดยให้ดื่มชาชงมะขามแขก เปรียบเทียบกับการใรับประทานยา erythromycin และทำการถ่ายภาพลำไส้ใหญ่ด้วยวิธี Magnetic Resonance Imaging (MRI) ก่อนและหลังได้รับชาชงหรือยา พบว่ากลุ่มที่ได้รับชาชงมะขามแขกจะทำให้ลำไส้ใหญ่ส่วน colon มีการเคลื่อนไหวมากกว่ากลุ่มที่ได้รับ erythromycin อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (25)

3. การทดลองทางคลินิกใช้รักษาท้อง ผูก

ทำการศึกษาในผู้ ป่วยหลังผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก หรือมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ที่มีอาการท้องผูก จำนวน 92 คน อายุระหว่าง 43-82 ปี โดยให้ผู้ป่วย 61 คน รับประทานยาแคลเซียมเซนโนไซด์ ซึ่งเป็นแคลเซียมฟอร์มของเซนโนไซด์จากใบมะขามแขกที่ใช้เป็นยาระบาย ขนาดเม็ดละ 15 มก. 2 เม็ด ก่อนนอนทุกคืน หลังผ่าตัดในวันที่ 1 และให้รับประทานติดต่อกันจนถึงวันที่ 7 หลังการผ่าตัด และคนไข้อีก 31 คน เป็นกลุ่มควบคุม ไม่ได้รับยาระบายใดๆ พบว่าผู้ป่วยที่รับประทานยาแคลเซียมเซนโนไซด์ ถ่ายอุจจาระคล่องตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 4 หลังรับประทานยา คิดเป็นร้อยละ 90 การถ่ายอุจจาระเฉลี่ยวันละ 1.23 ครั้ง/คน ส่วนกลุ่มควบคุมมีเพียงร้อยละ 19 เท่านั้น ที่ถ่ายอุจจาระคล่อง สัดส่วนของการถ่ายอุจจาระคล่องในผู้ป่วยที่รับประทานยาแคลเซียมเซนโนไซด์ มากกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (26) นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในผู้ป่วยหลังผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก จำนวน 81 ราย อายุระหว่าง 52-86 ปี โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มควบคุม ซึ่งไม่ได้รับยา กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ได้รับยาเม็ดมะขามแขก 2 เม็ด ก่อนนอนทุกคืน หลังผ่าตัดในวันที่ 1 ติดต่อกันนาน 14 วัน กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่ได้รับยาระบาย Milk of Magnesia (MOM) 30 มล. ก่อนนอน นาน 14 วัน จากนั้นทำการบันทึกลักษณะอุจจาระ และจำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระ พบว่าสัดส่วนของผู้ที่มีอาการท้องผูกและท้องเสียมีความแตกต่างกันระหว่าง 3 กลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มควบคุมถ่ายอุจจาระไปทางแข็งที่ไม่พึงประสงค์มากกว่ากลุ่มมะขามแขกและ กลุ่ม MOM ในขณะที่กลุ่ม MOM ถ่ายไปในทางเหลวและน้ำมากกว่ากลุ่มมะขามแขก ดังนั้นจากการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่าการใช้ยาเม็ดมะขามแขกในผู้ป่วยหลัง ผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก จะช่วยให้การถ่ายอุจจาระในลักษณะที่พึงประสงค์ (ปกติและเหลว) ได้ดีกว่าการใช้ยา MOM (27)

การศึกษาในผู้ป่วย 100 คน อายุระหว่าง 40-60 ปี โดยเป็นโรคเบาหวาน 30 คน โรคอ้วน 40 คน และไขมันในเลือดสูง 30 คน ซึ่งผู้ป่วยทุกคนมีปัญหาเรื่องท้องผูก การศึกษานี้ไม่มีกลุ่มควบคุม ให้ผู้ป่วยรับประทานยาน้ำ Agiolax ที่มีส่วนผสมของเมล็ดเทียนเกล็ดหอย และฝักมะขามแขก ขนาด 2 ช้อนชา ทุกเย็น วันละ 1 ครั้ง นาน 3 เดือน พบว่าผู้ป่วยตอบสนองยาน้ำ Agiolax ได้ดีถึง 88% คือผู้ป่วยมีการถ่ายอุจจาระที่ดีขึ้น และช่วยลดอาการท้องผูก (28) นอกจากนี้ยังมีการศึกษาผู้ที่มีอาการท้องผูก (ถ่ายอุจจาระน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3ครั้ง/สัปดาห์) จำนวน 42 คน โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานเทียนเกล็ดหอย ขนาด 7.2 กรัม/วัน กลุ่มที่2 ให้รับประทานเทียนเกล็ดหอยร่วมกับมะขามแขก ขนาด 6.5 + 1.5 กรัม/วัน พบว่ายาถ่ายทั้ง 2 ชนิด เพิ่มจำนวนครั้งในการถ่ายอุจจาระ แต่ในกลุ่มที่ได้รับเทียนเกล็ดหอยร่วมกับมะขามแขกมีจำนวนครั้งของการถ่าย อุจจาระ อุจจาระมีความชุ่มชื้นได้ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับเทียนเกล็ดหอยอย่างเดียว (29) มีการจดสิทธิบัตรยาที่มีส่วนผสมของสารสกัดใบมะขามแขก 30-40 ส่วน สารสกัดว่านหางจระเข้ 30-40 ส่วน สารสกัดหมาก 20-30 ส่วน oryzanol 3-4 ส่วน calcium lactate 20-30 ส่วน ว่าสามารถป้องกันและรักษาอาการท้องผูกในคนได้โดยไม่มีพิษและผลข้างเคียงใดๆ (30)

4. หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ

4.1 การทดสอบความเป็นพิษ

เมื่อทดลองผสมผง มะขามแขกลงในอาหารหนูถีบจักร 0.5% ซึ่งเทียบเท่ากับ 2.3-2.5 เท่าของขนาดยาที่เป็นยาถ่ายในหนูถีบจักรเพศผู้และเพศเมียตามลำดับ เมื่อให้หนูกินเป็นเวลา 400 วัน พบว่าไม่มีผลต่อโภชนาการ และการเติบโตของหนูทั้ง 2 เพศ อาการดื้อยาไม่พบในหนูเพศเมีย แต่พบบ้างในหนูเพศผู้ อาการดื้อยานี้จะลดลงเมื่อเพิ่มปริมาณยาเป็น 1% และเลี้ยงหนูต่อไปอีก 225 วัน โดยที่ยังไม่มีผลต่อโภชนาการการเติบโตตลอดจนอัตราการตายของหนูถีบจักร นำหนูที่เหลือมาตรวจสอบพบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงของผนังลำไส้ และยังพบว่าหนูถีบจักรที่กินมะขามแขกเป็นเวลา 10 เดือน ไม่พบอาการดื้อยา (9) ได้มีผู้ทดลองนำเอาsoldol E ซึ่งเป็นยาเตรียมที่มี sennoside 8.5% ไปทดลองกับหนูถีบจักรและกระต่าย โดยให้หนูกิน 78 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทำให้หนูตายครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ทดลอง และฤทธิ์ยานี้ขึ้นกับขนาดที่ใช้ และเมื่อให้กระต่ายกินยาตัวละ 10 เม็ด จะมีอาการท้องเสีย ผลนี้เป็นการเปรียบเทียบกับผงใบ มะขามแขก ยาเม็ดสารสกัดมะขามแขก sennoside A, sennidine และ pursennide (16) ใบมะขามแขกทำให้เพิ่มการระบาย ในหนูที่ป้อนยาหลังอาหาร และขนาดที่ทำให้หนูที่ทดลองตายครึ่งหนึ่ง คือ 303 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (1)

4.2 ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์

การศึกษาสารสกัดใบ มะขามแขกด้วยเมทานอลในขนาด 100 มิลลิกรัม/ซี.ซี. มี ฤทธิ์อ่อนๆ ในการก่อกลายพันธุ์เชื้อแบคทีเรีย Salmonella typhimurium TA 98 และไม่มีผลต่อเชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis H-17 (Rec+) และสารสกัดด้วยน้ำในขนาด 100 มิลลิกรัม/ซี.ซี. และไม่มีผลต่อ Bacillus subtilis H-17 (Rec+) (31)

4.3 พิษต่อยีนส์

สาร aloe-emodin และ emodin ที่เป็นส่วนประกอบเล็กน้อยในมะขามแขก มีพิษต่อยีนส์ของคน (32)

4.4 การกำจัดสาร

glycoside ที่มี อยู่ในมะขามแขกบางส่วน ถูกขับออกทางปัสสาวะในรูป glycoside และ conjugated emodin อาจถูกขับออกทางอุจจาระได้บ้าง ไม่ถูกขับออกไปกับน้ำนม อาจทำให้ปัสสาวะและอุจจาระมีสีเหลืองหรือแดง ถ้าปัสสาวะหรืออุจจาระเป็นด่าง เนื่องจากสาร anthraquinone glycoside จะให้สีแดงในภาวะเป็น ด่าง (5) การให้มารดาซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างเลี้ยงทารกด้วยน้ำนม กินมะขามแขก พบว่าใช้ได้ผลดีและไม่มีผลต่อทารกในคนไข้ 49 ใน 50 ราย (33)

ข้อควรระวัง

1. การเตรียมยาถ้าเป็นกรดมากๆ จะทำให้เสื่อมคุณภาพลง (17)

2. การเก็บมะขามแขกไว้นานๆ จะทำให้คุณภาพเสื่อมลง รวมทั้งความร้อนจะทำให้สารสำคัญในมะขามแขกลดลง แต่การฉายแสง
กัมภาพรังสี เพื่อทำให้มะขามแขกปราศจากเชื้อไม่ทำให้คุณภาพลดลง (34)

3. การใช้มะขามแขกร่วมกับยาต้านฮีสตา มีน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ ทำให้ฤทธิ์การเป็นยาถ่ายลดลง (12)

4. การใช้ยาถ่ายมะขามแขกนานๆ จะทำให้เกิดอาการขาดโปแตสเซียมได้ (14)

5. เมื่อใช้ยาถ่ายมะขามแขกนานๆ อาจมีอาการพิษและอาการข้างเคียง โดยมีการทำลายระบบประสาท ที่ควบคุมการบีบตัวของ
ลำไส้ ทำให้ไม่ถ่ายเมื่อไม่ได้รับยา (35)

6. อาการอักเสบที่ทวารหนัก เมื่อให้คนไข้ซึ่งกินมะขามแขก พร้อมแบเรียม (36)

7. เกิดปริมาณแกรมมากลอบบูลินในเลือด ต่ำ และการโตของนิ้วมือ และนิ้วเท้าเนื่องจากเนื้อเยื่ออ่อนอักเสบ (36)

8. การเจริญเติบโตผิดปกติของกระดูก ตามข้อ (37)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น