วันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553

น้ำมันรำข้าว

น้ำมันรำข้าว คือ น้ำมันพืชที่ผลิตจาก น้ำมันรำข้าวดิบsexy ซึ่งสกัดจากรำข้าว มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินอี ในกลุ่มโทโคฟีรอลประมาณ 19-40% และกลุ่มโทโคไตรอีนอล 51-81% และโอรีซานอล (Oryzanol) ซึ่งสามารถต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่าวิตามินอีถึง 6 เท่า มีกรดไขมันอิ่มตัว 18% กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (Monounsaturated Fatty Acid : MUFA) 45% กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (Polyunsaturated Fatty Acid : PUFA) 37% น้ำมันรำข้าวเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL-C)

เป็นน้ำมันที่ได้จากกระบวนการพิเศษในการสกัดเอาสารสำคัญที่มี

ประโยชน์นานาชนิด ซึ่งมีอยู่ในเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว (Seed Membrane Layer) และจมูกข้าว (Rice Germ) จึงอุดมด้วยสารสำคัญทางธรรมชาติ และมีคุณค่าสูงต่อร่างกายหลายชนิด เช่น

• กลุ่มสารฟอสโฟไลฟิด (Phospholipids) เช่น เลซิติน (Lecithin) เซฟฟาลิน (Cephalin) ไลโซเลซิติน (Lysolecithin) ซึ่งมีความสำคัญในการนำไปสร้าง และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของเซลล์ประสาทสมอง และช่วยป้องกันเซลล์ประสาท จากสารที่เป็นพิษและอนุมูลอิสระต่างๆ ช่วยลดความเครียด และช่วยเสริมสร้างในด้านความจำ

• กลุ่มเซราไมด์ (Ceramide) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของชั้นใต้ผิวหนัง ช่วยทำให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่น การเสริมสร้างเซราไมด์ให้เพียงพอ ทั้งโดยการรับประทานหรือการให้ทางผิวหนังในรูปการทาครีม หรือโลชัน จะช่วยรักษาผิวพรรณให้สดใสเปล่งปลั่ง ปราศจากริ้วรอยย่นก่อนเวลาอันควร นอกจากนี้เซราไมด์ยังมีคุณสมบัติเป็นไวท์เทนเนอร์ (Whitener) ซึ่งสามารถยับยั้งการสังเคราะห์เมลานิน อันเป็นสาเหตุให้เกิดฝ้า กระ จุดด่างดำบนผิวพรรณได้ดี และยังเป็นมอยเจอไรเซอร์ (Moisturizer) ให้ความชุ่มชื่นแก่ผิวอีกด้วย

• กลุ่มคอลโทคอล (Tocols) วิตามินอีธรรมชาติ ในรูปของโทโคเฟอรอล(Tocopherol) และโทโคไทรอีนอล (Tocotrienol) มีประโยชน์ต่อร่างกายในการสร้าง และซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ ของร่างกายและยังช่วยทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อโรคต่างๆช่วยต้านอนุมูล อิสระ ซึ่งเป็นเหตุสำคัญของการเกิดโรคมะเร็ง

• กลุ่มกรดไขมันไลโนเลอิค (Linoleic Acid) หรือโอเมก้า 6 และกรด ไลโนเลอิค (Linoleic Acid) หรือโอเมก้า 3 ที่เป็นกรดไขมันจำเป็น โดยมีอยู่ประมาณ 33%

• กลุ่มวิตามิน B - Complex ซึ่งช่วยให้การทำงานของระบบประสาทดีขึ้น

• กลุ่มแกมมา - ออไรซานอล มีฤทธิ์ในการลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ทำให้ลดการตีบตันของหลอดเลือด เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต และยังมีฤทธิ์ในการลดความเครียด และรักษาอาการผิดปกติของสตรีวัยทอง นอกจากนี้ยังเป็นสารอนุมูลอิสระ และยังป้องกันแสงยูวีได้ เมื่อใช้กินหรือใช้ทา ทำให้ผิวหนังชุ่มชื่นและต้านการอักเสบ สารชนิดนี้มีความปลอดภัยสูงมาก

เอกสารอ้างอิง

1. Juliano BO.ed. Rice : chemistry and technology, 2nd ed. Minnesota : American Association of Cerial Chemists. Inc., 1985, p.18

2. Sugano M.Tsu ji E. Rice bran oil and human heath, Biomed Environ Sci 1996: 9(2-3): 242-6.

3. Raghuram TC. Rukmini C. Nutritional significance of rice bran oil. Indian j Med Res 1995: 102: 241-4

4. Lichenstein AH et al. Rice bran oil consumption and plasma lipid levels in moderately hypercholesterolemic humans. Arterioscler Thromb 1994: 14(4): 549-56

5. Sugano M. Koba K. Tsuji E. Heath benefits of rice bran oil. Anticancer Res 1999: 19(5A): 3651-7.

6. Taniguchi H, Nomura E, Tsuno T, Minami S. 1999 Ferulic acid ester antioxidant/UV adsorbent. U.S. Pat. 5, 908, 615 Jun. 1.

7. Liu Y. 1987, Pharmaceutical composition for increasing immunity and decreasing side effects of anticancer chemotherapy. U.S. Pat. 4, 687, 761, Aug. 18.

8. Cherukuri RSV, Cheruvanky R. Lynch I. McPeak DL. 1999. Process for obtaining micronutrient enriched rice bran oil U.S. Pat, 5. 985, 344, Nov. 16.

9. Schmidt MA. Smart fats. Berkeley; Frog, Ltd., 1997, p.57

10. Hudson T, Womens’s encyclopedia of natural medicine. Los Angeles: Keals Publishing, 1999, p.112

11. Liebeman S. The real vitamin & mineral. 2nd ed. Honesdale: Paragon Press, 1997, p.76

12. Lane RH. Quershi AA. Saiser AS. 1997 Tocotrienols and tocotrienol-like compounds and methods for their use. U.S. Pat. 5. 591, 772 Jan. 7.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น