วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2553

พริกไทย


พริกไทย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Piper nigrum) เป็นพืชมีผลเป็นพวงเม็ดขนาดเล็ก และเป็นเครื่องเทศที่ให้รสเผ็ดร้อน สามารถนำมาทำพริกไทยแห้งเป็นเครื่องปรุงสำหรับ อาหาร ซึ่งถ้าทำแห้งทั้งเปลือกจะได้พริกไทยดำเนื่องจากผงของเปลือก เป็นสีดำปนอยู่ ส่วนพริกไทยขาวได้จากการลอกเปลือกออกก่อนทำเป็นผง

ลักษณะ ต้นพริกไทย
พริกไทย เป็นต้นไม้ประเภทไม้เลื้อย มีความสูงประมาณ 5 เมตร ลักษณะของลำต้นเป็นข้อๆ เป็นต้นไม้ที่มีอายุยืน ระบบรากของต้นพริกไทยจะมีเกิดบริเวณข้อตามลำต้นเป็นรากเล็กๆจะเป็นรากที่ ช่วยยึดเกาะ และมีรากที่อยู่ในดินขนาดใหญ่ประมาณ 3-6 ราก แต่ละรากจะมีรากฝอย ลักษณะใบจะมีสีเขียวสด ใบใหญ่คล้ายใบโพ ดอกของพริกไทยจะมีขนาดเล็ก จะออกช่อตามข้อเป็นพวง เมล็ดจะมีลักษณะกลมติดกันเป็นพวง

สรรพคุณ ทางยาสมุนไพร
พริกไทยดำและพริกไทยขาว

ใบ : แก้ลมจุกเสียด แน่น ท้องอืดเฟ้อ

เมล็ด : ผลที่ยังไม่สุกนำมาทำเครื่องเทศ แต่งกลิ่นอาหาร

* ผลแก่ 15-20 เมล็ด บดเป็นผงชงน้ำกินให้หมด 1 ครั้ง ช่วยขับลม ขับเสมหะ

ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงธาตุแก้อาการอาหารไม่ย่อย

ดอก : แก้ตาแดง

ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น ระงับอาเจียน ผ่อนคลายอาการไม่สบายจากอาหารเป็นพิษจากอาหารทะเลและเนื้อสัตว์

สมอไทย


สมอไทย

ชื่อพื้นเมือง สมออัพยา มะนะ (ภาคเหนือ) ม่าแน่ (กะเหรี่ยง เชียงใหม่)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Terminalia chebula Retz.

ชื่อ วงศ์ สมอ COMBRETACEAE

ชื่อ สกุลไม้ สมอไทย Terminalia L.

ชื่อ สามัญ Chebulic Myrobalans, Myrobalan Wood, Ink Nut

นิเวศวิทยา และการกระจายพันธุ์

ใน ประเทศไทย พบขึ้นใน ป่าดงดิบเขา ป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ และป่าสักที่สูงจากระดับน้ำทะเล 100 - 500

ในต่าง ประเทศ พบขึ้นทั่วไปใน เอเชีย
สถานภาพ ประเภท ก. ไม้หวงห้ามธรรมดา ยกเว้วนกรณีที่ขึ้นในที่ดินกรรมสิทธิ์

ลักษณะ ทั่วไป

ต้นไม้ เป็นไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 15 - 25 ม. ลำต้นเปลาตรง โคนต้นไม่มีพูพอนหรือมีบ้างเล็กน้อยในช่วงที่ใกล้ผิวดิน เรือนยอด เป็นพุ่มกลม เปลือกนอก หนา สีน้ำตาลค่อนข้างดำ มีรอยแตกตามยาวเป็นร่องลึก ขรุขระ เปลือกใน สีน้ำตาลแดง กิ่งอ่อนและยอดอ่อน มีขนสีน้ำตาลแดงหนาแน่น ปลายกิ่งลู่ลง

ใบ ใบเดี่ยว ติดตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย ทรงใบมีทั้งรูปรี ๆ และรูปไข่ขนาดใหญ่ใบสั้นปลายแหลมเล็ก ๆ หรือรูปขอบขนานบริเวณขอบใบใกล้กับโคนใบ มีตุ่มหูด 1 คู่ โคนใบมนและมักบิดเบี้ยวเล็กน้อย ขนาดใบกว้าง 10 - 13 ซม. ยาว 18 - 28 ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนา ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 2 - 2.5 ซม. ใบอ่อน ขอบใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลอ่อนหนาแน่น เรียงเป็นระเบียบ ใบแก่หลังใบสีเขียวเข้ม มีขนสีขาวคลุม ท้องใบสีจางกว่า มีขนสีน้ำตาลอ่อนนุ่ม เมื่อใบแก่ ขนทั้ง 2 ด้านจะหลุดร่วงหมดไป หรือมีเหลืออยู่บ้างเพียงประปราย เส้นแขนงใบค่อนข้างถี่ มี 12 - 18 คู่ และมักมีเส้นแทรก เส้นใบย่อยแบบร่างแหเห็นชัดมากทางด้านท้องใบ

ดอก ดอกออกเป็นช่อ แต่ละช่อจะมีช่อแขนง 4 - 7 ช่อ ปลายช่อจะห้อยลงสู่พื้นดินหรือตั้งขึ้น ดอกบานเต็มาที่กว้างประมาณ 3 - 4 มม. เป็นดอกสมบูรณ์เพศสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม กลีบรองกลีบดอกมี 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย มีขนแน่นทางด้านใน ไม่มีกลีบดอก เกสรผู้ มี 10 อัน เรียงตัวเป็นสองแถวล้อมรอบรังไข่ รูปไข่ เกลี้ยง ๆ ภายในมีช่องเดียว มีไข่อ่อน 2 หน่วย หลอดท่อรังไข่มีหลอดเดียว

ผล เป็นพวกผลสด รูปไข่กลับ รูปไข่ รูปกระสวย หรือรูปรักบี้ ยาว 3 - 4 ซม. กว้าง 2 - 3 ซม. ผิวเรียบมี 5 เหลี่ยมหรือพู จำนวนเมล็ด มี 1 เมล็ด มีเนื้อเยื่อหนาหุ้ม ผลแก่ สีเขียวอมเหลือง แต่เมื่อแห้งจะออกสีดำ

ระยะเวลาใน การออกดอกและเป็นผล ออกดอกระหว่างเดือน เมษายน-มิถุนายน และเป็นผลแก่จัดระหว่างเดือนกันยายน-ธันวาคม

การขยาย พันธุ์ โดยการเพาะกล้าไม้จากเมล็ด
ลักษณะ เนื้อไม้

เนื้อไม้แปร รูป กระพี้สีเขียวอ่อนถึงเหลืองอ่อน หรือสีน้ำตาลแกมเทา แก่นสีม่วงแก่ แตกต่างจากกระพี้เห็นได้ชัดเจน เสี้ยน สน แข็ง เลื่อย ไสกบ แตกต่างยาก ทนทานแดดฝนได้ดี

ความถ่วง จำเพาะ ประมาณ 1.22

กลสมบัติไม้ เนื้อไม้มีความแข็ง ประมาณ 1,133 กก. ความแข็งแรง 1,155 กก./ตร.ซม. ความดื้อ 121,700 กก./ตร.ซม. ความเหนียว 3.04 กก-ม.

การผึ่ง การอบ อบให้แห้งได้ยากปานกลาง ใช้ตารางอบไม้ที่ 4

ความทนทาน ตามธรรมชาติ ตั้งแต่ 2 - 6 ปี เฉลี่ยประมาณ 3 ปี
การ ใช้ประโยชน์

ด้านเนื้อไม้แปรรูป ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เช่น ทำเสา รอด คาน ตง เครื่องเรือน เครื่องเกวียน กรรเชียง เกวียน ครก สาก กระเดื่อง

ด้านการทำสี ย้อม เปลือกให้สีเขียว และผลให้ สีดำ ชาวบ้านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง นิยมใช้ย้อมผ้าไหม ผ้าฝ้าย ย้อมเครื่องมือประมง เช่น แห อวน และให้น้ำฝาดชนิด Pyrogallol

ด้านสมุนไพร ส่วนที่ใช้เป็นสมุนไพรและสรรพคุณคือ

ดอก รสฝาด ต้มดื่มแก้บิด

ลูก แก่ รสฝาดเปรี้ยวขม แก้ไข้ ขับเสมหะ แก้โลหิตในอุทร แก้น้ำดี ถ่ายอุจจาระ รู้ถ่ายรู้ปิดเอง แก้ลมป่วง แก้พิษร้อน ภายใน แก้ลมจุกเสียด ถ่ายพิษไข้ คุมธาตุ แก้ไอเจ็บคอ ขับน้ำเหลืองเสีย แก้เสมหะเป็นพิษ แก้ดีพลุ่ง แก้อาเจียน บำรุงร่างกาย แก้นอนสะดุ้งผวา ดองกับน้ำมูตรโค ดื่มแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ตามข้อ แก้อ่อนเพลีย บดเป็นผงโรยแผลเรื้อรัง

เนื้อ ลูกสมอ รสฝาดเปรี้ยว แก้บิด แก้ท้องผูก แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ แก้โรคเกี่ยวกับน้ำดี แก้โรคท้องมส แก้ตับ ม้ามโต แก้อาเจียน แก้สะอึก แก้หืดไอ แก้ท้องร่วงเรื้อรัง

ลูก อ่อน รสเปรี้ยว ถ่ายอุจจาระ แก้โลหิตในท้อง แก้น้ำดี แก้เสมหะ

เปลือก ต้น รสฝาดเมา ต้มดื่ม บำรุงหัวใจ ขับน้ำเหลืองเสีย ขับปัสสาวะ

ด้านเป็นพืชอาหาร ส่วนที่ใช้เป็นอาหารและ ปริมาณคุณค่าสารอาหารคือ

คุณค่าสาร อาหารขอผลสมอไทย ในส่วนที่กินได้ 100 กรัม และสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ตามรายงานของกองโภชนาการ กรมอนามัย พ.ศ. 2535 ประกอบด้วย

พลังงาน 53 กก. แคลอรี่ น้ำ 85.9 กรัม โปรตีน 1.2 กรัม ไขมัน 1.7 กรัม คาร์โบไฮเดรต 8.2 กรัม กาก 2.5 กรัม ใยอาหารยังไม่มีรายงาน เถ้า 0.4 กรัม แคลเซียม 18 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม เหล็ก มีเล็กน้อย เบต้าแคโรทีน 32 มิลลิกรัม วิตามินเอ 500 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.01 มิลลิกรัม ไนอะซิน 2.0 มิลลิกรัม วิตามินซี 116 มิลลิกรัม

ด้านการเป็นไม้ประดับ ความน่าสนใจของไม้ต้นนี้ คือ เป็นต้นไม้ที่มีรูปทรงดี มีร่มจากเรือนยอดกว้าง รูไข่ กิ่งและใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดงคลุมทั่วไป ทำให้มีสีสันสวยงาม ผลเป็นอาหารของคนโดยกินผลสดหรือเชื่อม พัฒนาเชิงพาณิชย์ได้กว้างขวาง และสัตว์ป่ากินเป็นอาหารทั่วไป เป็นพืชสมุนไพรที่มีค่ามากคู่กับตำราสมุนไพรไทย

วันจันทร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2553

โสมตังกุย


โสมตังกุย มีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีน ถูกนำเข้ามาปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ทางยาสมุนไพรในประเทศไทยนานแล้ว ลักษณะเป็นไม้ลงหัวคล้ายโสมทั่วไป แต่กิ่งก้านเป็นพุ่มเตี๊ยแจ้ สูงไม่เกิน 1 ฟุต เมื่อกิ่งเยอะจะเอนลู่ตามหน้าดินดูคล้ายไม้เถาเลื้อย ลำต้นเป็นปล้องสีเขียว หัวหรือเหง้าโตประมาณนิ้วหัวแม่มือผู้ใหญ่ ซึ่ง ส่วนมากจะแยกเป็น 2 ง่าม คล้ายขาคน สีขาว ใบเป็นใบประกอบแบบ 3 ใบ ออกเรียงสลับเป็นรูปรี แกมรูปไข่กลับ ปลายแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ลึกไม่เท่ากัน ดูคล้ายใบ "ผักชี" สีเขียวสด เวลาใบดกจะสวยงามน่าชมยิ่ง

ดอก เป็นสีขาวอมเหลือง ออกเป็นช่อแบบแยกแขนงช่อที่ซอกใบ และปลายกิ่ง แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกจะบานพร้อมๆกัน ทำให้ดูสวยงามแปลกตามาก
ผล กลม ขนาดเล็กมีเมล็ดจำนวนมาก ดอกจะออกตลอดปี

ขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเมล็ดกับปักชำกิ่ง

ประโยชน์ ใบสดหรือยอดอ่อนสามารถรับประทานเป็นอาหารได้ โดยนำไปปรุงเป็นต้มจืดเลือดหมูกินกับข้าวร้อนๆได้อร่อยมาก และเป็นยาบำรุง ทำให้ร่างกายสดชื่นกระปรี้กระเปร่า ส่วนหัวตากแห้งหรือสดๆเข้าเครื่องยาจีนตุ๋นกับไก่ดำ กินเป็นยาบำรุงร่างกายได้เด็ดขาดนัก ชาวจีนนิยมกันมาก

การปลูก โสมตังกุย ขึ้นได้ในดินทั่วไป ไม่ชอบน้ำท่วมขัง ชอบแดด ปลูกลงดินหรือ ลงกระถาง ได้ทั้ง 2 แบบ บำรุงปุ๋ยหมักคอก 10 วันครั้ง รดน้ำพอชุ่มทั้งเช้าและเย็น เมื่อต้นโสมตังกุย เจริญเติบโตเต็มที่ จะมีใบ ดอก และหัวให้ใช้ประโยชน์คุ้มค่าครับ

มะขามแขก


ชื่อวิทยาศาสตร์

Senna alexandrina P. Miller

ชื่อวงศ์ Fabaceae (Leguminosae)
ชื่อพ้อง Cassia acutifolia Delile, Cassia angustifolia Vahl,
Cassia obovata Collad., Cassia senna L.

ชื่ออังกฤษ Alexandria senna, Alexandrian senna Indian senna, senna, Tinnevelly senna

1. สารสำคัญในการออกฤทธิ์เป็นยา ถ่าย

มีการศึกษาพบฤทธิ์ เป็นยาถ่าย (1-24) สารที่ออกฤทธิ์ คือ sennoside A และ B, aloe emodin, dianthrone glycoside ซึ่งเป็น anthraquinone glycoside (3, 12) สาร anthraquinone glycoside จะยัง ไม่มีฤทธิ์เพิ่มการขับถ่ายเมื่อผ่านลำไส้เล็ก เมื่อผ่านเข้าไปในลำไส้ใหญ่ Sennoside A จึงถูก hydrolyze ได้ sennoside A-8-monoglucoside และถูก hydrolyzed โดย bata-glycosidase จากแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ และอุจจาระได้แก่ Bacillus, E. Coli ได้ sennidin A ส่วน sennoside B ก็จะถูกเปลี่ยนแปลงด้วยกระบวนการเช่น เดียวกันได้ sennidin B ทั้ง sennidin A & B จะเปลี่ยน กลับไปกลับมาได้ และถูกเปลี่ยนต่อไปเป็น rheinanthrone ซึ่งออกฤทธิ์ต่อลำไส้ส่วน colon โดยตรง (3, 21) สารสำคัญนี้จะกระตุ้นกลุ่มเซลล์ประสาทซึ่งอยู่ใต้ ชั้น Submucosa ทำให้เกิดการบีบตัวของลำไส้ (3)

2. ฤทธิ์กระตุ้นการเคลื่อนไหวของ ลำไส้

มีผู้พบฤทธิ์ กระตุ้นลำไส้ใหญ่ได้ (3, 4, 7, 13) และมีการศึกษาในอาสาสมัคร 12 คน โดยให้ดื่มชาชงมะขามแขก เปรียบเทียบกับการใรับประทานยา erythromycin และทำการถ่ายภาพลำไส้ใหญ่ด้วยวิธี Magnetic Resonance Imaging (MRI) ก่อนและหลังได้รับชาชงหรือยา พบว่ากลุ่มที่ได้รับชาชงมะขามแขกจะทำให้ลำไส้ใหญ่ส่วน colon มีการเคลื่อนไหวมากกว่ากลุ่มที่ได้รับ erythromycin อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (25)

3. การทดลองทางคลินิกใช้รักษาท้อง ผูก

ทำการศึกษาในผู้ ป่วยหลังผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก หรือมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ที่มีอาการท้องผูก จำนวน 92 คน อายุระหว่าง 43-82 ปี โดยให้ผู้ป่วย 61 คน รับประทานยาแคลเซียมเซนโนไซด์ ซึ่งเป็นแคลเซียมฟอร์มของเซนโนไซด์จากใบมะขามแขกที่ใช้เป็นยาระบาย ขนาดเม็ดละ 15 มก. 2 เม็ด ก่อนนอนทุกคืน หลังผ่าตัดในวันที่ 1 และให้รับประทานติดต่อกันจนถึงวันที่ 7 หลังการผ่าตัด และคนไข้อีก 31 คน เป็นกลุ่มควบคุม ไม่ได้รับยาระบายใดๆ พบว่าผู้ป่วยที่รับประทานยาแคลเซียมเซนโนไซด์ ถ่ายอุจจาระคล่องตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 4 หลังรับประทานยา คิดเป็นร้อยละ 90 การถ่ายอุจจาระเฉลี่ยวันละ 1.23 ครั้ง/คน ส่วนกลุ่มควบคุมมีเพียงร้อยละ 19 เท่านั้น ที่ถ่ายอุจจาระคล่อง สัดส่วนของการถ่ายอุจจาระคล่องในผู้ป่วยที่รับประทานยาแคลเซียมเซนโนไซด์ มากกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (26) นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในผู้ป่วยหลังผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก จำนวน 81 ราย อายุระหว่าง 52-86 ปี โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มควบคุม ซึ่งไม่ได้รับยา กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ได้รับยาเม็ดมะขามแขก 2 เม็ด ก่อนนอนทุกคืน หลังผ่าตัดในวันที่ 1 ติดต่อกันนาน 14 วัน กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่ได้รับยาระบาย Milk of Magnesia (MOM) 30 มล. ก่อนนอน นาน 14 วัน จากนั้นทำการบันทึกลักษณะอุจจาระ และจำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระ พบว่าสัดส่วนของผู้ที่มีอาการท้องผูกและท้องเสียมีความแตกต่างกันระหว่าง 3 กลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มควบคุมถ่ายอุจจาระไปทางแข็งที่ไม่พึงประสงค์มากกว่ากลุ่มมะขามแขกและ กลุ่ม MOM ในขณะที่กลุ่ม MOM ถ่ายไปในทางเหลวและน้ำมากกว่ากลุ่มมะขามแขก ดังนั้นจากการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่าการใช้ยาเม็ดมะขามแขกในผู้ป่วยหลัง ผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก จะช่วยให้การถ่ายอุจจาระในลักษณะที่พึงประสงค์ (ปกติและเหลว) ได้ดีกว่าการใช้ยา MOM (27)

การศึกษาในผู้ป่วย 100 คน อายุระหว่าง 40-60 ปี โดยเป็นโรคเบาหวาน 30 คน โรคอ้วน 40 คน และไขมันในเลือดสูง 30 คน ซึ่งผู้ป่วยทุกคนมีปัญหาเรื่องท้องผูก การศึกษานี้ไม่มีกลุ่มควบคุม ให้ผู้ป่วยรับประทานยาน้ำ Agiolax ที่มีส่วนผสมของเมล็ดเทียนเกล็ดหอย และฝักมะขามแขก ขนาด 2 ช้อนชา ทุกเย็น วันละ 1 ครั้ง นาน 3 เดือน พบว่าผู้ป่วยตอบสนองยาน้ำ Agiolax ได้ดีถึง 88% คือผู้ป่วยมีการถ่ายอุจจาระที่ดีขึ้น และช่วยลดอาการท้องผูก (28) นอกจากนี้ยังมีการศึกษาผู้ที่มีอาการท้องผูก (ถ่ายอุจจาระน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3ครั้ง/สัปดาห์) จำนวน 42 คน โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานเทียนเกล็ดหอย ขนาด 7.2 กรัม/วัน กลุ่มที่2 ให้รับประทานเทียนเกล็ดหอยร่วมกับมะขามแขก ขนาด 6.5 + 1.5 กรัม/วัน พบว่ายาถ่ายทั้ง 2 ชนิด เพิ่มจำนวนครั้งในการถ่ายอุจจาระ แต่ในกลุ่มที่ได้รับเทียนเกล็ดหอยร่วมกับมะขามแขกมีจำนวนครั้งของการถ่าย อุจจาระ อุจจาระมีความชุ่มชื้นได้ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับเทียนเกล็ดหอยอย่างเดียว (29) มีการจดสิทธิบัตรยาที่มีส่วนผสมของสารสกัดใบมะขามแขก 30-40 ส่วน สารสกัดว่านหางจระเข้ 30-40 ส่วน สารสกัดหมาก 20-30 ส่วน oryzanol 3-4 ส่วน calcium lactate 20-30 ส่วน ว่าสามารถป้องกันและรักษาอาการท้องผูกในคนได้โดยไม่มีพิษและผลข้างเคียงใดๆ (30)

4. หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ

4.1 การทดสอบความเป็นพิษ

เมื่อทดลองผสมผง มะขามแขกลงในอาหารหนูถีบจักร 0.5% ซึ่งเทียบเท่ากับ 2.3-2.5 เท่าของขนาดยาที่เป็นยาถ่ายในหนูถีบจักรเพศผู้และเพศเมียตามลำดับ เมื่อให้หนูกินเป็นเวลา 400 วัน พบว่าไม่มีผลต่อโภชนาการ และการเติบโตของหนูทั้ง 2 เพศ อาการดื้อยาไม่พบในหนูเพศเมีย แต่พบบ้างในหนูเพศผู้ อาการดื้อยานี้จะลดลงเมื่อเพิ่มปริมาณยาเป็น 1% และเลี้ยงหนูต่อไปอีก 225 วัน โดยที่ยังไม่มีผลต่อโภชนาการการเติบโตตลอดจนอัตราการตายของหนูถีบจักร นำหนูที่เหลือมาตรวจสอบพบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงของผนังลำไส้ และยังพบว่าหนูถีบจักรที่กินมะขามแขกเป็นเวลา 10 เดือน ไม่พบอาการดื้อยา (9) ได้มีผู้ทดลองนำเอาsoldol E ซึ่งเป็นยาเตรียมที่มี sennoside 8.5% ไปทดลองกับหนูถีบจักรและกระต่าย โดยให้หนูกิน 78 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทำให้หนูตายครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ทดลอง และฤทธิ์ยานี้ขึ้นกับขนาดที่ใช้ และเมื่อให้กระต่ายกินยาตัวละ 10 เม็ด จะมีอาการท้องเสีย ผลนี้เป็นการเปรียบเทียบกับผงใบ มะขามแขก ยาเม็ดสารสกัดมะขามแขก sennoside A, sennidine และ pursennide (16) ใบมะขามแขกทำให้เพิ่มการระบาย ในหนูที่ป้อนยาหลังอาหาร และขนาดที่ทำให้หนูที่ทดลองตายครึ่งหนึ่ง คือ 303 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (1)

4.2 ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์

การศึกษาสารสกัดใบ มะขามแขกด้วยเมทานอลในขนาด 100 มิลลิกรัม/ซี.ซี. มี ฤทธิ์อ่อนๆ ในการก่อกลายพันธุ์เชื้อแบคทีเรีย Salmonella typhimurium TA 98 และไม่มีผลต่อเชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis H-17 (Rec+) และสารสกัดด้วยน้ำในขนาด 100 มิลลิกรัม/ซี.ซี. และไม่มีผลต่อ Bacillus subtilis H-17 (Rec+) (31)

4.3 พิษต่อยีนส์

สาร aloe-emodin และ emodin ที่เป็นส่วนประกอบเล็กน้อยในมะขามแขก มีพิษต่อยีนส์ของคน (32)

4.4 การกำจัดสาร

glycoside ที่มี อยู่ในมะขามแขกบางส่วน ถูกขับออกทางปัสสาวะในรูป glycoside และ conjugated emodin อาจถูกขับออกทางอุจจาระได้บ้าง ไม่ถูกขับออกไปกับน้ำนม อาจทำให้ปัสสาวะและอุจจาระมีสีเหลืองหรือแดง ถ้าปัสสาวะหรืออุจจาระเป็นด่าง เนื่องจากสาร anthraquinone glycoside จะให้สีแดงในภาวะเป็น ด่าง (5) การให้มารดาซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างเลี้ยงทารกด้วยน้ำนม กินมะขามแขก พบว่าใช้ได้ผลดีและไม่มีผลต่อทารกในคนไข้ 49 ใน 50 ราย (33)

ข้อควรระวัง

1. การเตรียมยาถ้าเป็นกรดมากๆ จะทำให้เสื่อมคุณภาพลง (17)

2. การเก็บมะขามแขกไว้นานๆ จะทำให้คุณภาพเสื่อมลง รวมทั้งความร้อนจะทำให้สารสำคัญในมะขามแขกลดลง แต่การฉายแสง
กัมภาพรังสี เพื่อทำให้มะขามแขกปราศจากเชื้อไม่ทำให้คุณภาพลดลง (34)

3. การใช้มะขามแขกร่วมกับยาต้านฮีสตา มีน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ ทำให้ฤทธิ์การเป็นยาถ่ายลดลง (12)

4. การใช้ยาถ่ายมะขามแขกนานๆ จะทำให้เกิดอาการขาดโปแตสเซียมได้ (14)

5. เมื่อใช้ยาถ่ายมะขามแขกนานๆ อาจมีอาการพิษและอาการข้างเคียง โดยมีการทำลายระบบประสาท ที่ควบคุมการบีบตัวของ
ลำไส้ ทำให้ไม่ถ่ายเมื่อไม่ได้รับยา (35)

6. อาการอักเสบที่ทวารหนัก เมื่อให้คนไข้ซึ่งกินมะขามแขก พร้อมแบเรียม (36)

7. เกิดปริมาณแกรมมากลอบบูลินในเลือด ต่ำ และการโตของนิ้วมือ และนิ้วเท้าเนื่องจากเนื้อเยื่ออ่อนอักเสบ (36)

8. การเจริญเติบโตผิดปกติของกระดูก ตามข้อ (37)

ส้มแขก


ส้มแขก

ชื่อวิทยาศาสตร์
ชนิดที่ 1 Garcinia atroviridis Griff. Ex T. Anderson
ชนิดที่ 2 Garcinia cambogia Desr.

ชื่อวงศ์
GUTTIFERAE

ชื่ออื่น ๆ
ชนิดที่ 1 ส้มแขก มะขามแขก ชะมวงช้าง ส้มมะวน ส้มควาย
ส้มพะงุน อาแซกะลูโก
ชนิดที่ 2 ส้มแขก , Gamboge

ส่วนที่ใช้ผล ส้มแขกชนิดแรกเป็นชนิดที่พบมากในประเทศไทย ส่วนชนิดที่ 2 เป็นชนิดที่มีการใช้กันมากในตลาดโลก ประเทศอินเดียเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่
การปลูก
ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด โดยเมล็ดที่ใช้ต้องมีลักษณะสมบูรณ์ปราศจากโรคและแมลงทำลาย สามารถทำได้ดังนี้
1. ทำการเพาะเมล็ดส้มแขกในถุงดำก่อน เมื่อต้นกล้าอายุ 3-4 เดือน จึงทำการย้ายปลูก
2. เตรียมแปลงปลูกโดยขุดหลุมกว้าง 30 เซนติเมตร X ยาว 30 เซนติเมตร X ลึก 30 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองก้นหลุม
3.นำต้นพันธุ์ลงปลูกในหลุมปลูก กลบดินให้แน่นและมีไม้ยึดลำต้นกันโยก ถ้าแดดจัดต้องพรางแสงแดดในระยะแรกปลูกด้วย
การเก็บเกี่ยว
อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 7-8 ปี โดยผลจะออกในช่วงเดือนมิถุนายน ถึงเดือนสิงหาคม เก็บผลผลิตโตเต็มที่ ผลผลิตสด 3 ตัน/ไร่
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
นำผลส้มแขกมาหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ และตากแดดจัด ๆ ประมาณ 3 วัน ให้แห้งสนิท เก็บไว้ในภาชนะที่กันความชื้น อัตราส่วนการทำแห้งคือ ผลผลิตสด : ผลผลิตแห้ง = 4:1
สารสำคัญ
ส้มแขกทั้งชนิด G. atroviridis และ G.cambogia , สารสำคัญเหมือนกัน คือ
? -hydroxycitric acid ที่เรียกสั้น ๆ ว่า “สาร HCA” ซึ่งมีคุณสมบัติในการยับยั้งเอนไซม์ในกระบวนการสร้างไขมันจากการบริโภคอาหาร ที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง นอกจากนี้ยังมีกรดอินทรีย
์อื่น ๆ อีก ได้แก่ กรดซิตริก (citric acid) กรดเพนตาดีคาโนอิค (pentadecanoic acid) กรดออคตาดีคาโนอิค (octadecanoic acid) และกรดโดคีคาโนอิค (dodecanoic acid)
ผลการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
การศึกษาในสัตว์ทดลอง พบว่า สารสกัดหรือสารสำคัญของผลส้มแขกมีฤทธิ์ทางยาหลายประการ ดังนี้
1. การศึกษาผลต่อน้ำหนักตัว และไขมันในร่างกาย
จากการวิจัยฤทธิ์ของสาร HCA ของต่างประเทศ โดยศึกษาในหนูขาวหรือหนูถีบจักร พบว่า HCA ช่วยลดการกินอาหาร ลดน้ำหนักตัว หรือลดการเพิ่มของน้ำหนักตัวได้
2. การศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์
อนุพันธ์ของ ? -hydroxycitric acid 2 ชนิด แสดงฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา Cladosporium herbarum ซึ่งเป็นเชื้อราชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้โดยมีความแรงเทียบเท่า cyclohecimide แต่ไม่มีฤทธิ์ต่อเชื้อราอื่นหรือยีสต์
3. การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant)
สารสกัดด้วยน้ำ และสารสกัดด้วยเอธานอลของผลส้มแขกไม่แสดงฤทธิ์ antioxidant เมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH radical scavenging assay ที่ระดับความเข้มข้นสูงสุด 2000 ?g/ml. แต่สารสกัดของราก ใบ และเปลือกต้นแสดงฤทธิ์ antioxidant ที่แรงกว่าวิตามินอี ในขณะที่สารสกัดด้วยเมธานอลของผลส้มแขกก็ไม่แสดงฤทธิ์ antioxidant เช่นกัน
ประสิทธิผลในการรักษาโรคจากราย งาการวิจัยทางคลินิก
มีรายงานการวิจัยทางคลินิกของ HCA ในคนอยู่หลายรายงาน แต่พบว่าไม่สนับสนุนฤทธิ์ลดไขมัน หรือประสิทธิผลในการลดน้ำหนักหรือเพิ่ม fat oxidation ของ HCA ซึ่งไม่สอดคล้องกับผลการวิจัยในสัตว์ทดลอง อย่างไรก็ตาม มีข้อเสนอว่าผลิตภัณฑ์จากส้มแขกอาจมีประโยชน์ในการช่วยควบคุมไม่ให้น้ำหนัก เพิ่มขึ้นอีกหลังจากลดน้ำหนักได้แล้ว โดยใช้ร่วมกับการควบคุมอาหาร ลดการบริโภคไขมัน และออกกำลังกาย ซึ่งยังต้องพิสูจน์ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ต่อไป
การศึกษาทางพิษวิทยา
ไม่มีรายงานการศึกษาทางพิษวิทยาในสัตว์ทดลอง ผลของส้มแขกใช้เป็นอาหารด้วยจึงถือว่ามีความปลอดภัย ทางภาคใต้ใช้ผลส้มแขกมาปรุงอาหารเช่น ต้มเนื้อ ต้มปลา แกงส้ม
ข้อห้ามใช้


ข้อควรระวัง
เนื่องจากสาร HCA มีผลรบกวนการสร้าง acetyl CaA, fatty acid รวมทั้ง cholesterol จึงอาจมีผลรบกวนต่อการสร้าง steroid hormone ได้ จึงไม่แนะนำให้ใช้ HCA หรือผลิตภัณฑ์ส้มแขกที่มี HCA ในปริมาณสูงในสตรีมีครรภ์ หรือสตรีที่ให้นมบุตร
อาการข้างเคียง
ในขนาดสูงอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารเล็กน้อย
ขนาดที่ใช้และวิธีใช้
- ไม่มีข้อบ่งใช้ที่ได้รับรองจากวงการแพทย์ ที่มีงานวิจัยที่ยืนยันประสิทธิผลในคนสนับสนุน แต่ปัจจุบันมีการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการช่วยลดน้ำหนัก ลดความอยากอาหาร
- สำหรับผลิตภัณฑ์ส้มแขกที่มีการควบคุมปริมาณ HCA ไม่ต่ำกว่า 50 % ให้รับประทานในขนาด 750-1,500 มิลลิกรัม โดยแบ่งให้วันละ 2-3 ครั้ง 30-60 นาทีก่อนอาหาร

แปะก๊วย


แปะก๊วย (จีน: 银杏 , (ญี่ปุ่น: イチョウ ?)) เป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดจากทางตะวันออกของประเทศจีน (แถบภูเขาด้านตะวันตกของนครเซี่ยงไฮ้) ที่มีการแยกต้นเป็นเพศผู้ และเพศเมีย ใบมีลักษณะคล้ายใบพัด แยกออกเป็น 2 กลีบพบว่ามีการนำเข้าไปปลูกในประเทศญี่ปุ่น พร้อมกับการเผยแผ่ศาสนาพุทธนิกายเซน เมื่อประมาณ ช่วงราวค.ศ. 1300 หรือสมัยคามากุระมีลักษณะพิเศษ คือจะผลัดใบไม่พร้อมกันทุกต้น แต่เมื่อผลัดใบ ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วร่วงหล่นทั้งต้นภายในไม่กี่วัน

* แปะก๊วยเป็นพืชที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 270 ล้านปีก่อน ถือกำเนิดขึ้นในยุคเพอร์เมียน เมื่อประมาณ 290 ล้านปีมาแล้ว และมีชีวิตต่อมาในมหายุคมีโซโซอิก ในสมัยเดียวกับไดโนเสาร์ จึงเป็นอาหารของไดโนเสาร์กินพืช

* สำหรับชื่อตามความหมายแปลว่า "ลูกไม้สีเงิน" ซึ่งดั้งเดิม ในภาษาจีนเรียกว่าต้น "หยาเจียว" ซึ่งแปลว่าตีนเป็ดจากลักษณะใบ (นกเป็ดน้ำเป็นสัญลักษณ์ดีหมายถึงความรักของในจีน และในญี่ปุ่น) ต่อมามีการเรียกชื่อผลของมันว่าลูกไม้สีเงิน หรือ ลูกไม้สีขาว เนื่องจากผลจะมีสีเงิน และ สีขาวส่วนภาษาญี่ปุ่นจะเรียกว่า อิโจว มีรากจากคำว่าตีนเป็ด หรือ คินนัน ซึ่งมีรากความหมายคล้ายกับในภาษาจีนคือลูกไม้สีเงิน สำหรับในภาษาอังกฤษก็นิยมเรียกว่า กิงโกะ หรือ ต้นเมเดนแฮร์ หรือ ต้นขนนิ่ม (maidenhair tree) ซึ่งสันนิฐานว่ามาจากรูปทรงของใบที่เหมือนกันใบของเฟิร์นที่มีขนนิ่มชื่อเดียวกัน หรือ เรียกว่า ต้นสี่สิบมงกุฏทอง (หมายถึงว่ามีราคาแพง) ของชาวฝรั่งเศส ส่วนชื่ออื่น ๆ ที่มีผู้เรียกได้แก่ ต้นไม้แห่งความหวัง แพนด้าแห่งอาณาจักรพืช ต้นไม้อิสรภาพ

* สารที่สกัดได้จากใบแปะก๊วยมีหลายชนิดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Free radical) ในบริเวณตา ป้องกันการ เกิดโรคเบาหวานขึ้นตาได้ เพิ่มการไหลเวียนของโลหิตไปสู่สมอง ปลายมือปลายเท้า ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง เพราะเมื่อสมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ย่อมเสื่อมสมรรถภาพและฝ่อไปในที่สุด ส่งผลต่อการทำงานและประสิทธิภาพของสมอง ทำให้เกิดการหลงลืมในผู้สูงอายุ หรือโรคความจำเสื่อม ที่เรียกว่า อัลไซเมอร์ (Alzheimer disease)

* ในปัจจุบันหลายๆ ประเทศได้ให้การยอมรับถึงสรรพคุณของใบแปะก๊วยในการรักษาโรคสมองเสื่อม โดยการนำสารสกัดจากใบแปะก๊วยมารวมกับสารอื่น ๆ ช่วยให้การดูดซับที่ผนังลำไส้เล็กดีขึ้น ทำให้ร่างกายสามารถนำเอาสารสกัดจากใบแปะก๊วยนี้มาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการนำสารสกัดดังกล่าวมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อบำรุงสมอง และช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ใช้รักษาโรคความจำเสื่อมโรคซึมเศร้า อาการหลงๆ ลืมๆ อันเนื่องมาจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอในผู้ป่วยสูงอายุ ผลแปะก๊วยที่ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารจีนหลากหลายชนิด มีสรรพคุณช่วยบำรุงสมอง ช่วยให้เลือดลมหมุนเวียนได้สะดวก แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าแหล่งใหญ่ของสารที่ทำหน้าที่ช่วยเสริมสุขภาพดังกล่าว กลับพบมากในส่วนของใบมากกว่าผลเสียอีก แปะก๊วย

* ใบแปะก๊วยยังเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยโตเกียวประเทศญี่ปุ่นเป็นตัวแทนของความคงทน ไม่เปลี่ยนแปลง เหมือนต้นแปะก๊วยที่คงทนต่อสภาพแวดล้อม คงความเป็นต้นแปะก๊วยมาแต่ยุคโบราณกาลจนปัจจุบัน และมีความหมายในการปกป้องคุ้มครองภัย จากการที่วัดอันศักด์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวญี่ปุ่น มักจะถูกปกป้องจากอัคคีภัยหรือแผ่นดินไหวโดยต้นแปะก๊วย

* ส่วนในจีนแปะก๊วยยังใช้แทนตัวขงจื๊อ ผู้เป็นปราชญ์ใต้ต้นแปะก๊วย

โกฐเชียง


โกฐเชียง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Livisticum officnale Koch.
ชื่อสามัญ : กุยบ๊วย (จีน) Lovage ตังกุย (จีน)
ชื่อวงศ์ : UMBELLIFERAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
โกฐเชียงเป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 0.4-1 เมตร รากแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนราก รากเป็นไม้พวกโสมสีน้ำตาลเหลือง รากฝอย รากทั้งหมดยาวประมาณ 2-4 ซม. เปลือกนอกเป็นสีน้ำตาลส้ม สารสำคัญคือ น้ำมันหอมระเหย กรดวาเรอริก แอนเจนลิซิน วิตามันบี 12 วิตามินเอ ฯล

สรรพคุณ
ราก รสหวานสุขุม บำรุงหัวใจให้แข็งแรง ป้องกันตับ และต้านเชื้อแบคทีเรียชนิดต่างๆ นอกจากนี้ยังพบว่า สมุนไพรชนิดนี้สามารถรักษาโรคเบาหวาน โรคหัวใจโรคอัลไซเมอร์ โรคจิต อาการซึมเศร้า เบื่ออาหาร โรคไมเกรน โรคไตและอื่นๆ