วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553

คอลลาเจน

คอลลาเจนคืออะไร??

คอลลาเจนคือโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักๆของชั้นผิวหนัง ทำหน้าที่เป็นตัวประสานเนื้อเยื่อของผิวหนังเข้าด้วยกัน โดยโปรตีนชนิดนี้มีส่วนประกอบถึง 25% ถึง 35% ของจำนวนหน่วยโปรตีนทั้งหมดในร่างกาย โดยมีมากที่สุดที่ผิวหนัง และ ประมาณ 1% ถึง 2% ที่ปะปนอยู่ในเซลล์กล้ามเนื้อ การผลิตเจลลาตินในอาหารได้จากกรรมวิธี การย่อยหน่วยคอลลาเจนที่เรียกว่า Hydrolysis


หน้าที่ของคอลลาเจน

คอลลาเจนคือโปรตีนชนิดหนึ่งที่เป็นสายยาว ซึ่งทำหน้าที่แตกต่างจากสารโปรตีนโดยทั่วๆไปเช่นเเดียวกับเอนไซม์ สายเส้นใยของคอลลาเจนถูกเรียกว่า คอลลาเจน ไฟเบอร์ (Collagen Fiber) ซึ่งจะมีลักษณะเป็นสายเกลียวที่มีหน่วยโมเลกุลเกี่ยวพันกันมากมาย โดยปกติทั่วไปผิวหนังที่มีคอลลาเจนเป็นโครงสร้างอยู่มากจึงมีแรงสปริงตัวและ ยืดหยุ่นได้ดีตามไปด้วย คอลลาเจนนั้นไม่ได้มีอยู่ที่ผิวหนังส่วนนอกเท่านั้น อวัยวะภายในร่างกายเองก็ คอลลาเจนเป็นส่วนประกอบอยู่มาก ได้แก่ ผังผืด (Fascia), กระดูกอ่อน(cartilage), เส้นเอ็น(ligaments), ข้อต่อ (tendons),กระดูก (bone) สารคอลลาเจนที่เป็นส่วนประกอบหลักของชั้นผิวมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า เคราติน Keratin

เคราติน Keratin, เคราตินมีหน้าที่สร้างความแข็งแรงและความยืดหยุ่น เมื่อสารเคราตินในชั้นผิวลดลง จึงเกิดริ้วรอยแห่งวัยขึ้นบนชั้นผิว, นอกจากนี้ เคราตินมีหน้าที่สร้างความยืดหยุ่นให้ผนังหลอดเลือด ,มีส่วนช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อใหม่, รวมทั้งยังเป็นส่วนประกอบของเยื่อกระจกตาและเลนส์ตาด้วย

Hydrolyzed Collagen เองยังถูกใช้งานในแง่ของการลดน้ำหนักได้ด้วย เนื่องจากเป็นส่วนประกอบของโปรตีนจึงมีข้อดีในการช่วยเผาผลาญพลังงานลดไขมัน ส่วนเกิน


บทบาทคอลลาเจนในวงการอุตสาหกรรม

เมื่อนำคอลลาเจนมาผ่านกระบวนการ Hydrolyzed สารคอลลาเจนจะแตกตัวออกเป็นสารเชิงซ้อนของคอลลาเจนเปปไทด์แบบ Polyproline II (PPII) หรือลักษณะของเจลาตินที่นำมาเป็นส่วนผสมของอาหารนั่นเอง นอกจากการใช้เป้นอาหารแล้ว คอลลาเจนยังใช้เป็นส่วนประกอบของยา เครื่องสำอางค์ และฟีล์มถ่ายภาพเมื่อพิจารณาในแง่ของอุตสาหกรรมอาหารแล้ว สารคอลลาเจนไม่ได้ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่มีการประชาสัมพันธ์เชิงการค้าว่าผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมคอลลาเจนต่างแสดง คุณสมบัติของสินค้าว่าสามารถยับยั้งการเกิดริ้วรอยแห่งวัยและมีผลดีต่อ สุขภาพ ซึ่งยังไม่มีผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ออกมาสนับสนุนการโฆษณาในลักษณะนี้

คำ ว่าคอลลาเจน (Collagen) มีรากศัท์มาจากภาษากรีกจากคำว่า “Kolla” ที่แปลว่า กาว โดยเมื่อก่อนได้มีการทำกาวโดยการนำหนังและเอ็นม้ามาเคี่ยวจนกลายเป็นกาว ตามหลักฐานที่พบมีการใช้งานกาวลักษณะนี้มากว่า 8000 ปีแล้ว โดยใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตเชือกและตระกร้าสานเพื่อให้มีความแข็งแรง และมีการใช้งานภายในครัวเรือนทั่วไป กาวชนิดนี้เมื่อแห้งแล้วสามารถทำให้อ่อนนิ่มได้อีกโดยการให้ความร้อน เพราะกาวจากสิ่งมีชีวิตเป็น Thermoplastic ชนิดหนึ่งจึงมีการใช้งานได้หลากหลายโดยเฉพาะการผลิกเครื่องดนตรีเช่น ไวโอลีน กีตาร์ แม้กระทั่งเมื่อมนุษย์สามารถผลิตพลาสติกสังเคราะห์ได้แล้ว แต่ก็ยังมีการใช้งานกาวเจลาตินอยู่ทั่วไป


บทบาทคอลลาเจนในวงการแพทย์

คอลลาเจนมีการใช้งานอย่างกว้างขวางในวงการศัลยกรรมความงาม ศัลยกรรมกระดูก การจัดฟัน และวงการศัลยกรรมทั่วไป เป็นส่วนประกอบของผิวหนังสังเคราะห์ที่ใช้ในผู้ป่วยที่สูญเสียผิวหนังเนื่อง จากอุบัติเหตุไฟไหม้ ซึ่งใช้คอลลาเจนสังเคระห์จากผิวหนังของลูกวัว(Bovine), หรือจากหมู (Equine, Porcine) บางครั้งจะใช้ผิวหนังจากผู้บริจาค หรือใส้ซิลิโคนสังเคราะห์แทน

คอลลาเจนได้มีการจำหน่ายในลักษณะของ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นส่วนช่วยเคลื่อนไหว เนื่องจากคอลลาเจนเมื่อรับประทานเข้าไปจะย่อยสลายเป็นโปรตีนและกรดอะมิโนใน ที่สุด จึงช่วยในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอโดนวิธีรับประทานได้น้อยมาก ดังนั้น วงการแพทย์ในปัจจุบันจึงมีการใช้คอลลาเจนในแง่ของศัลยกรรมความงามมากที่สุด

วิธีที่จะเพิ่ม คอลลาเจนนั้น ทำได้หลายวิธี

  1. การฉีดคอลลาเจนโดยตรง จากแพทย์
  2. รับประทานอาหารที่ต่อต้านสารอนุมูลอิสระ ได้แก่ เบต้าแคโรทีน วิตามินซี, วิตามินอี

Co-enzyme Q10

Co-enzyme Q10 หรือ Co-Q 10
Co-Q10 เป็นสารที่มีบทบาทในการเพิ่มพลังงานให้แก่เซลล์ เพื่อใช้เป็นพลังงานในร่างกาย เป็นสารสำคัญใน การสังเคราะห์ Adeno-sinetriphosphate (ATP) ซึ่งเปรียบได้กับขุมพลังงาน ของเซลล์ทั่วร่างกาย Co-enzyme Q10 เป็นตัวต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยปกป้องเซลล์จากการทำร้ายของอนุมูลอิสระช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรค ร้าย ซึ่งมาจากการเสื่อมสภาพของเซลล์ เช่น โรคหัวใจ ข้อเสื่อม อัมพาต หรือ โรคที่เกิดจากความเสื่อมสภาพวัย ตามปกติร่างกายสามารถผลิต Co-Q10 ได้โดยการสกัดและสังเคราะห์ผ่านตับ โดยดูดซึมสารอาหาร ที่ได้ในแต่ละวัน และเก็บสะสม ไว้ในเซลล์ไมโตคอนเดรีย ซึ่งเซลล์นี้มีอยู่มาก ในหัวใจ สมอง และกล้ามเนื้อ แต่เมื่ออายุมากขึ้นการทำงานของร่างกาย ในระบบต่างๆ ก็เสื่อมถอยลง ตับก็ไม่สามารถสังเคราะห์ Co-Q10 ได้ในปริมาณเท่าเดิม สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ริ้วรอย และความเสื่อม ของระบบต่างๆ
เราสามารถพบ Co-Q10 ได้ในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน เครื่องในสัตว์ ไข่ ถั่วเปลือกแข็ง ข้าวกล้อง และงา
ชื่อพ้อง: Coenzyme Q, Coenzyme Q10, CO Q10, Ubidecarenone, Ubiquinone 10
Class: จัดอยู่ในกลุ่ม antioxidant
กลไกการออกฤทธิ์
Coenzyme Q10 เป็น coenzyme ที่จำเป็นของร่างกายมีลักษณะคล้ายเป็นวิตะมิน มีโครงสร้างเหมือนวิตะมิน K โดยจะพบที่ในเยื่อหุ้มของ mitochondria ที่อยู่ที่หัวใจ ตับ ไต และตับอ่อน มีบทบาทสำคัญในการขนส่งอิเล็กตรอนใน mitochondria และการสร้าง adrenosine triphosphate (ATP) Coenzyme Q10 มีคุณสมบัติในการเป็น membrane stabilizing โดยตรงและเป็น antioxidant
ผลต่อหัวใจ มีประโยชน์ในการป้องกันการถูกทำลายของเซลในระหว่างที่เกิดภาวะกล้ามเนื้อ หัวใจขาดเลือดและเพิ่ม reperfusion
ขนาดที่ใช้
ผู้ใหญ่
IV: ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ขนาด 50 – 100 mg ต่อวัน นาน 3-35 วัน เพื่อใช้ในการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวระดับรุนแรง (severe heart failure)
รับประทาน: Coenzyme Q10 โดยทั่วไปจะบรรจุอยู่ใน soft gelatin capsules ซึ่งยาจะละลายอยู่ในน้ำมันถั่วเหลือง (soybean oil)
- การรักษา chronic congestive heart failure ซึ่งได้รับ conventional therapy ร่วมด้วย รับประทานขนาด 50-150 mg ต่อวัน แบ่งให้ 2-3 ครั้งต่อวัน จากการศึกษาใช้ยาต่อเนื่องนานถึง 6 ปี
- การรักษา chronic stable angina รับประทานขนาด 150-600 mg ต่อวัน แบ่งให้ 2-3 ครั้งต่อวัน
- การใช้ยาก่อนการผ่าตัดหัวใจ โดยใช้ยารับประทาน 100 mg ต่อวัน นาน 14 วันก่อนการผ่าตัดและตามด้วยขนาด 100 mg ต่อวัน นาน 30 วันหลังการผ่าตัด
- การรักษา periodontal disease ใช้ขนาด 25 mg รับประทานวันละ 2 ครั้ง ขณะนี้ยังมีข้อมูลจำกัด
- การรักษา Huntington’s disease รับประทานขนาด 800-1200 mg ต่อวัน
- การใช้ป้องกัน migraine รับประทานขนาด 150 mg ต่อวัน โดย Coenzyme Q10 จะไปมีผลลดความถี่ของการปวดศีรษะแต่ไม่มีลดระดับความรุนแรงของการปวดศีรษะ
- การรักษา neurological disease (ที่เกี่ยวข้องกับการขาดการสร้าง mitochondrial ATP) รับประทานขนาด 150 mg หรือมากกว่า ต่อวัน
- การรักษา Parkinson’s disease รับประทานขนาด 800-1200 mg ต่อวัน โดย Coenzyme Q10 อาจไปมีผลทำให้การดำเนินของโรคพาร์กินสันช้าลง ในผู้ป่วยที่เพิ่งพบว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน แต่ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาขนาดใหญ่เพิ่มเติม
เด็ก
ขนาดที่ใช้โดยทั่วไปรับประทาน 2.4 – 3.8 mg/kg/day
การรักษา mitochondrial encephalomyoparthy รับประทาน 30 mg ต่อวัน
ข้อห้าม ใช้
ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แพ้ Coenzyme Q10 หรือส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์
ข้อควรระวัง
- ระวังการใช้ในผู้ป่วยทางเดินน้ำดีอุดตัน
- ระวังการใช้ร่วมกับยาลดไขมันในเลือด (ระดับ Coenzyme Q10 ในเลือดจะมีระดับต่ำในผู้ป่วยที่มีระดับไขมันในเลือดสูง) และ HMG-CoA reductase inhibitors อาจมีผลยับยั้งการสร้างของ Coenzyme Q10 โดยธรรมชาติ เนื่องจาก HMG-CoA reductase ช่วยในการสร้าง Coenzyme Q10
- ระวังการใช้ร่วมกับยาลดระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากยาอาจไปยับยั้งผลของ Coenzyme Q10 ที่ได้รับเข้าไป
- ระวังการใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน เพราะอาจจะทำให้ลดความต้องการ insulin
- ระวังการใช้ในผู้ป่วยที่ตับและไตทำงานผิดปกติ เพราะอาจจะเกิดการสะสมของ Coenzyme Q10 ในเลือด
เภสัชจลนศาสตร์
- onset: สำหรับการรักษา congestive heart failure รับประทานนาน 2 สัปดาห์ถึง 3 เดือนจึงจะเริ่มเห็นผลการตอบสนองการรักษา
- ระดับยาในเลือดที่ให้ผลในการรักษา (Therapeutic drug concentration):
Angina: 2.2 mcg/ml
Congestive heart failure: 2 – 2.5 mcg/ml หรือมากกว่า
ระดับยาปกติในเลือด 0.7 – 1 mcg/ml
- Time to peak: 5 – 10 ชั่วโมง (ในรูปแบบการรับประทาน)
- Bioavailability: ยาจะถูกดูดซึมอย่างช้า เนื่องจากน้ำหนักโมเลกุลมากและการละลายน้ำได้น้อย
- Distribution sites: ตับ หัวใจ ไต และตับอ่อน
- Metabolism: ถูก metabolized ที่ตับแต่ไม่ทราบปริมาณ
- Excretion: ถูกขับออกทางน้ำดี ไม่ทราบปริมาณ ทางอุจจาระ 60%
- Elimination half-life: 34 ชั่วโมง
อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
- ผลต่อผิวหนัง: ผื่นแดงและคัน (< 0.5%)
- ผลต่อระบบทางเดินอาหาร: คลื่นไส้ รู้สึกไม่สบายท้อง ท้องเสีย จุกแน่นท้อง และลดความอยากอาหาร (< 1%)
- ผลต่อระบบเลือด: พบ thrombocytopenia (ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ) 1 รายในผู้ป่วยที่ใช้ยา 16 รายในหนึ่งการศึกษา
- ผลต่อตับ: พบอาจเกิดความเป็นพิษต่อตับ โดยพบมีรายงานการเพิ่มขึ้นของระดับ aminotransferases ในเลือดในระดับต่ำ เมื่อมีการใช้ยาในขนาดสูง มีพบการใช้ในขนาด 300 mg ต่อวัน
- ผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง: ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ พบน้อย
- ผลต่อตา: มีรายงานการเกิด photophobia (อาการกลัวแสง) ในระหว่างการใช้ Coenzyme Q10 ได้แต่พบน้อย
Drug interaction
Coenzyme Q10 - Antithrombin III Human, Heparin, Warfarin: ลดผล anticoagulant effect มีรายงานการทำให้ระดับ INR ลดลงในการใช้ Coenzyme Q10 ในผู้ป่วยที่ใช้ยา warfarin อยู่ เนื่องจาก Coenzyme Q10 และ vitamin K2 มีโครงสร้างเหมือนกัน ดังนั้นจึงควรระมัดระวังการใช้ร่วมกัน
รายการยาที่มีรายงานการเกิดปฏิกิริยาระหว่างกันกับ Coenzyme Q10 ได้แก่
Acenocoumarol, Ancrod, Anisindione, Antithrombin III Human, Bivalirudin, Danaparoid, Defibrotide, Dermatan Sulfate, Desirudin, Dicumarol, Fondaparinux, Heparin, Pentosan, Polysulfate Sodium, Phenindione, Phenprocoumon, Warfarin

หมายเหตุ
- สำหรับการใช้ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงยังมีข้อมูลจำกัด มีผู้ป่วยที่เป็น essential hypertension 26 รายได้รับ Coenzyme Q10 ขนาด 50 mg วันละ 2 ครั้ง หลังจาก 10 สัปดาห์ของการรักษาผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยของ systolic blood pressure ลดลงจาก 164.5 เป็น 146.7 mmHg และค่าเฉลี่ย diastolic blood pressure ลดลงจาก 98.1 เป็น 86.1 mmHg การลดลงของระดับความดันโลหิตเกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญเกี่ยวกับการลด peripheral resistance แต่ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงระดับ rennin ในเลือด, ระดับโซเดียมและโพแทสเซียมในเลือดหรือในปัสสาวะ
- การใช้ Coenzyme Q10 เสริมในผู้ป่วยที่มีระดับไขมันในเลือดสูง ยังมีข้อมูลจำกัด ผลการใช้ Coenzyme Q10 ร่วมกับ HMG-CoA reductase inhibitors ผลพบว่าจะทำให้ระดับ Coenzyme Q10 ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น แต่ไม่มีผลลดระดับไขมันในเลือด
- มีการศึกษาแบบ Open, uncontrolled trial การใช้ใน Male infertility รับประทาน Coenzyme Q10 ขนาด 100 mg วันละ 2 ครั้ง จะช่วยเพิ่มการเคลื่อนที่ของ sperm แต่จะไม่เพิ่มระดับความเข้มข้นของ sperm หรือ morphology in infertile men with idiopathic asthenozoospermia จากการติดตามการใช้นาน 6 เดือน
- การใช้ใน pulmonary fibrosis พบ Coenzyme Q10 ช่วยเพิ่ม pulmonary function แต่ยังมีข้อมูลจำกัด โดยในการศึกษาใช้ Coenzyme Q10 ในผู้ป่วย COPD 21 ราย และ 9 รายในผู้ป่วย Idiopathic pulmonary fibrosis (IPF) ยาขนาด 90 mg ต่อวัน นาน 8 สัปดาห์
- การใช้ใน ventricular arrhythmia ยังมีข้อมูลจำกัด

แคลเซียมคาร์บอเนต

แคลเซียมคาร์บอเนต (อังกฤษ: Calcium carbonate) เป็นสารประกอบมีสูตรเคมีคือ CaCO3 แคลเซียมคาร์บอเนต ไม่ละลายในน้ำ แต่สามารถทำปฏิกิริยากับน้ำและ คาร์บอนไดออกไซด์แล้วกลายเป็นแคลเซียมไบคาร์บอเนต (ซึ่งมีสูตรเคมีคือ Ca (HCO3) 2) แคลเซียมไบคาร์บอเนตละลายในน้ำได้เล็กน้อย

ในธรรมชาติพบในรูปดังนี้:

* อะราโกไนต์ (Aragonite)
* แคลไซต์ (Calcite)
* ปูนขาว (Chalk)
* หินปูน (Limestone)
* หินอ่อน (Marble)
* ทราเวอร์ตีน (Travertine)

เมื่ออยู่ในกระเพาะจะเกิดปฏิกิริยาดังนี้

* CaCO3 + 2HCl →→2CaCl2 + H2O + CO2 (gas)

ยา ลดกรดมีดังนี้:

* อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (Aluminium hydroxide) (Amphojel®, AlternaGEL®)
* แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ (Magnesium hydroxide) (Phillips’® Milk of Magnesia)
* อะลูมิเนียมคาร์บอเนต (Aluminium carbonate) gel (Basajel®)
* แคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium carbonate) (Tums®, Titralac®, Calcium Rich Rolaids®)
* โซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium bicarbonate) (Bicarbonate of soda)
* ไฮโดรทัลไซต์ (Hydrotalcite) (Mg6Al2 (CO3) (OH) 16 · 4 (H2O) ; Talcid®)
* อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์และ แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์(Maalox®, Mylanta®)

อินนูลิน

อินนูลิน (Inulin)

อินนูลิน เป็นสารประเภท ฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ (หมายความว่าน้ำตาลที่นำมาต่อกันเป็นสายโซ่สั้นๆ) ลักษณะโมเลกุลของอินนูลินจะคล้ายๆกับเซลลูโลสครับ แต่ต่าง กันตรงที่

เซลลูโลสจะเป็น กลูโคส-กลูโคส-กลูโคส-กลูโคส-กลูโคส-...-กลูโคส

แต่อินนูลินจะเป็น ฟรุกโตส-ฟรุกโตส-ฟรุกโตส-ฟรุกโตส-...ฟรุกโตส ครับ

อินนูลินมีลักษณะ เฉพาะคือมีรสชาติที่หวาน คล้ายน้ำตาล จึงมักนำมาเป็นส่วนประกอบ ในอาหารประเภทอาหารหวาน ไอศกรีม

และไม่ถูกย่อยในทางเดินอาหารจึง ไม่ให้พลังงานและไม่เพิ่มระดับน้ำตาลนั่นคือข้อได้เปรียบเมื่อใช้ แทนน้ำตาลครับ

แต่อย่างไรก็ตามคุณสมบัติอื่นๆของอินนูลินก็ไม่ได้แตก ต่างจาก "ใยอาหาร" อื่นๆเท่าใดนัก

ใยอาหารมี 2 ประเภทครับ ใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ กับใยอาหารที่ละลายน้ำ

* ใยอาหารที่ไม่ ละลายน้ำเช่นผักใบเขียว ใยอาหารในข้าวซ้อมมือ จะช่วยให้คุณ
อิ่มและช่วยให้การทำงานของลำไส้เป็นปกติ


* ใยอาหารที่ละลายน้ำซึ่งจะช่วยให้การย่อยและการ ดูดซึมแป้งและน้ำตาลช้าลง
ครับ ซึ่งเป็นผลดีต่อระดับน้ำตาลน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เช่น ถั่ว
ต่างๆ ส้ม แอปเปิ้ล


อินนูลินจัดเป็นใยอาหารที่ละลายน้ำครับ

อาหารเสริมลด น้ำหนักที่ใส่อินนูลินเพิ่มเข้าไป ก็เป็นเพียงแค่ เพิ่มรสชาติหวาน โดยที่ไม่เพิ่มแคลอรี่เท่านั้น ในความคิดของผมแล้วอินนูลินเป็นเพียงเครื่องปรุงแต่งรสชาติ และเป็นใยอาหารอีกประเภทหนึ่งเท่านั้น

ผู้ผลิตอาหารเสริมลดน้ำหนัก มักจะโฆษณาว่า อินนูลินที่เป็นส่วนประกอบนั้นช่วยให้อิ่ม ช่วยในระบบขับถ่าย ช่วยดูดซับและขับสารพิษ ทำให้ผิวกระจ่างใส และป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ ซึ่งก็ไม่แปลก เพราะคุณสมบัตินี้ก็คือคุณสมบัติของใยอาหารที่พบในผักและผลไม้ และอินนูลินก็จัดเป็นใยอาหารชนิดหนึ่งเท่านั้นครับ

แทนที่จะรับ ประทานอาหารเสริมที่ใส่อินนูลินเพิ่มเข้าไป ผมคิดว่าเปลี่ยนมาเพิ่มการรับประทานอาหารที่มีใยอาหารจากอาหารที่เรารับประทานอยู่ในชีวิต ประจำวันจะดีกว่าไหมครับ ซึ่งก็ทำให้อิ่ม ช่วยขับสารพิษ ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ได้เช่นกัน

สารสกัดจากถั่วขาว

สารสกัดจากถั่วขาว (Phaseolamin)

ส่วนประกอบของอาหารเสริมที่ ตอนนี้กำลังเป็นที่นิยมมากในขณะนี้คือกลุ่มของการใช้เอนไซม์ ซึ่งสกัดการย่อยแป้งครับ ในกลุ่มนี้ก็มีสารสกัดจากถั่วขาวด้วยเช่นกัน

สารสกัด จากถั่วขาวหรือ ฟาซีโอลามิน ( Phaseolamin ) เป็นสารที่บริษัทอาหารเสริมคาดหวังว่าจะเป็นสารที่ยับยั้ง แอลฟา-อไมเลสครับ ซึ่งสร้างมาจากตับอ่อนและทำหน้าที่เปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลกลูโคส ก่อนที่จะดูดซึม ดังนั้นการยับยั้งเอนไซม์นี้จึงเป็นความคาด หวังว่าน่าจะทำให้ร่างกายดูดซึมแป้งน้อยลงครับ

เป็นความจริงหรือที่การยับยั้งเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยแป้งจะทำให้ เราดูดซึมแป้งและน้ำตาลน้อยลงและทำให้เราผอมลง ?

เคยมี การทดลองในหนูครับ เปรียบเทียบกับระหว่าง หนูที่ไม่ให้สารที่ยับยั้งเอนไซม์ ,หนูที่ให้สารที่ยับยั้ง เอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยแป้งได้มากถึง 50% เปรียบเทียบกับ หนูที่ให้สารที่ยับยั้งเอนไซม์ที่สามารถย่อยแป้งได้ถึง 100%

โดย ให้รับประทานอาหารเหมือนๆกันเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ไม่พบความแตกต่างในเรื่องของน้ำหนักของหนูแต่ละกลุ่ม แต่ว่าหนูทั้ง3 กลุ่มมีการขับถ่ายสังกะสีและทองแดงไม่เท่ากัน โดยหนูที่ได้รับสารที่ยับยั้งเอนไซม์มากก็จะสูญเสียสังกะสีและทอง แดงไปกับอุจจาระไปมากกว่าครับ

แล้วก็ มีอีกการทดลองซึ่งทำในสุนัข 8 ตัว แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้รับประทานสารที่ยับยั้งเอนไซม์ อะไมเลส 1.5 กรัม อีกกลุ่มไม่ให้ครับ เป็นระยะเวลานาน 9สัปดาห์ โดยให้รับประทานอาหารเหมือนๆกัน

แม้ว่าจะมีแป้งหลงเหลือที่ไม่ ได้ถูกย่อยเหลือมาถึงลำไส้เล็กส่วนปลาย และพบว่าแป้งดูดได้น้อย กว่าในกลุ่มที่ให้สารที่ยับยั้งเอนไซม์อะไมเลส พบว่าน้ำหนักของสุนัขไม่แตกต่างกันเลยครับ แต่ช่วยให้ควบคุมระดับน้ำตาลได้เท่านั้น

อีก การทดลองครับ เป็นการทดลองโดยใช้สารสกัดจากถั่วขาว ไม่พบว่าสารสกัดจากถั่วขาวช่วยในเรื่องของการป้องกันการย่อยและการดูดซึมของแป้งใน มนุษย์

การทดลองนี้ทำโดยการให้รับประทานแป้ง 100 กรัม(400 กิโลแคลอรี่) แล้ววัดแคลอรี่ที่หลงเหลือมากับอุจจาระครับ

ถ้า สารสกัดจากถั่วขาวสามารถยับยั้งการย่อยและการดูดซึมของแป้งได้จริง ต้องมีส่วนที่เป็นแป้งติดมากับอุจจาระถูกต้องไหมครับ

แต่ ผลการทดลองนี้สรุปว่า สารสกัดจากถั่วขาว ไม่ช่วยในเรื่องของการป้องกันการย่อย
และการดูดซึมของแป้งครับ เพราะว่าแทบจะไม่เหลือแคลอรี่จากแป้งปนมากับ
อุจจาระเลย

มีการทดลองที่นำคนอ้วน 50 คน เปรียบเทียบระหว่างสารสกัดจากถั่วขาว 1500มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง (สังเกตนะครับว่าใช้ปริมาณที่สูงมาก) กับไม่ได้รับ (ได้เป็นยาหลอก) เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์

พบว่าในกลุ่มที่ได้รับ สารสกัดจากถั่วขาวลดน้ำหนักได้ประมาณ 1.7 กิโลกรัม และกลุ่มที่ ไม่ได้รับลดน้ำหนักได้ประมาณ 0.7 กิโลกรัม ร่วมกับมีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดที่ลดลง

แต่ว่าน่าเสียดายครับ การทดลองนี้กลับไม่มีความสำคัญอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเนื่อง จากกลุ่มตัวอย่างน้อยเกินไป ซึ่งการทดลองนี้ควรมีกลุ่มตัวอย่างสัก 150 คนครับการทดลองนี้จึงมีความสำคัญอย่างมีนัยสำคัญ

การทดลองนี้ครับ เป็นการทดลองนำอาสาสมัครมา 60 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งได้รับสารสกัดจากถั่วขาว 445 มิลลิกรัมก่อนอาหารมื้อที่มีแป้งมาก อีกกลุ่มหนึ่งได้รับยา หลอก (ไม่ได้รับ) แล้วให้รับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง ควบคุมแคลอรี่ให้ได้ประมาณ 2000 กิโลแคลอรี่ต่อวัน ผลปรากฎว่าในกลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากถั่วขาวสามารถลดน้ำหนัก ได้เฉลี่ย 2.9 กิโลกรัม ซึ่งลดน้ำหนักได้มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับไม่ได้รับ 0.3 กิโลกรัม

ให้ระวังครับ การทดลอง 2 ครั้งหลังนี้ใช้อาหารเสริมยี่ห้อ "Phase 2" ซึ่งมีส่วนประกอบ อื่นๆนอกเหนือจากถั่วขาว เช่น แคลเซียมฟอสเฟต 20% เซลลูโลส 10% vitamin B3 7% โครเมียมพิโคลิเนต 0.5 มิลลิกรัม ครับ ดังนั้นผลลัพธ์อาจไม่ใช่จากสารสกัดจากถั่วขาวเพียงอย่างเดียว

และ จุดที่ให้สังเกตอีกข้อครับ คือเรื่องสารสกัดจากถั่วขาว จากการทดลองจะใช้ปริมาณสารสกัดจากถั่วขาวไม่ต่ำกว่า 445 มิลลิกรัมครับ ซึ่งแปลว่าถ้าใช้สารสกัดจากถั่วขาวในปริมาณที่น้อยกว่านี้อาจ ไม่ได้ผล และทำให้คุณเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์

คุณไม่มีทางรู้หรอก ครับว่าอาหารเสริมที่คุณรับประทานอยู่ใช้สารสกัดจากถั่วขาวมากเท่า ไหร่ เพราะบริษัทอาหารเสริมส่วนใหญ่ไม่เคยเขียนปริมาณของส่วนประกอบไว้บนฉลาก คุณอาจได้รับในปริมาณที่ไม่เพียงพอสำหรับการลดน้ำหนักก็ได้ครับ

มีการทดลองหนึ่งทำในสิงหาคม 2007 นำอาสาสมัคร 25 คนที่อ้วน มาแบ่งเป็น 2 กลุ่มกลุ่มหนึ่ง ให้สารสกัดจากถั่วขาว 1000 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง อีกกลุ่มหนึ่งไม่ให้ แล้วให้ควบคุมอาหารและออกกำลังกายพอๆกัน เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ก็พบว่าน้ำหนักลดลงไม่แตกต่างกัน นั่นคือสารสกัดจากถั่วขาวอาจไม่มีประโยชน์ในการที่จะช่วยควบคุม น้ำหนัก

เอาล่ะครับ ถึงตอนนี้ผมสรุปว่าสารสกัดจากถั่วขาวยังมีข้อมูลที่ยังขัดแย้งกันอยู่ มีทั้งข้อมูลที่สนับสนุนและคัดค้านครับ และส่วนใหญ่คัดค้านครับ

คุณว่ามีอะไรแปลกๆไหมครับ คุณรับประทานอาหารประเภทแป้งเข้าไป แล้วก็รับประทานอาหาร เสริมเพื่อยับยั้งมัน

ถ้าคุณต้องเสียเงินเพื่อซื้ออาหารเสริมสำหรับ การยับยั้งการย่อยและดูดซึมแป้งแล้วล่ะก็ ทำไมคุณจึงไม่ลด ปริมาณอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลที่คุณรับประทานลงล่ะครับ หรือ เปลี่ยนข้าวเป็นข้าวซ้อมมือ ใยอาหารจะช่วยชะลอการย่อยและการดูดซึมน้ำตาลให้ช้าลงโดยธรรมชาติอยู่แล้ว น่าจะเป็นหนทางเลือกที่ดีกว่า ประหยัดกว่า และส่งผลต่อสุขภาพได้มากกว่าด้วยครับ

สารสกัดจากกระบองเพชร

ประโยชน์ของสารสกัดจากกระบองเพชร
“คง ไม่มีใครปฏิเสธว่า การมีสุขภาพที่แข็งแรง รูปร่างสมส่วน เป็นลาภอันประเสริฐที่สุด " แต่การได้มาซึ่งรูปร่างที่สมส่วน ช่างเป็นเรื่องยากเย็น เพราะสาเหตุของ “ความอ้วน ”... “คงไม่มีใครปฏิเสธว่า การมีสุขภาพที่แข็งแรง รูปร่างสมส่วน เป็นลาภอันประเสริฐที่สุด " แต่การได้มาซึ่งรูปร่างที่สมส่วน ช่างเป็นเรื่องยากเย็น เพราะสาเหตุของ “ความอ้วน ”...
ความ อ้วนและไขมันส่วนเกิน เกิดจากพฤติกรรมตามใจปากของคนไทยในปัจจุบัน ทำให้เกิดไขมันสะสมพอกพูน ผลร้ายที่ตามมาเหมือนเงาตามตัว ซึ่งความอ้วนส่งผลกระทบต่อทั้งด้านจิตใจและร่างกาย แล้วจะมานั่งกลุ้มใจอยู่ทำไม ได้เวลาทำให้ตัวเองกลับมามีรูปร่างที่ผอม เพรียว ด้วยวิธีที่แสนง่ายกว่านั้น เพียงใช้เวลานิดเดียว ด้วยสารอาหารที่ได้รับการยอมรับจากนักโภชนาการทั่วโลกว่าสามารถช่วยลด น้ำหนักและกระชับรูปร่างอย่างได้ผลด้วย สารสกัดจากกระบองเพชรเข้มข้นผสมไคโตซาน

กระบองเพชรเป็นพืชพื้นเมืองที่มีแหล่งกำเนิดในแถบทะเลทราย และชาวพื้นเมืองประเทศ เม็กซิโกได้ให้ความสำคัญกับกระบองเพชรเป็นย่างมาก สังเกตได้จาก ธงชาติของเม็กซิโกจะมีรูปต้นกระบองเพชรอยู่ด้วย และจากภูมิปัญญาชาวบ้านยังใช้ในการดูแลสุขภาพ และช่วยลดความอยากอาหารควบคุมน้ำหนักมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยประโยชน์นี้นักวิจัยและนักโภชนาการจึงได้พัฒนาคิดค้นด้านสายพันธุ์และทำ การวิจัยคิดค้นมากมายจนพบว่า กระบองเพชรอุดมด้วยคุณค่าสารอาหารมากมาย ที่มีประโยชน์ในการลดน้ำหนัก ,ลดไขมันและโคเลสเตอรอล,ลดระดับน้ำตาลและช่วยต่อต่านอนุมูลอิสระได้ด้วย

กลไกการทำงานของกระบองเพชร
-ช่วยลดการดูดซึมไขมันเข้าสู่ร่างกาย
-ช่วยสลายไขมันเก่า
-ไฟเบอร์คุณภาพสูง
-กรดอะมิโน,บี3,ไฟเบอร์ ช่วยลดโคเลสเตอรอลLDL,ไตรกลีเซอไรด์ ต่อต้านอนุมูลอิสระ
-อุดมด้วยวิตามิน ซี,เอ ลดระดับน้ำตาล
-ควบคุมน้ำตาลในกระแสเลือด
-กรดอะมิโนที่จำเป็นลดการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่เซลล์


1 . ยับยั้งการสร้างไขมัน ลดความอยากอาหาร อิ่มนาน ไม่หิวบ่อย
สารสกัดจากกระบองเพชร ( Cactus Extract)
กระบองเพชรเป็นพืชที่มีต้นกำเนิดแถบทะเลทราย ช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ใช้สร้างไขมัน พร้อมทั้งกระตุ้นให้ร่างกายนำไขมันสะสมมาเผาผลาญได้ดีขึ้น และยังอุดมด้วยเส้นใยคุณภาพสูง ช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด อุ้มน้ำได้ดี จึงช่วยลดความอยากอาหาร ช่วยให้ระบบการขับถ่ายเป็นปกติ ป้องกันโรคริดสีดวง
2 .ดักจับไขมัน ล้างพิษขจัดของเสีย
ไคโตซาน (Chitosan)
สารสกัดจากเปลือกสัตว์ทะเลกุ้งและปูให้สารสกัด ไคโตซาน ซึ่งมีประจุเป็นบวก ช่วย ดักจับไขมัน ที่มีประจุเป็นลบ ในระบบทางเดินอาหารโดยเฉพาะในกระเพาะอาหาร ที่มีสภาพเป็นกรด ป้องกันการดูดซึมของไขมันส่วนเกินจึงมีผลลดและควบคุมน้ำหนักได้ และยังช่วยล้างพิษของลำไส้ และจากการศึกษา การรับประทานไคโตซาน วันละ 1,350 มก.ต่อวัน ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง 80 ราย พบว่า เพียง 4 สัปดาห์ ระดับไขมันและของเสียในเลือดลดลง อย่างมีนัยสำคัญ
3.เร่งการเผาผลาญน้ำตาลลดการสะสมไขมัน
สารสกัดจากผลส้มแขก (Garcinia Cambogia Extract )
สารสกัดจากผลส้มแขกให้สารสกัด ชื่อ Hydroxy citric acid (HCA) จะเข้าไปขัดขวางการทำงานของเอนไซม์ที่เปลี่ยนน้ำตาลไห้เป็นไขมัน ดังนั้น จึงช่วยลดการสะสมของไขมัน และยังช่วยให้อิ่มเร็ว รับประทานอาหารตามได้น้อยอีกด้วย
4.ช่วยให้อิ่มเร็ว ช่วยระบาย ป้องกันริดสีดวง มะเร็งลำไส้ใหญ่ ไซเลียม ฮัชค์ ( Psyllium husks) เส้นใยจากพืชธรรมชาติ มีลักษณะพิเศษพองตัวเหมือนเมือก ทำให้ช่วยดูดซับไขมันที่มาพร้อมอาหาร อุจจาระมีลักษณะลื่น ขับถ่ายสะดวก
สารสกัดจากผลแอปเปิล (Apple Extract)
สารสกัดจากแอปเปิล อุดมด้วยเส้นใยคุณภาพ ช่วยลดความอยากอาหาร ชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด ลดการสะสมไขมันใหม่
เซลลูโลส(Cellulose)
เส้นใยจากพืชธรรมชาติ ช่วยดูดซับไขมัน โคเลสเตอรอลพร้อมขับถ่ายออกจากร่างกาย พร้อมยังช่วยให้อิ่มเร็ว ไม่หิวบ่อย
เอะคาเซียกัม (Acacia gum)
เส้นใยชนิดพิเศษ ช่วยอุ้มน้ำเพิ่มปริมาณกากใยในกระเพาะช่วยทำให้อิ่มเร็ว ช่วยเรื่องระบบการขับถ่าย ป้องกันโรคริดสีดวง มะเร็งลำไส้ใหญ่
5.ซ่อมแซมลำไส้ ต้านอนุมูลอิสระ เร่งการเผาผลาญ
ไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoid)
สารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยซ่อมแซมเซลล์ในระบบทางเดินอาหาร บำรุงผิวให้สวยสดใส ต้านแก่ก่อนวัย วิตามิน ซี วิตามิน บี 6 (Vitamin C , Vitamin B 6) เร่งระบบการเผาผลาญของร่างกาย ต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจน ฟื้นฟูสุขภาพร่างกายและเสริมผิวให้แข็งแรง บำรุงระบบประสาท
สารสกัดจากมะขามป้อม (Emblic Extract)
อุดมด้วยวิตามิน ซี สูง ช่วยเร่งกระบวนการเผาผลาญ ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างโครงสร้างผิวให้แข็งแรง ต่อต้านริ้วรอย และยังมีฤทธิ์ช่วยระบายอ่อนๆ
โอลิโกฟรุกโตส (Oligofrutose)
เส้นใย “พรีไบโอติก ” เป็นอาหารของจุลินทรีย์ในลำไส้ ช่วยเสริมการทำงานของลำไส้ ให้ทำงานปกติ เพื่อการขับถ่ายที่เป็นปกติ

กาแฟ

กาแฟ เป็นเครื่องดื่มที่ทำจากเมล็ดกาแฟคั่วซึ่งได้จากต้นกาแฟ กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับชาและน้ำ กาแฟเป็นสินค้าธรรมชาติที่มีการซื้อขายกันมากเป็นอันดับสองของโลก รองจากปิโตรเลียมเท่านั้น

มนุษย์เริ่มบริโภคกาแฟตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อถูกค้นพบตามที่ราบสูงในเอธิโอเปีย จากนั้นก็แพร่กระจายไปยังอียิปต์และเยเมน แลเมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 กาแฟก็เดินทางไปถึงอาเซอร์ไบจาน เปอร์เซีย ตุรกีและแอฟริกาเหนือ จากโลกมุสลิม กาแฟก็เดินทางไปยังอิตาลี จากนั้นไปยังส่วนที่เหลือของยุโรป อินโดนีเซียและทวีปอเมริกา

กาแฟมีส่วนสำคัญในสังคมหลายแห่งในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ในแอฟริกาและเยเมน กาแฟเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนา ดังนั้นคริสตจักรเอธิโอเปียจึงสั่งห้ามบริโภคกาแฟจนกระทั่งถึงรัชสมัยของ จักรพรรดิมีนีลิคที่ 2 แห่งเอธิโอเปีย กาแฟถูกสั่งห้ามในจักรวรรดิออตโตมาน ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 เนื่องจากเหตุผลทางการเมือง และได้รับความร่วมมือจากกิจกรรมทางการเมืองหัวรุนแรงในทวีปยุโรป

กาแฟเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของโลก ในปี ค.ศ. 2004 กาแฟเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่มีการส่งออกมากเป็นอันดับที่หกของโลก เป็นสินค้าการเกษตรส่งออกที่ทำรายได้เป็นอันดับหนึ่งในจำนวน 12 ประเทศ และในปี ค.ศ. 2005 กาแฟเป็นพืชที่มีการส่งออกนอกประเทศมีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 7 ทั่วโลก

กาแฟได้รับการโต้เถียงอย่างมากในด้านการเพาะปลูกต้นกาแฟและผลกระทบกับ สิ่งแวดล้อม และมีการศึกษาจำนวนมากที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคกาแฟกับข้อ จำกัดทางยาอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่ากาแฟให้คุณหรือให้โทษกันแน่

ประวัติ

ดูบทความหลักที่ ประวัติกาแฟ

เหนือประตูของร้านกาแฟแห่งหนึ่งในเมืองไลป์ซิกมีประติมากรรมรูปชายในชุด พื้นเมืองตุรกีกำลังรับถ้วยกาแฟจากเด็กผู้ชายคนหนึ่ง

เชื่อกันว่ากาแฟถูกค้นพบครั้งแรกโดยเด็กเลี้ยงแพะชาวอาบิสซีเนีย ที่ชื่อว่า คาลดี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 9[2] จากการสังเกตพบว่า แพะดูกระปรี้กระเปร่าขึ้นเมื่อกินเมล็ดกาแฟป่า[13] จากเอธิโอเปีย กาแฟได้แพร่กระจายไปยังอียิปต์และเยเมน[14] และในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 กาแฟได้แพร่ไปทั่วตะวันออกกลางทั้งหมด รวมทั้ง เปอร์เซีย ตุรกีและแอฟริกาเหนือ

ในปี ค.ศ. 1583 เลโอนาร์ด เราวอล์ฟ แพทย์ชาวเยอรมัน ได้บรรยายถึงกาแฟหลังจากท่องเที่ยวในดินแดนตะวันออกใกล้เป็นเวลากว่าสิบปีไว้ว่าดังนี้:[15]
“ เครื่องดื่มที่มีสีดำเหมือน หมึก ใช้รักษาโรคภัยได้หลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เกี่ยวกับท้อง ผู้ดื่มจะดื่มในตอนเช้า มันเป็นการนำน้ำและผลไม้จากไม้พุ่มที่เรียกว่า bunnu ”

ในช่วงก่อนศตวรรษที่ 16 กาแฟถูกปลูกโดยชาวอาหรับเท่านั้น ชาวอาหรับหวงแหนพันธุ์กาแฟมาก แต่ในที่สุดเมล็ดกาแฟก็ออกมาสู่โลกกว้าง เนื่องจากการค้าขายระหว่างเวนิซกับแอฟริกาเหนือ อียิปต์และตะวันออกกลางที่เจริญขึ้น ทำให้อิตาลีได้รับสินค้าใหม่ ๆ เข้ามา ซึ่งรวมไปถึงกาแฟด้วย หลังจากนั้น กาแฟก็ได้แพร่กระจายไปทั่วยุโรป เนื่องจากได้รับการยอมรับว่าเป็นเครื่องดื่มของคริสเตียนโดยสมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 8 ในปี ค.ศ. 1600 แม้ว่าจะมีการร้องเรียนให้ยกเลิก "เครื่องดื่มมุสลิม" ก็ตาม ร้านกาแฟแห่งแรกในทวีปยุโรปเปิดในอิตาลีในปี ค.ศ. 1645[3] ชาวดัตช์เป็นชนชาติแรกที่นำเข้ากาแฟเป็นจำนวนมาก และฝ่าฝืนข้อห้ามของอาหรับเกี่ยวกับการส่งออกพืชและเมล็ดที่ยังไม่ได้คั่ว เมื่อ Pieter van den Broeck ลักลอบนำเข้ากาแฟจากเอเดนไปยังยุโรปในปี ค.ศ. 1616[16] ในภายหลังชาวดัตช์ยังได้นำไปปลูกในเกาะชวาและซีลอน[17] ซึ่งผลผลิตกาแฟจากเกาะชวาสามารถส่งไปยังเนเธอร์แลนด์ได้ในปี ค.ศ. 1711[18] และด้วยความพยายามของบริษัท อินเดียตะวันออกของอังกฤษ ทำให้กาแฟได้รับความนิยมในประเทศอังกฤษเช่นเดียวกัน กาแฟเข้าสู่ประเทศฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1657 และเข้าสู่ประเทศออสเตรียและโปแลนด์ หลังจาก ยุทธการแห่ง เวียนนา เมื่อปี ค.ศ. 1683 หลังจากที่ทหารสามารถยึดเสบียงของทหารออตโตมานเติร์กที่พ่าย แพ้ในการรบครั้งนั้น

หลังจากนั้น กาแฟได้เข้าสู่ทวีปอเมริกาเหนือในช่วงของยุคอาณานิคม แต่ว่าไม่ได้รับความนิยมมากเท่ากับในทวีปยุโรป อย่างไรก็ตาม ในช่วงสงครามปฏิวัติอเมริกัน ปริมาณความต้องการกาแฟได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนพวกพ่อค้ากักตุนสินค้า เอาไว้และปั่นราคาขึ้นอย่างกะทันหัน ซึ่งบางส่วนเป็นผลมาจากการที่พ่อค้าชาวอังกฤษไม่สามารถนำเข้าชาได้ มากนัก[20] หลังจากสงครามปี 1812 ในช่วงที่อังกฤษงดการนำเข้าชาเป็นการชั่วคราว ชาวอเมริกันจึงหันมาดื่มกาแฟแทน และมีปริมาณความต้องการสูงมากในช่วงสงครามกลาง เมืองอเมริกัน ไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาของเทคโนโลยีการต้มเหล้าทำให้กาแฟกลายเป็นสินค้ายอดนิยมในสหรัฐอเมริกาจนถึงปัจจุบัน

ชีววิทยา
ต้นกาแฟเป็นพืชพื้นเมืองเขตร้อนแถบแอฟริกาและเอเชียใต้[22] กาแฟถูกจัดให้อยู่รวมกับพืชมีดอก ของวงศ์ Rubiaceae ถูกจัดเป็นต้นไม้ประเภทไม่ผลัดใบ ต้นกาแฟสามารถสูงได้ถึง 5 เมตรถ้าไม่เล็มออก ใบของต้นกาแฟมีสีเขียวเข้มและเป็นมัน ขนาดโดยเฉลี่ยยาว 10-15 เซนติเมตร และกว้าง 6 เซนติเมตร ดอกของต้นกาแฟมีสีขาว มีกลิ่นหอม และจะบานพร้อมกันทั้งต้น ผลกาแฟมีลักษณะรียาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร[23] ผลกาแฟอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อสุก สีของเมล็ดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และเมื่อนำไปผึ่งให้แห้ง สีของเมล็ดจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มและสีดำในที่สุด ผลกาแฟแต่ละผลจะมีเมล็ดอยู่สองเมล็ด แต่ผลกาแฟประมาณ 5-10% จะมีเมล็ดเพียงเมล็ดเดียว[24] เมล็ดจำพวกนี้จะเรียกว่า พีเบอร์รี่[25] โดยปกติแล้ว ผลกาแฟจะสุกภายในเจ็ดถึงเก้าเดือน

วันเสาร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2553

L-Carnitine

เนื่องจากไปฝึกงานซะ 2 เดือนไม่ได้เข้ามาโพสในเวปนี้เลย ตอนไปฝึกงานเจอเพื่อนที่เล่นเพาะกาย ก็เลยได้นั่งคุยกันเรื่องอาหารที่เพื่อนานบอกได้เลยว่า ทานเยอะมาก แถมบางคนยังใช้สารพวก Anabolic steroid เพื่อเพิ่มขนาดกล้ามเนื้อ แต่ก็มีอยู่ตัวนึงที่น่าสนใจก็เลยหาข้อมูลมาเล่าสู่กันฟัง นั่นคือ "L-Carnitine"
แอล-คาร์นิทีนเป็นรูปที่ออกฤทธิ์ของกรด อะมิโนชนิดคาร์นิทีนซึ่งผลิตจากตับและไต ช่วยลดโอกาสเกิดภาวะหัวใจวาย ช่วยเพิ่มการเคลื่อนที่ของตัวอสุจิ และเพิ่มขบวนการเผาผลาญไขมันในร่างกาย เรามักใช้เพื่อกำจัดไขมันส่วนเกิน ของร่างกายและใช้ร่วมในโปรแกรมการควบคุมน้ำหนัก
เราพบคาร์นิทีนมากใน กล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อลาย ซึ่งจำเป็นต่อขบวนการเผาผลาญไขมัน โดยช่วยพาไขมันเข้าสู่ไมโตคอนเดรียของเซลล์ (Mitochondria ส่วนของเซลล์ที่ผลิตพลังงานให้แก่เซลล์) ผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจจะมีระดับของคาร์นิทีนต่ำ ซึ่งสมควรรับประทานคาร์นิทีนเสริม นอกจากนี้เรายังพบว่าการให้คาร์นิทีนเสริมจะช่วยป้องกันโอกาสเกิด ภาวะหัวใจล้มเหลวได้ นอกจากนี้แอล-คาร์นิทีนยังช่วยสลายไขมันซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของเซลล์ อสุจิ มีการศึกษามากมายที่สนับ- สนุนว่าคาร์นิทีนเพิ่มการผลิตเซลล์อสุจิและเพิ่มการเคลื่อนที่ของเซลล์ด้วย แต่ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่า คาร์นิทีนเพียงตัวเดียวจะช่วยลดภาวะเสื่อมสมรรถภาพในผู้ชายได้
เนื้อแดง และนมสดเป็นแหล่งที่ดีของคาร์นิทีน ร่างกายเราสามารถสังเคราะห์คาร์นิทีนจาก กรดอะมิโนชนิดไลซิน (Lysine พบมากในถั่วฝักและอัลฟัลฟา) และกรดอะมิโนชนิดเมไธโอนีน (Methionine พบมากในธัญพืชและผักใบเขียว) ได้เช่นกัน ผู้ที่มีปัญหาของกล้ามเนื้อหัวใจอาจรับประทานคาร์นิทีน วันละ 2-6 กรัม โดยแบ่งรับประทานวันละ 2 หรือ 3 ครั้ง ในผู้ที่เริ่มเสื่อมสมรรถภาพควรรับประทาน วันละ 2 กรัม ติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือน (เซลล์อสุจิใช้เวลา 74 วันจึงจะโตเต็มที่)

L-Glutathione

L-Glutathione เป็น Amino Acid ที่ร่างกายสามารถสร้างขึ้นได้เองในร่างกาย แต่มีปริมาณน้อยอาจไม่เพียงพอในการนำไปสร้างเป็น Enzyme Glutathione Peroxidase ซึ่งเป็นสาร Antioxidants ป้องกันการเกิดของ Free Radicals และป้องกันการเสื่อมของเซลล์ต่างๆในร่างกายโดยเฉพาะเซลล์ตับ นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการขับล้างสารพิษในกระแสเลือดให้กลายเป็นสารที่ ไม่อันตรายและขับออกจากร่างกายทางตับ (Detoxifocation)อย่างไรก็ตามเราสามารถเพิ่มระดับของกลูต้าไทโอน ในร่างกายได้ง่ายๆ โดยการรับประทาน L-Glutathione เข้าไปโดยตรง หรือ รับประทานสารอาหารที่ร่างกายนำไปใช้ในการสร้าง กลูต้าไทโอน เช่น Alpha Lipoic Acid และ N-Acetylcysteine ให้มากขึ้น หรือ การรับประทาน antioxidants อื่น เช่น Vitamin C เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเก็บ กลูต้าไทโอน ที่ตับให้มากขึ้น

หน้าที่ หลักของสารตัวนี่ที่เด่นมีอยู่ 3 ประการ คือ

Detoxification : กลูตาไทโอนช่วยสร้างเอ็นไซม์ชนิดต่าง ๆ ในร่างกาย ที่ช่วยในการกำจัดพิษออกจากร่างกายโดยไปเปลี่ยนสารพิษชนิดไม่ละลายในน้ำ (ละลายในน้ำมัน) เช่น พวกโลหะหนัก สารระเหย ยาฆ่าแมลง แม้แต่ยาบางชนิด ให้เป็นสารที่ละลายน้ำได้ดีขึ้นและง่ายต่อการกำจัดออกจากร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันตับ1 จากการถูกทำลายโดย แอลกอฮอล์ (สุรา) สารพิษจากบุหรี่ ยาพาราเซตามอลเกินขนาด นอกจากนี้กลูตาไทโอน ช่วยควบคุมการสังเคราะห์เม็ดสีเมลานิน เมื่อร่างกายได้รับ Tyrosinase ในปริมาณที่เหมาะสมจะควบคุมการสังเคราะห์เม็ดสีเมลานิน ส่งผลให้เม็ดสีมีอ่อนลง
Antioxidant : กลูตาไทโอนมีคุณสมบัติเป็นสารต้านปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่น (Antioxidant) ที่มีความสำคัญตัวหนึ่งในร่างกาย และหากขาดไป วิตามินซีและอี อาจจะทำงานได้ไม่เต็มที่
Immune Enhancer : ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้ม กันในร่างกาย2 โดยกระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์หลายชนิดเพื่อให้ร่างกายต่อต้านสิ่งแปลกปลอม รวมถึงเชื้อแบคทีเรียและไวรัส นอกจากนี้กลูตาไทโอน ยังช่วยสร้างและซ่อมแซม DNA สร้างโปรตีน

แหล่งที่พบ : พบสารชนิดนี้ได้ในพืชผัก ชนิดต่างๆ ผลไม้ทั่วไปและเนื้อสัตว์ แต่จะพบมากใน Asparagus อะโวกาโด และ Walnut ร่างกายเราก็สามารถสร้างกลูตาไทโอนได้และมีสารหลายชนิดที่ช่วยเพิ่มการสร้าง ได้แก่ Alpha lipoic acid, Glutamine3, Methionine, Whey Protein, Vitamin B-6, Vitamin B-2 , Vitamin C4 และ Selenium

ภาวะ การขาด :
โดยปกติแล้วร่างกายเราจะไม่ขาดกลูตาไทโอน นอกเสียจากจะเป็นโรคบางชนิดที่ทำให้เกิดความต้องการสารตัวนี้มากขึ้น หรือโรคที่ต้านการสร้าง Glutathione5 โรคหรืออาการบางชนิดที่เกี่ยวข้องกับการขาด สารนี้หรือต้องการสารนี้ในปริมาณเพิ่มขึ้น ได้แก่ โรคตับ เบาหวาน โรคความดัน6 ต้อหิน มะเร็ง7 เอดส์ ฯลฯ ในผู้ที่สูบบุหรี่จัดจะพบว่ามีระดับกลูตาไทโอน ในเลือดต่ำ เนื่องจากอัตราในการใช้กลูตาไทโอน เพิ่มขึ้น

ถึงทุกวันนี้ยังไม่พบผลข้าง เคียงหรือปฏิกิริยาระหว่างยาของกลูตาไทโอนชนิดรับประทานและไม่มีผลต่อการ เพิ่มน้ำหนัก แต่หากปริมาณกลุต้าในกระแสเลือดลดลง รวมทั้ง ไม่ป้องกันแสงแดดสีผิวก็จะกลับมาเหมือนเดิม

- ทราบหรือไม่กลูต้าไธโอนยังมีส่วนช่วยในการแก้อาการเมาค้างได้อีกด้วย


โปรดระวัง!!!!

ของปลอมอ้างว่าเป็น กลูต้าไธโอน แต่จริง ๆ แล้วเป็น Transminที่ใช้ในการห้าม เลือด ยานี้ทานแล้วผิวขาว แต่อาจมีอันตราย เพราะใช้ในการห้ามเลือด วิธีทดสอบ ลองแกะชิมดูก็ได้ กลูต้าจะมี รสเปรี้ยว ๆ เพราะอยู่ในรูปกรดอะมิโนแอซิคค่ะ

แล็กโทส

แล็กโทส (Lactose) หรือ milk sugar C12H22O11 คือ glucose + galacotse เป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่ที่เกิดจาการรวมตัวของกลูโคส กับกาแลกโตส อย่างละ 1 โมเลกุล ไม่พบในพืช พบในน้ำนมของสัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนมทุกชนิด เราจึงรู้จักในชื่อ น้ำตาลนม และพบในปัสสาวะหญิงมีครรภ์

ผลึกมีลักษณะเป็นผงละเอียดคล้ายทราย ละลายน้ำได้ไม่ดี มีความหวานน้อยมากเมื่อเทียบกับซูโครส เมื่อแตกตัวจะได้กลูโคสและกาแล็กโทสอย่างละ 1 โมเลกุล

น้ำตาลแลกโทสนี้แตกต่างกับ น้ำตาลสองชั้นตัวอื่น คือ จะมีความหวานน้อยกว่า ละลายน้ำได้น้อยกว่า ย่อยได้ช้ากว่าและบูด (ferment) ได้ยากกว่า ซูโครส และมอลโทส

C12H12O11 + H2O ----> C6H12O6+ C6H12O6
แล็กโตส + น้ำ ----> กลูโคส + กาแล็กโตส

น้ำมัน ยูคาลิปตัส

น้ำมัน ยูคาลิปตัส

ต้นยูคาลิปตัสมีในประเทศออสเตรเลีย ชาวออสเตรเลียนำมาใช้แก้อักเสบ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สามารถป้องกันไข้หวัด ไซนัส ช่วยขับเสมหะได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถควบคุมอารมณ์ให้มีจิตใจมั่นคงแน่วแน่ ขจัดความเหงาหงอยเศร้าซึม ป้องกันระงับโรคหอบหืด โรคเกี่ยวกับหลอดลม โรคหวัด และลดอาการเป็นไข้

ในการรักษาผิวพรรณ ยูคาลิปตัส สามารถแก้ปัญหาสิวและสิวเสี้ยน ช่วยขจัดยุงกับแมลงร้ายต่างๆ

สรรพคุณทั่วไป : ช่วยขจัดและยังยั้งแบคทีเรีย ตัวไร ควันบุหรี่ และกลิ่นไม่พึงปรารถนา สร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย และเสริมคุณภาพของอากาศให้บริสุทธิ์

บรรเทาอาการ : ช่วยผ่อนคลายความเครียด ทำให้รู้สึกสดชื่นทั้งร่างกายและจิตใจ สมองปลอดโปร่ง มีสมาธิ

สรรพคุณเฉพาะ : ช่วยสร้างภูมิต้านทานโรค ป้องกันโรคหอบหืด โรคเกี่ยวกับหลอดลม ลดอาการเป็นไข้ ช่วยขับเสมหะ ทำให้หายใจโล่งสบาย แก้ปัญหาสิว ช่วยไล่ยุงและแมลงต่างๆ

ยูเจนอล

ยูเจนอล (อังกฤษ:Eugenol)(C10H12O2), ทางโครงสร้างเคมีเป็นส่วนโซ่อัลลิล ของกัวอะคอล (guaiacol) หรือ 2-เมตทอกซิ-4-(2-โพรพินิล)ฟีนอล เป็นของเหลวคล้ายน้ำมันสีเหลืองอ่อน สกัดได้จาก เอสเซนเชียล ออยล์ (essential oil)s โดยเฉพาะจาก น้ำมันก้านพลู (clove) และซินนามอน(cinnamon) ละลายได้เล็กน้อยในน้ำ ละลายได้ดีในตัวทำละลาย อินทรีย์ มีกลิ่นคล้ายก้านพลู มีประโยชน์ดังนี้

* ใช้ทำน้ำหอม,
* ใช้แต่งกลิ่น
* ในทางการแพทย์ ยาฆ่าเชื้อ และ ระงับความรู้สึก เฉพาะที่
* ใช้ผลิต ไอโซยูเจนอล (isoeugenol) เพื่อนำไปใช้ผลิต วานิลลิน (vanillin)
* เมื่อผสมกับสังกะสี ออกไซด์ (zinc oxide) ยูเจนอลจะได้ซีเมนต์ที่ใช้ในงานทันตกรรม
* ใช้ผลิต สเตบิไลเซอร์(stabilizers) และ แอนตี้ออกซิแดนต์ (antioxidant)ในงานผลิต พลาสติก และ ยาง

ไพรอกซิแคม

ไพรอกซิแคม (Piroxicam ใน USA มีชื่อทางการว่า Feldene) ป็นยาประเภท เอ็นเซด (nonsteroidal anti-inflammatory drug-NSAID) ใช้บรรเทาอาการ ข้ออักเสบ อาการปวดระดู ตัวร้อน และเป็น ยาบรรเทาปวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มีการ อักเสบ มันถูกใช้เป็น ยาสัตว์ รักษา เนื้องอก เช่นเนื้องอกที่ กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ใหญ่ และ มะเร็ง ต่อมลูกหมาก

วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2553

เมนทอล

เมนทอล
สารอะไรหนอในยาหม่อง แชมพู แป้งเย็น ยาสีฟัน หรือแม้แต่ลูกอม หมากฝรั่ง ที่ให้ความเย็นซาบซ่าแก่เรา

สารที่ว่าคือ เมนทอล ผลิตจากน้ำมันมินต์ที่สกัดได้จากพืช เช่น สะระแหน่
การให้ความเย็นของ มันเริ่มจากเมนทอลจะเข้าไปจับกับเซลล์ประสาทตัวหนึ่งของเราทำให้เรารู้สึก ว่าเย็น เพราะที่ปลายประสาทจะขยาย มีการดึงแคลเซียมเข้ามา เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับประจุไฟฟ้าในระดับเซลล์ ก่อนส่งกระแสไปยังประสาท

ระดับความเย็นที่เรารู้สึกนั้นจะอยู่ในช่วง 8-28 องศาเซลเซียส

ลักษณะ การออกฤทธิ์ของเมนทอล ไม่ต่างจากสารให้ความเผ็ดที่มีอยู่ในพริกที่ชื่อ แค็ปไซซิน คือกินเข้าไปทำให้เรารู้สึกเผ็ด แสบปากแสบลิ้น และ ถ้าเอาพริกขี้หนูมาถูที่ผิวหนังก็เกิดอาการระคายเคืองแสบร้อนเช่นเดียวกัน

ปัจจุบัน ความต้องการใช้เมนทอลในโลกมีถึงราว 3,000 ตันต่อปี โดยบราซิลเป็นประเทศที่ผลิตและค้าน้ำมันมินต์และเมนทอลรายใหญ่ที่สุดในโลก ตามด้วยญี่ปุ่นและไต้หวัน สำหรับผู้ใช้เมนทอลรายใหญ่ของโลก คือสหรัฐอเมริกา นำเมนทอลเข้าประเทศปีละกว่า 1,200 ตัน

การบูร


การบูร
ชื่อท้องถิ่น: อบเชยจีน
ถิ่นกำเนิด: จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน
ลักษณะวิสัย: ไม้ต้น

ลักษณะ: ไม้ต้นขนาดกลางสูงประมาณ 10 - 15 เมตร อาจสูงได้ถึง 30 เมตร ลำต้นและกิ่งเรียบ ทุกส่วนมีกลิ่นหอม โดยเฉพาะที่รากและโคนต้น มีกลิ่นหอมมากกว่าส่วนอื่นๆ ตาใบมีเกล็ดซ้อนเหลื่อมหุ้มอยู่ เกล็ดชั้นนอก เล็กกว่าเกล็ดชั้นในตามลำดับ ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปไข่ หรือรูปรี กว้าง 2-7 ซ.ม. ยาว 5-11 ซ.ม.ปลายเรียวแหลม โคนสอบ ขอบเรียวแผ่นใบค่อนข้างเหนียว ด้านบนเป็นมัน ด้านล่างมีนวล เส้นแขนงใบ ข้างละ 2-3 เส้น คู่ล่างเห็นได้ชัดกว่าคู่บน และออกใกล้โคนใบ มีต่อม 2 ต่อม ที่ง่ามใบคู่ล่าง ก้านใบยาว 1.5-2.5 ซ.ม. ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามง่ามใบ ยาวประมาณ 7 ซ.ม. ใบประดับเรียวยาว ร่วงง่าย มีขนอ่อนนุ่ม ดอกเล็ก สีเหลืองอ่อน ก้านดอกสั้นมากยาวประมาณ 1 ม.ม. กลีบรวม 6 กลีบ รูปรี ปลายมน ยาวประมาณ 2 ม.ม.โคนติดกันเป็นหลอดสั้น ๆ ด้านในมีขนอ่อนนุ่ม เกสรเพศผู้ 9 อัน เรียงเป็น 3 วง วงนอกและวงกลางแยกออกจากกัน มีขนอ่อนนุ่ม ผล ค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.7-1.2 ซม. สีเขียวเข้ม เปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อแก่ มี 1 เมล็ด

ประโยชน์: เมื่อนำส่วนต่าง ๆ ของการบูรมากลั่นจะได้น้ำมันหอมระเหย สำหรับ camphor ใช้เป็นยาระงับเชื้ออย่างอ่อน ยากระตุ้นหัวใจ ขับลม ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ แก้ปวด ทำยาทาถูนวด แก้ปวดตามข้อ
การขยายพันธุ์: ตอนกิ่ง

อะไซโคลเวียร์

อะไซโคลเวียร์
อะไซโคลเวียร์ (อังกฤษ:Aciclovir ตามแบบ INN หรือ acyclovir ตามแบบ USAN) เป็นยาต้านไวรัสที่มีชื่อทางการค้าว่า โซวิแรกซ์® (Zovirax®) มีพิษต่อเซลล์น้อย (cytotoxicity)ขอบเขตการต้านไวรัสที่แคบคือมีประสิทธิภาพในการต้านไวรัสดัง นี้

1. HSV-1 (Herpes simplex virus)
2. HSV-2 (Herpes simplex virus)
3. VZV (Varicella-zoster virus)
4. EBV (Epstein-Barr virus)
5. CMV (cytomegalovirus)

อะไซโคลเวียร์แตกต่างจากกลุ่ม นิวคลิโอไซด์ อนาลอกส์ (nucleoside analogues)ตัวอื่นๆ ตรงที่โครงสร้างในส่วนนิวคลิโอไซด์ (nucleoside) ที่เป็นวงแหวนน้ำตาลถูกแทนที่ด้วยโครงสร้างแบบโซ่ยาว

กลไก การออกฤทธิ์ (Mode of action)
อะไซโคลเวียร์จะถูกเปลี่ยนไปอยู่ในรูป โมโนฟอสเฟตโดยเอ็นไซม์ของไวรัสชื่อไทมิดีน ไคเนส (thymidine kinase)ซึ่ง ประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม 3000 เท่า แล้วโมโนฟอสเฟต จะถูกฟอสฟอไรเลตต่อไปเป็นแอคตีพฟอร์ม ไตรฟอสเฟต อะไซโคล-จีทีพี(aciclo-GTP) โดยเอ็นไซมืในเซลล์ชื่อไคเนส (kinase) อะไซโคล -จีทีพีจะมีประสิทธิภาพยับยั้ง ไวรัสเอ็นไซม์ ดีเอ็นเอ พอลิเมอเรส (DNA polymerase) ถึง 100 เท่า

แอลกอฮอล์

แอลกอฮอล์
ในทางเคมี แอลกอฮอล์ (อังกฤษ: alcohol) คือสารประกอบอินทรีย์ ที่มีหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) ต่อกับอะตอมคาร์บอนของหมู่แอลคิลหรือหมู่ที่แทนแอล คิล สูตรทั่วไปของแอลกอฮอล์แบบอะลิฟาติกไฮโดร คาร์บอน (สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เป็นสายตรง) คือ CnH2n+1OH

โดยทั่วไป แอลกอฮอล์ มักจะอ้างถึงเอทานอลเกือบจะเพียงอย่างเดียว หรือเรียกอีกอย่างว่า grain alcohol ซึ่งเป็นของเหลวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และสามารถระเหยได้ ซึ่งเกิดจากการหมักน้ำตาล นอกจากนี้ยังสามารถใช้อ้างถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นที่มาของคำว่าแอลกอฮอลิซึ่ม (โรคติดแอลกอฮอล์)

เอทานอลเป็นยาเสพติดที่มีฤทธิ์กดประสาท ที่ลดการตอบสนองของระบบประสาทส่วนกลาง แอลกอฮอล์ชนิดอื่น ๆ จะอธิบายด้วยคำวิเศษณ์เพิ่มเติม เช่น isopropyl alcohol (ไอโซโพรพิล แอลกอฮอล์) หรือด้วยคำอุปสรรคว่า -ol เช่น isopropanol (ไอโซโพรพานอล)

ปรอท

ปรอท (อังกฤษ: Mercury; ละติน: Hydragyrum) เป็นโลหะหนักสามารถหาปรอทได้จากหินที่ขุดพบในเหมือง โดยการนำหินนั้นมาทำให้ร้อนด้วยอุณหภูมิ 357 องศาเซลเซียส ปรอทเป็นสารที่มีความหนาแน่นสูง ถึงขั้นที่ก้อนตะกั่วหรือเหล็กสามารถลอยอยู่ได้ ถึงแม้ปรอทจะมีลักษณะคล้ายตะกั่วและเป็นของเหลว แต่ก็มีน้ำหนักมากกว่าตะกั่ว (มวลอะตอม 200.59) และถึงแม้ปรอทจะเป็นโลหะ แต่ก็ไม่ดึงดูดกับแม่เหล็ก เราสามารถนำปรอทมาใช้ในอุตสาหกรรมหลายๆ ประเภท ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องวัดอุณหภูมิและความดัน การย้อมสี การผลิตเยื่อกระดาษ พลาสติก เภสัชภัณฑ์ อุปกรณ์ในการถ่ายรูป อุปกรณ์ไฟฟ้า สารฆ่าแมลงและยาฆ่าเชื้อ. นอกจากนี้ เนื่องจากว่าปรอทมีจุดเดือดไม่สูงนัก จึงได้มีการทดลองนำ เมอคิวริคออกไซด์ มาผลิดเป็นออกซิเจนบริสุทธิ์อีกด้วย

ประโยชน์

ปรอทมักจะใช้ในการผลิตเคมีทางอุตสาหกรรม หรือในการประยุกต์ทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ปรอทใช้ในเทอร์มอมิเตอร์บางชนิด โดยเฉพาะที่ใช้วัดอุณหภูมิสูง (ในสหรัฐฯ บางรัฐและท้องถิ่นห้ามการขายปรอทวัดไข้โดยไม่มีใบสั่งแพทย์) การใช้อื่นๆ นอกจากนี้มีเช่น

* เครื่องวัด ความดันเลือด
* ทีเมอโรซอล (Thimerosal) เป็นสารประกอบอินทรีย์ ที่ใช้เป็นสารกันบูดในวัคซีน และหมึกสำหรับทำรอยสัก (Thimerosal in vaccines)
* บาโรมิเตอร์ปรอท ปั๊มสูญญากาศ (diffusion pump) เครื่องวัด ปริมาณไฟฟ้า, และอุปกรณ์ห้องปฏิบัติการอื่นๆ เนื่องจากเป็นของเหลวที่มีความหนาแน่นสูง ปรอทจึงเหมาะสมที่จะใช้
* จุด triple point ของปรอท คือ -38.8344 °C คือจุดที่ใช้เป็นอุณหภูมิมาตรฐานสำหรับมาตราอุณหภูมินานาชาติ (International Temperature Scale, ITS-90)
* ในหลอดอิเล็กตรอนบาง ชนิด รวมถึงเครื่องปรับกระแสสลับให้เป็นกระแสตรง (mercury arc rectifier)
* ไอปรอทใช้ในหลอดไฟไอปรอท และป้ายโฆษณา "หลอดนีออน" บางชนิด และหลอดไฟฟลูออเรส เซนต์
* ปรอทเหลวในบางครั้งใช้เป็นตัวทำความเย็นสำหรับเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ อย่างไรก็ดี มีการเสนอให้ใช้โซเดียมสำหรับเครื่องปฏิกรณ์ที่ใช้โลหะเหลวในการทำ ความเย็น เนื่องจากปรอทมีความหนาแน่นสูงทำให้ต้องใช้พลังงานในการหมุนเวียนตัวทำความ เย็น
* ปรอทในอดีตเคยใช้ในวิธีการแอมัลกาเมชัน (amalgamation) สำหรับการทำให้แร่ทองคำและเงินบริสุทธิ์ ซึ่งวิธีการที่ทำให้เกิดมลพิษนี้ยังคงใช้โดยนักขุดทอง garimpeiros ของลุ่มแม่น้ำอะเมซอนในบราซิล
* ปรอทยังคงใช้ในบางวัฒนธรรมสำหรับยาพื้นบ้าน และสำหรับวัตถุประสงค์ทางพิธีกรรม ซึ่งอาจรวมถึงการรับประทาน การฉีด หรือการโปรยปรอททั่วบ้าน
* อเล็กซานเดอร์ คัลเดอร์ (Alexander Calder) สร้างน้ำพุปรอท (mercury fountain) สำหรับซุ้มของสเปน (Spanish Pavilion) ที่งาน World's Fair ในปารีสเมื่อ พ.ศ. 2480
* ใช้ในเคมีไฟฟ้าเป็นส่วนของขั้วไฟฟ้าทุติยภูมิอ้าง อิงที่เรียกว่าขั้วไฟฟ้าคา โลเมล (calomel electrode) เป็นทางเลือกใหม่ต่างจากขั้วไฟฟ้าไฮโดรเจนมาตรฐาน (Standard Hydrogen Electrode ใช้เพื่อหาศักย์ขั้วไฟฟ้า (electrode potential) ของครึ่งเซลล์

การใช้อื่นๆ: สวิตช์ปรอท ขั้วไฟฟ้าสำหรับการ การแยกสาร ด้วยกระแสไฟฟ้าบางชนิด ถ่านไฟฟ้า (ถ่านไฟปรอท รวมถึงสำหรับการผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์และคลอรีน และถ่านอัลคาไลน์) , คะตาลิสต์ ยาฆ่าแมลง โลหะอุดฟัน และ กล้องโทรทรรศน์กระจกเหลว (liquid mirror)

การใช้ในอดีต: ป้องกันไม้ ล้างรูปดาแกร์โรไทป์ (daguerreotypes) เคลือบกระจกเงา สีสำหรับป้องกันเรือสกปรก (ยกเลิกเมื่อ พ.ศ. 2533) , ยาฆ่าพืช (ยกเลิกเมื่อ พ.ศ. 2538) การทำความสะอาด และเครื่องปรับระกับในรถยนต์ สารประกอบของปรอทได้เคยใช้ใน ยาฆ่าเชื้อโรค ยาถ่าย ยาแก้ซึม และ ยาแก้โรคซิฟิลิส. นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวหาว่า สายลับพันธมิตรชาติ ตะวันตกใช้ปรอทเพื่อก่อวินาศกรรมเครื่องบินของเยอรมัน โดยทาปรอทไว้บนอะลูมิเนียมเปลือย ทำให้โลหะสึกกร่อนอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความเสียหายทางโครงสร้างอย่างไม่ทราบสาเหตุ

ในการประยุกต์บางอย่าง ปรอทสามารถแทนที่ด้วยโลหะผสมกาลินสแตน (galinstan: แกลเลียม + อินเดียม + ดีบุก) ซึ่งมีพิษน้อยกว่า แต่แพงกว่าพอสมควร

ในวัตถุมงคลโดยเฉพาะกลุ่มเครื่องรางที่เรียกว่า เบี้ยแก้ ได้มีการใช้ปรอทบรรจุลงไปในตัวเบี้ยด้วยเช่นเดียวกัน

เมทานอล

เมทานอล (อังกฤษ: methanol) หรือ เมทิลแอลกอฮอล์ (อังกฤษ: methyl alcohol) มีสูตรโครงสร้างแบบย่อ CH3OH เป็นของเหลวใส ระเหยง่าย เป็นพิษ นิยมใช้เป็นตัวทำละลาย และใช้เป็นเชื้อเพลิง ในธรรมชาติ เมทานอลเป็นผลิตภัณฑ์จากการสลายสารอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจนของแบคทีเรียหลายชนิด ซึ่งเมทานอลจะระเหยออกสู่อากาศภายนอก แล้วสลายตัวได้คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ
หากเราเผาเมทานอลกับอากาศ จะได้คาร์บอนไดออกไซด์กับน้ำ ดังสมการ

2 CH3OH + 3 O2 → 2 CO2 + 4 H2O

ซึ่งเปลวไฟที่ได้จากการเผาเกือบจะมองไม่เห็นเลย ดังนั้นจึงควรระมัดระวังหากมีการใช้เมทานอลเป็นเชื้อเพลิง นอกจากนี้เมทานอลยังใช้ผสมเอทานอล เพื่อมิให้สามารถรับประทานได้ (denatured alcohol) ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในทางภาษีอากร

โซเดียมคลอไรด์

โซเดียมคลอไรด์ (อังกฤษ: Sodium chloride, สูตรเคมี: NaCl) มีชื่อที่เรียกทั่วไปดังนี้ เกลือแกง หรือ ฮา ไลต์ เป็นสารประกอบเคมี โซเดียมคลอไรด์เป็นเกลือที่มีบทบาทต่อความเค็มของมหาสมุทร และของเหลวภายนอก เซลล์ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เป็นส่วนประกอบหลักในเกลือที่กินได้ มันถูกใช้อย่างกว้างขวางในการเป็นเครื่องปรุงรส และใช้ในการถนอมอาหาร

ความ สำคัญทางชีววิทยา
โซเดียมคลอไรด์ มีความสำคัญต่อ สิ่งมีชีวิตบนโลกในเนื้อเยื้อชีวภาพ และของเหลวในร่างกาย จะมีเกลือในปริมาณที่แตกต่างกัน ความเข้มข้นของ โซเดียม ไอออนใน เลือด เป็นความสัมพันธ์โดยตรงต่อการควบคุมระดับที่ปลอดภัยของของเหลวในร่างกาย การแพร่กระจายของ การกระตุ้นประสาท โดยซิกนัล ทรานสดักชัน (signal transduction) ถูกควบคุมโดยโซเดียม ไอออน (โพแทสเซียม เป็น โลหะ ที่มีความสัมพนธ์ใกล้ชิดกับโซเดียม ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักในระบบร่างกายเช่นกัน)

0.9% โซเดียมคลอไรด์ ใน น้ำ ถูกเรียกว่า สารละลายทางสรีรวิทยา (physiological solution) หรือ นอร์มัล ซาไลน์(normal saline) เพราะมันเป็นความเข้มข้นเดียว (isotonic) กับ พลาสมาในเลือด นอร์มัล ซาไลน์ ใช้ในทาง การแพทย์เพื่อทดแทนการสูญเสียของเหลวจากร่างกายและการรักษาแบบนี้ว่า การให้ของเหลวทด แทน (fluid replacement) ซึ่งใช้แพร่หลายทาง การแพทย์ เพื่อป้องกันการ ขาดน้ำ (dehydration) หรือ อินทราวีนัสเทอรา ปี (intravenous therapy) เพื่อป้องกัน การช๊อค จาก ปริมาตรเลือดต่ำ สาเหตุจากการ สูญเสียเลือด

มนุษย์ไม่เหมือนสัตว์ ไพรเมต ด้วยกันที่สามารถกำจัดเกลือจำนวนมากได้ทาง เหงื่อ (sweating)

การ ผลิตและการใช้
Jordanian and Israeli salt evaporation ponds at the south end of the Dead Sea

ปัจจุบันเกลือถูกผลิตโดย การระเหย ของ น้ำทะเล หรือ น้ำเค็ม (brine) จากแหล่งอื่นๆ เช่น บ่อน้ำเค็ม ทะเลสาบน้ำเค็ม(salt lake) และการทำเหมืองเกลือที่เรียกว่า ร็อกซอลต์ (rock salt หรือ ฮาไลต์)

ในขณะที่ผู้คนจำนวนมากคุ้นเคยกับการใช้เกลือ ปรุงอาหาร แต่พวกเขาอาจไม่รู้ว่าเกลือใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย เช่น

* ใช้ในการผลิตกระดาษ
* ใช้ในหมึกพิมพ์ผ้าในอุตสาหกรรมเท็กไท ล์
* ใช้ในอุตสาหกรรมผลิต สบู่และผงซักฟอก
* ใช้ในการละลายน้ำแข็งที่เกาะบนพื้นถนน ใน แคนาดาและสหรัฐอเมริกา ในช่วงฤดูหนาวที่อุณภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งของน้ำ
* ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต คลอรีน พีวีซี และยาฆ่าแมลง

วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553

เลซิทิน

เลซิทิน (อังกฤษ: Lecithin) เป็นไขมันชนิดฟอสโฟไลปิค (Phospholipid) ที่มีความจำเป็นต่อเซลล์ทุกชนิดในร่างกาย เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane) ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมการเข้าออกของสารอาหารจะมีลักษณะแข็งและขาดความ ยืดหยุ่นถ้าไม่มีเลซิติน นอกจากนี้ยังพบว่าเลซิตินเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มสมอง กล้ามเนื้อ และเซลล์ประสาท เลซิตินเองมีคุณสมบัติเป็น emulsifier หรือสารที่ทำให้น้ำกับน้ำมันเข้ากันได้ ดังนั้นจะพบว่าได้มีการนำมาใช้ในการควบคุมโคเลสเตอรอลในเลือดกันอย่างแพร่ หลาย

เลซิตินพบได้มากในถั่วเหลือง แต่แหล่งอาหารที่ให้เลซิตินยังมีอีกมากมาย อาทิ ไข่แดง ตับ ข้าวโอ๊ต กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก เนื้อสัตว์ ปลา บริวเวอร์ยีสต์ และพืชบางชนิด ทั้งนี้อาจจะรวมถึงผลิตภัณฑ์ Multi-Vitamin ที่มีเลซิตินผสมอยู่ด้วย เลซิตินที่วางจำหน่ายในท้องตลาดมีอยู่สองชนิด คือ แกรนูล และแคปซูล ชนิดแกรนูลนิยมรับประทาน โดยผสมกับเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ เช่น นม นมเปรี้ยว น้ำผลไม้ ฯลฯ และยังนิยมให้ผสมหรือโปรยบนอาหารประเภทต่าง ๆ อีกด้วย


สารสำคัญที่พบในเลซิติน ได้แก่ ฟอสฟาติดิลโคลีน (Phosphatidylcholine) เป็น ซึ่งสารนี้จะให้วิตามินบีชนิดหนึ่ง เรียกว่า โคลีน สารโคลีนเป็นสารต้นตอในการสังเคราะห์สารสื่อรประสาท อะเซททิลโคลีน (Acetylcholine) ส่วนประกอบอื่น ๆ ของเลซิติน ได้แก่ ฟอสฟาติดิลอิโนซิ ทอล ฟอสฟาติดิลเอ ททาโนลามีน กรดไลโนเลอิก ฯลฯ

ประโยชน์
1. ช่วยป้องกันและสลายโคเลสเตอรอล หรือไขมันที่อุดตันในหลอดเลือด จึงนิยมในกันมากในผู้ที่มีปัญหาไขมันอุดตันในหลอดเลือด
2. Phosphaticylcholine ซึ่งให้สารโคลีน เป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประเภท อะเซททิลโคลีน จะช่วยให้ความจำและความสามารถในการเรียนรู้ดีขึ้น
3. ช่วยให้การทำงานของตับมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. ลดการอุดตันของถุงน้ำดี (Gall Stones)
5. ให้สารอิโนซิทอล (Inositol) ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยบำรุงเซลล์ประสาท ทำให้การทำงานของระบบประสาทดีขึ้น
6. การใช้เพื่อป้องกัน และรักษาโรคความจำเสื่อม (Alzheimer's disease) ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา

กลูตาเมต

กลูตาเมต หรือ กรดกลูตามิค เป็นกรดอะมิโนชนิดที่พบมากที่สุดในโปรตีนตามธรรมชาติ กรดกลูตามิคจัดเป็นกรดอะมิโน ชนิดที่ไม่จำเป็น ในทางเคมีนั้นกลูตาเมตเป็นไอออนลบของกรดกลูตามิก

โครง สร้าง
โครงสร้างทางเคมีของกรดกลูตามิกมีหมู่คาร์บอกซิลิกสอง หมู่และหมู่อะมิโนหนึ่งหมู่ การที่กรดกลูตามิกมีหมู่คาร์บอกซิลิกมากกว่ากรดอะมิโนทั่วไปจึงทำให้มี คุณสมบัติเป็นกรด โดยในค่าพี่เอชที่เป็นกลาง หมู่ฟังก์ชันเหล่านี้แตกตัวเป็นไอออนทั้งหมดทำให้ประจุสุทธิเป็น -1

หน้าที่
กลูตาเมตเป็นสารที่มีความสำคัญต่อวิถีการสันดาปโดยเฉพาะในปฏิกิริยา ทรานส์อะมิเนชั่น (transamiation)ที่มีการเคลื่อนย้ายหมู่อะมิโนของกรดอะมิโนไปยังกรดแอลฟาคีโตซึ่ง เอนไซม์ที่เร่งปฏิกิริยานี้ คือ เอนไซม์ทรานส์อะมิเนส (transaminase)

ในระบบประสาทกลูตาเมตทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาทที่ออกฤทธิ์แบบกระตุ้น มีบทบาทสำคัญในกระบวนการเรียนรู้และจดจำของสมอง เมื่อเซลล์ประสาทหลั่งกลูตาเมตออกสู่ช่องว่างระหว่างไซแนปส์ (ไซแนปติกเคล็ป) แล้วสารนี้จะไปจับกับตัวรับกลูตาเมต กลูตาเมตที่มากเกินไปซึ่งละลายอยู่นอกเซลล์ประสาทและเซลล์เกลียจะถูกดูดกลับเข้าเซลล์โดยอาศัยกลูตาเมตทราน สปอตเตอร์

แหล่ง อาหารและการดูดซึม
กรดกลูตามิกหรือกลูตาเมตมีอยู่ในอาหารตามธรรมชาติ ทั้งที่อยู่ในรูปของโปรตีนในอาหาร และกลูตามเมตอิสระ (กรดอมิโนตัวเดี่ยวๆ) ซึ่งมีทั้งที่มีอยู่ตามธรรมชาติและจากเครื่องปรุงรสที่เติมลงไปในอาหาร เช่น น้ำปลา ซีอิ้ว และผงชูรส (โมโนโซเดียมกลูตาเมต) กลูตาเมตอิสระในอาหารทำหน้าที่ให้รสชาติที่ชื่อว่า รสอูมามิ หรือ รสอร่อยกลมกล่อม โดยการจับกับ Umami Receptor ที่อยู่บนผิวเซลล์ของต่อมรับรสบนลิ้น กลูตาเมตที่อยู่ในอาหารไม่ว่าจะมาจากแหล่งใด รวมทั้งที่อยู่ในรูปของผงชูรส ประมาณร้อยละ 95 จะถูกสันดาปที่เซลล์ในลำไส้เล็ก

จุนสี

จุนสี (อังกฤษ: Copper (II) sulphate) เป็นสารประกอบของทองแดง กำมะถันและออกซิเจน ที่มีสูตรทางเคมี CuSO4 เกลือจุนสีพบได้หลายรูปแบบตามจำนวนโมเลกุลน้ำที่ประกอบอยู่ในผลึก จุนสีสะตุหรือจุนสีที่ปราศจากน้ำ (anhydrous) เป็นผงสีเทาขาว ขณะที่จุนสีที่พบได้บ่อยมีน้ำ 5 โมเลกุล (pentahydrate) มีสีฟ้าสด สารเคมีนี้ใช้ประโยชน์เป็นสารปราบวัชพืช สารกำจัดสัตว์และแมลงรบกวน สารฆ่าเชื้อรา และยังใช้เป็นตัวทำปฏิกิริยาในทางเคมีวิเคราะห์อื่นๆ อีกทั้งนี้เพราะสีสดเข้มจากไอออนของทองแดงทำให้ง่ายแก่การสังเกตวัดผล

ชา

ชา เป็นผลผลิตทางเกษตรกรรมจากใบ ยอดอ่อน และก้าน ของต้นชา (Camellia sinensis) นำมาผ่านกรรมวิธีแปรรูปหลายหลาย "ชา" ยังหมายรวมถึงเครื่องดื่มกลิ่นหอม ที่ทำจากพืชตากแห้งชนิดต่างๆ นำมาชงหรือต้มกับน้ำร้อน นอกจากนี้ ชา ยังเป็นเครื่องดื่มที่มีการบริโภคมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากน้ำเปล่า

ชา สามารถแยกอย่างง่ายๆ ได้ 6 ประเภท ได้แก่ ชาขาว ชาเหลือง ชาเขียว ชาอูหลง ชาดำ และชาผูเอ่อร์ แต่ที่พบเห็นได้ทั่วไป ได้แก่ ชาขาว ชาเขียว ชาอูหลง และชาดำ ซึ่งชาทุกชนิดสามารถทำได้จากต้นชาต้นเดียวกัน แต่ผ่านกรรมวิธีแตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตาม ชาขาวคุณภาพดี ต้องปลูกโดยวิธีพิเศษ ส่วนชาผูเอ่อร์ ซึ่งเป็นชาที่ได้รับการหมักบ่ม ยังใช้เป็นยาได้ด้วย

คำว่า "ชาสมุนไพร" นั้น หมายถึง น้ำที่ชงจากสมุนไพร ใบไม้ ดอกไม้ หรือผลไม้ ของพืชอื่นๆ ที่ไม่มีส่วนผสมจากต้นชา ส่วนคำว่า "ชาแดง" นั้น หมายถึง น้ำที่ชงจากชาดำ (ใช้เรียกกันในเอเชียตะวันออก เช่น จีน เกาหลี และญี่ปุ่น เป็นต้น) และน้ำที่ชงจากต้นรอยบอส (Rooibos) ของประเทศแอฟริกาใต้

ในประเทศไทย เครื่องดื่มชาที่เป็นที่นิยม ได้แก่ ชาไทย ชานม ชามะนาว ชาไข่มุก และชาเขียว

การ จัดประเภทและการแปรรูป
ชา ถูกจัดประเภทตามกระบวนการแปรรูป หลังจากการเก็บเกี่ยว ใบของต้นชาจะถูกทิ้งให้สลด และ "บ่ม" โดย ทำให้เอนไซม์ในใบชาเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกับออกซิเจนในอากาศ ใบชาจะมีสีเข้มขึ้น คลอโรฟิลล์ในใบชาจะแตกตัว กลายเป็นสารแทนนินที่ให้รสฝาด ต่อจากนั้น ต้องหยุดการทำงานของเอนไซม์ โดยใช้ความร้อน เพื่อให้หยุดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น โดยในชาดำ กระบวนการนี้จะดำเนินคู่กันไปกับการทำให้แห้ง

หากไม่ระมัดระวังในการควบคุมความชื้นและอุณหภูมิระหว่างกระบวนการผลิต ใบชาอาจขึ้นรา เกิดปฏิกิริยาสร้างสารพิษที่อาจเป็นสารก่อมะเร็งขึ้นได้ ทำให้รสชาติเสียไป และอันตรายต่อการบริโภค

ชา สามารถจัดประเภทตามกระบวนการแปรรูปต่างๆ ได้ดังนี้

* ชาขาว: ใบชาที่ถูกทิ้งให้สลด แต่ไม่ได้บ่ม
* ชาเหลือง: ใบชาที่ไม่ได้ถูกทิ้งให้สลด และไม่ได้บ่ม แต่ทิ้งใบชาให้เป็นสีเหลือง
* ชาเขียว: ใบชาที่ไม่ได้ถูกทิ้งให้สลดและไม่ได้บ่ม
* ชาอูหลง: ใบชาที่ทิ้งให้สลด นวด และบ่มเล็กน้อย
* ชาดำ: ใบชาที่ทิ้งให้สลด (อาจมีการนวดอย่างแรง) และผ่านการบ่มเต็มกระบวนการ
* ชาหมัก: ชาเขียวที่ผ่านกระบวนการหมักนานนับปี

วิตามินอี

วิตามินอี เป็นวิตามินที่ช่วยในการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายหลายระบบ และเป็นแอนติออกซิแดนท์ที่ ช่วยให้เซลล์ต่างๆ รอดอันตรายจากท็อกซิน ช่วยชะลอความแก่ได้

ประโยชน์

* เป็นตัวแอนติออกซิแดนท์ คือทำให้เกิดการเผาผลาญโดยมีออกซิเจนเป็นตัวการสำคัญทำให้ร่างกายเผาผลาญได้ดี
* เป็นตัวช่วยไขกระดูกในการสร้างเลือด ช่วยขยายเส้นเลือด ต้านการแข็งตัวของเลือด ลดความสามารถในการจับตัวเป็นลิ่มเลือด และลดอัตราเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดสมองและหัวใจ
* บำรุงตับซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับเลือดมาก
* ช่วยในระบบสืบพันธุ์ เซลล์ประสาท และกล้ามเนื้อให้ทำงานได้ตามปกติ
* ช่วยให้ผิวพรรณสดใส และช่วยสมานแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกให้หายเร็วขึ้น
* ช่วยให้ปอดทำงานดีขึ้นและไม่อ่อนเพลียง่าย

แหล่ง วิตามินอี

วิตามินอีมีมากในน้ำมันจากธัญพืชและถั่วประเภทเปลือกแข็ง การเก็บรักษาให้วิตามินอีควรเก็บให้พ้นจากความร้อนแสงแดด รวมทั้งออกซิเจนในอากาศ การขัดสี การบด จะทำให้ญพืชสูญเสียวิตามินอีไปจำนวนมาก

ร่างกายคนเราต้องการวิตามินอีอยู่ที่วันละ 10-15 IU
แหล่งวิตามินในธรรมชาติ จำนวน ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
น้ำมันเมล็ดฝ้าย น้ำหนัก 100 กรัม 40 IU
น้ำมันดอกคำฝอย น้ำหนัก 100 กรัม 31.5 IU
น้ำมันข้าวโพด น้ำหนัก 100 กรัม 19 IU
น้ำมันถั่วเหลือง น้ำหนัก 100 กรัม 14.4 IU
กะหล่ำปลี น้ำหนัก 100 กรัม 6.4 IU
จมูกข้าวสาลี 1 ช้อนโต๊ะ 11-14 IU
เมล็ดทานตะวัน น้ำหนัก 100 กรัม 25 IU
ถั่วเปลือกแข็งประเภทอัลมอนด์ น้ำหนัก 100 กรัม 13.5 IU
มันเทศ น้ำหนัก 100 กรัม 6 IU
เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ น้ำหนัก 100 กรัม 4.6 IU
อะโวคาโด (เฉพาะเนื้อ) น้ำหนัก 100 กรัม 4.5 IU
ปวยเล้ง น้ำหนัก 100 กรัม 3 IU

อันตราย จากการขาดวิตามินอี

* โรคหัวใจกำเริบ วิตามินอีมีหน้าที่ในการจับสารที่เข้ามาทำลายภูมิคุ้มกันของ ร่างกาย การขาดวิตามินอีทำให้สารเหล่านี้เข้าไปทำปฏิกิริยากับไขมันในเลือดทำให้ เนื้อเยื่อต่างๆ เสื่อมสภาพเร็วยิ่งขึ้น นำไปสู่ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ก่อให้เกิดก้อนเลือดและที่สุดทำให้เกิดโรคหัวใจกำเริบได้
* ระบบประสาทมีปัญหา ในกรณีของคนที่ร่างกายมีปัญหาในการดูดซึมไขมันและในเด็กทารกที่คลอดก่อน กำหนด การได้รับวิตามินอีต่ำกว่าปริมาณที่กำหนดอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบ ประสาทและเป็นโรคโลหิตจางได้ เนื่องจากเซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกายถูกทำลาย

อันตราย จากการได้รับวิตามินอีมากเกินไป หรือรับประทานเป็นประจำ

การได้รับวิตามินอีมากเกินไปจะทำให้รู้สึกปวดศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนล้า ตาพร่ามัว อ่อนเพลีย มีอาการอึดอัดในช่องท้อง ท้องร่วง หากร่างกายได้รับวิตามินอีสูงมากอาจขัดขวางการดูดซึมวิตามินเอซึ่งส่งผลให้เลือดแข็งตัวช้า อย่างไรก็ตามผลการศึกษาระยะยาวในเพศชายวัยกลางคน กลับพบว่า การรับประทานวิตามิน อี (400 IU วันเว้นวัน) หรือวิตามิน ซี (500 mg ต่อวัน) ไม่ช่วยให้ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากหรือมะเร็งชนิดอื่นๆ ลดลงแต่อย่างใด Physicians’ Health Study II Randomized Controlled Trial มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงประสิทธิภาพของวิตามิน อี, ซี, และวิตามินรวม ในการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคตา(ที่สัมพันธ์กับอายุ) รวมถึงผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น การศึกษานี้เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2541 และสิ้นสุดลงเมื่อสิงหาคม พ.ศ. 2551 (เฉพาะในส่วนของวิตามิน อี และ ซี) มีผู้เข้าร่วมในการศึกษาคือแพทย์ผู้ชาย ในประเทศสหรัฐอเมริกา อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น 14,641 คน ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มคือ กลุ่มที่ได้รับวิตามิน อี 400 IU วันเว้นวัน (n=3,659) กลุ่มที่ได้รับวิตามิน ซี 500 mg วันละครั้ง (n=3,673) กลุ่มที่ได้รับวิตามินเสริมทั้งสองชนิด (n=3,656) และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (n=3,653) จากการติดตามผลระยะยาวเป็นเวลา 8 ปี (117,711 person-years) ตรวจพบมะเร็งโดยรวมทุกชนิด 1,943 ราย แต่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก 1,008 ราย มีผู้เสียชีวิตระหว่างการศึกษา 1,661 ราย ในกลุ่มที่ได้รับวิตามิน อี และยาหลอก อัตราการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก เท่ากับ 9.1 และ 9.5 [Hazard Ratio=0.97; 95%CI 0.85-1.09; P=.41] ส่วนอัตราการเกิดมะเร็งโดยรวมเท่ากับ 17.8 และ 17.3 ต่อ 1,000 person-years ตามลำดับ [Hazard Ratio=1.04; 95%CI 0.95-1.13; P=.41] ในกลุ่มที่ได้รับวิตามิน ซี เมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอก พบว่า อัตราการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก เท่ากับ 9.4 และ 9.2 [Hazard Ratio=1.02; 95%CI 0.90-1.15; P=.80] ส่วนอัตราการเกิดมะเร็งโดยรวมเท่ากับ 17.6 และ 17.5 ต่อ 1,000 person-years ตามลำดับ [Hazard Ratio=1.01; 95%CI 0.92-1.10; P=.86] นอกจากนี้ ยังพบว่าการรับประทานวิตามิน อี หรือ ซี ไม่เกี่ยวข้องกันกับการเกิดมะเร็งเฉพาะที่ (site-specific cancers) เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด และไม่มีผลต่ออาการข้างเคียงต่างๆ เช่น minor bleeding, GI symptoms, fatigue, drowsiness อย่างมีนัยสำคัญ

โฟเลต

โฟเลต Folate

กรดโฟลิก Folic acid (รู้จักกันในชื่อ วิตามิน B9 or folacin) และ โฟเลต (ซึ่งเป็นรูปแบบที่พบได้ตามธรรมชาติ ), as well as pteroyl-L-glutamic acid และ pteroyl-L-glutamate, ต่างเป็นรูปแบบที่ละลายน้ำได้ของ vitamin B9.

วิตามิน B9 (ไม่ว่าจะอยู่ในรูปกรดโฟลิก (folic acid) และ โฟเลต (folate)) จัดเป็นสารสำคัญที่ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้เป็นปกติ ไม่ว่าจะเป็นระดับ nucleotide biosynthesis จนถึง remethylation of homocysteine และมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในช่วงการเจริญเติบโตและการแบ่งตัวของเซล ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ จำเป็นต้องมี กรดโฟลิก เพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพในระดับเซลเม็ดเลือดแดงที่ดี และป้องกันโรค anemia

กรดโฟลิก (folic acid) และ โฟเลต (folate) ได้ชื่อมาจากคำ folium เป็นภาษาลาติน ที่แปลว่า ใบไม้ ("leaf")

การขาดการรับประทานโฟเลต หรือ กรดโฟลิก ทำให้เกิดภาวะ folate deficiency (FD)

โฟเลตมีบทบาทสำคัญในการสร้างสารพันธุกรรม จึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเด็กทารกและคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายต้องการเซลล์ใหม่เป็นจำนวนมาก

วิตามินบี2

วิตามินบี2
ใช้ในการเจริญเติบโต เมื่อขาดจะกลายเป็นคนแคระเกร็น จำเป็นต่อเอนไซม์และกระบวนการเมทาบอลิซึมของสารอาหารต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะไขมัน ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด อันเป็นสาเหตุให้เส้นเลือดแข็งตัว ขจัดไขมันชนิดอิ่มตัวในเส้นเลือด เหตุนี้เองวิตามินบี2 จึงได้สมญาว่า "วิตามินป้องกันไขมัน" วิตามินบี2 ช่วยระงับอาการตาแฉะได้ จึงใช้เป็นส่วนประกอบในยาหยอดตา

วิตามินซี

วิตามินซีหรือ กรดแอสคอร์บิค (Ascorbic acid) เป็นสารอาหารที่ละลายได้ในน้ำ ร่างกายไม่สามารถที่จะสร้างขึ้นเองได้ จึงจำเป็นต้องได้รับจากการรับประทานเข้าไป วิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยเพิ่มภูมิชีวิตได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถป้องกันและรักษาการอักเสบอันเนื่องมาจากแบคทีเรียและไวรัสได้

ประโยชน์

* เป็นตัวสร้างคอลลาเจน ซึ่งเป็นเส้นใยทำหน้าที่เชื่อมเนื้อเยื่อต่างๆ ไว้ด้วยกัน ทั้งยังเป็นตัวสร้างกระดูก ฟัน เหงือก และเส้นเลือด
* ช่วยให้แผลสดและแผลไฟไหม้หายเร็วขึ้น
* ช่วยให้การดูดซึมธาตุเหล็กดีขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างเม็ดเลือดทางอ้อม
* ช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ (Mutation)
* ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคนอนหลับตายใน กรณีเด็กอ่อน (SIDS: Sudden Infant Death Syndrome)
* ช่วยแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน
* ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด
* ช่วยคลายเครียด
* การฉีดด้วยวิตามินซีปริมาณสูง อาจช่วยหยุดยั้งโรคมะเร็งได้ โดยวิตามินอาจเข้าทำปฏิกิริยาทางเคมีในเซลล์ มะเร็ง ให้กลายเป็นกรดขึ้น ทำให้เนื้อร้ายชะงักและน้ำหนักลดไปได้ [1]

แหล่ง วิตามินซี

แหล่งวิตามินซีมีมากในผักตระกูลกะหล่ำ การเก็บเกี่ยวผักผลไม้ตั้งแต่ยังไม่แก่จัด ไม่สุกดี หรือนำไปผ่านการแปรรูป ไม่ว่าจะเป็นการตากแห้ง หมักดอง จะทำลายวิตามินซีที่อยู่ในอาหารไปในปริมาณมาก

ความร้อนทำลายวิตามินซีได้ง่ายจึงไม่ควรต้มหรือผัดนานเกินไป แต่การแช่เย็นไม่ได้ทำให้ผักผลไม้สูญเสียวิตามินซีเพียงข้อเสียอ

บางข้อมูลแนะนำว่าขนาดที่เหมาะสมมากที่สุดต่อวัน สำหรับผู้ใหญ่ คือ 250-500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง
แหล่งวิตามินในธรรมชาติ จำนวน ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
อะเซโรลาเชอรี่ น้ำหนัก 100 กรัม 1600 มิลิกรัม
ฝรั่ง น้ำหนัก 100 กรัม 230 มิลลิกรัม
สับปะรด 1 ชิ้นใหญ่(โดยเฉลี่ย) 20-30 มิลลิกรัม
กะหล่ำดอก น้ำหนัก 100 กรัม 49 มิลลิกรัม
บรอกโคลี น้ำหนัก 100 กรัม 84 มิลลิกรัม
น้ำมะนาว 1 แก้ว(100 กรัม) 34 มิลลิกรัม
มันฝรั่ง น้ำหนัก 100 กรัม 21.3 มิลลิกรัม
กะหล่ำปลี น้ำหนัก 100 กรัม 49 มิลลิกรัม
กล้วยชนิดต่างๆ 1 ลูก(โดยเฉลี่ย) 8.5 มิลลิกรัม
พริกหวาน 1 เม็ด(โดยเฉลี่ย) 100-120 มิลลิกรัม
ผักโขม น้ำหนัก 100 กรัม 76.5 มิลลิกรัม
สตรอว์เบอร์รี่ น้ำหนัก 100 กรัม 77 มิลลิกรัม
มะเขือเทศ น้ำหนัก 100 กรัม 21.3 มิลลิกรัม
มะละกอ น้ำหนัก 100 กรัม 60 มิลลิกรัม

อันตราย จากการขาดวิตามินซี

* ผู้ที่ขาดวิตามินซีมักมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดตามข้อต่อของร่างกาย เลือดออกตามไรฟัน เจ็บกระดูก
* แผลหายช้า เนื่องจากวิตามินซีทำหน้าที่ต่อต้านการอักเสบและช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ของร่างกาย การได้รับวิตามินซีไม่เพียงพอจะทำให้เส้นเลือดในร่างกายอ่อนแอ และทำให้บาดแผลที่เกิดขึ้นตามส่วนต่างๆ ของร่างกายหายช้ากว่าปกติ
* เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย คุณสมบัติของวิตามินซี คือ เป็นตัวต่อต้านสารก่อมะเร็งและช่วยควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน ถ้าร่างกายขาดวิตามินซีจะส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายลดต่ำลงและทำให้ ติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้ง่าย
* เป็นโรคลักปิดลักเปิด ในกรณีของเด็กหรือผู้สูงอายุที่ได้รับวิตามินซีน้อยกว่าวันละ 10 มิลลิกรัม อาจทำให้เป็นโรคลักปิดลักเปิดได้ หากร่างกายขาดวิตามินซีมากเกินปกติอาจทำให้มีลูกยาก เป็นโรคโลหิตจางและมีภาวะความผิดปกติทางจิตได้

อันตราย จากการได้รับวิตามินซีมากเกินไป

* เกาต์ เนื่องจากวิตามินซีมีหน้าที่ในการช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กในร่างกาย การรับวิตามินซีในปริมาณมากจะทำให้เกิดปัญหาการสะสมธาตุเหล็กตามกระดูกข้อ ต่อต่างๆ มากขึ้น และอาจทำให้เกิดโรคเกาต์ได้ในที่สุด
* นิ่วในไต การได้รับวิตามินซีมากเกินไปอาจไปรบกวนการดูดซึมของทองแดงและซีลีเนียม ซึ่งส่งผลให้มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดนิวในไต หากได้รับวิตามินซีเกินวันละ 10,000 มิลลิกรัม อาจทำให้ท้องเสีย ท้องอืด ท้องเฟ้อได้

วิตามินดี

วิตามินดี (CALCIFEROL หรือ ERGOSTEROL) เป็นวิตามินที่ร่างกายต้องการเพื่อการรักษาภาวะสมดุลของ ระดับแคลเซียมในเลือดและในกระดูก เมื่อร่างกายได้รับแสงแดด ร่างกายสามารถสร้างวิตามินดีได้เมื่อผิวหนังได้รับแสงแดด ในกรณีที่ไม่ถูกแดด จำเป็นจะต้องได้รับวิตามินดีจากอาหารให้มากขึ้น เมื่อได้รับแสงแดดพอ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเสริมด้วยการรับประทานวิตามินดีในรูปวิตามินรวม หรือรับประทานอาหารที่มีการเสริมด้วยวิตามินดี

วิตามินดีที่เข้าร่างกายจะถูกนำไปเก็บที่ตับเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้จะเก็บที่ผิวหนัง สมอง ตับอ่อน กระดูก และลำไส้ได้ วิตามินดีจะเสียง่ายเมื่อถูกออกซิเดชัน ละลายในตัวทำลายไขมันและไม่ละลายน้ำอาหารที่มีวิตามินดีพบได้ทั้งในพืชผัก ผลไม้ และในเนื้อเยื่อของสัตว์แต่ดูเหมือนจะเป็นวิตามินชนิดเดียวที่มีอยู่น้อยมาก ในพืชและผัก ที่พบมากได้แก่ น้ำมันตับปลา ไขมัน นม เนย ตับสัตว์ ตับปลาคอด (COD) ปลาทู ไข่แดง ปลาแซลมอน ปลาซาดีน ปลาแมคเคอร์เรก

วิตามินดีช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส มีความสำคัญในการสร้างกระดูกและฟันและการเจริญเติบโตตามปกติของเด็ก,วิตามิน ดีมีผลต่อการดูดซึมกลับของกรดอะมิโนที่ไต ,ช่วยสังเคราะห์น้ำย่อยใน mucous membrane ,ควบคุมปริมาณของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในกระแสโลหิตไม่ให้ต่ำลงจนถึงขีดอัตราย ,เกี่ยวข้องกับการใช้ฟอสฟอรัสในร่างกาย ,ช่วยสังเคราะห์ Mucopolysaccharide ซึ่งเป็นสารที่จำเป็นในการสร้าง คอลลาเจน,เกี่ยวข้องกับการใช้เกลือซิเตรทในร่างกายอาจจำเป็นในการทำงานของ ระบบประสาท การเต้นของหัวใจ การแข็งตัวของเลือด

ถ้าขาดวิตามินดีทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อนในเด็กเรียก Rickets และในผู้ใหญ่เรียกว่า Osteosarcoma มีปัญหาเกี่ยวกับการดูดซึมแคลเซียมเข้าร่างกาย รูปร่างจะไม่สมประกอบ น้ำหนักลด ฟันผุ เติบโตช้า กระดูกสันหลังโก่ง ข้อมือ เข่า และกระดูกข้อเท้าโต ความต้านทานต่อโรคต่าง ๆ ลดน้อยลง เช่นหวัด ปอดบวม วัณโรค กล้ามเนื้ออ่อนกำลังขาดความคล่องแคล่ว ว่องไว ไม่กระฉับกระเฉง ไม่มีความกระปรี้กระเปร่า กล้ามเนื้อกระตุก ถ้าได้รับวิตามินดีมากเกินไป ทำให้ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน เบื่ออาหาร ปัสสาวะมากผิดปกติและบ่อย กล้ามเนื้อไม่มีแรง รู้สึกเหนื่อยอ่อน มีหินปูนเกาะตามอวัยวะหรือเนื้อเยื่อของหัวใจ ผนังเส้นเลือดและปอด แต่อาการเหล่านี้นั้นจะหายภายใน 2 - 3 วันหลังจากหยุดวิตามิน

ข้อมูล ทั่วไป

* วิตามินดี จัดอยู่ในกลุ่มวิตามินจำพวกละลายไขมัน ร่างกายได้รับวิตามินดีสองทางด้วยกันคือ รับประทานเข้าไปแล้วซึมในร่างกายทางลำไส้ และโดยการที่ผิวหนังได้รับแสงแดดแล้วแสงอุลตราไวโอเลตจากแสงอาทิตย์จะไป กระตุ้นคอเลสเตอรอลชนิดที่อยู่ในผิวหนังให้เปลี่ยนเป็นวิตามินดี โดยตับและไตจะเปลี่ยนให้เป็นวิตามินที่มีฤทธิ์แล้วซึมเข้ากระแสโลหิตเลย ส่วนวิตามินดีที่ได้จากอาหารจะซึมเข้าลำไส้ไปพร้อม ๆ กับอาหารพวกไขมันโดยการช่วยย่อยของน้ำดี วิตามินดีที่เข้าร่างกายแล้วทั้งสองทางจะถูกนำไปเก็บที่ตับเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้จะเก็บที่ผิวหนัง สมอง ตับอ่อน กระดูก และลำไส้ได้
* วิตามินดี เป็นวิตามินที่ร่างกายต้องการเพื่อการรักษาภาวะสมดุลของระดับแคลเซียมใน เลือดและในกระดูก เมื่อร่างกายได้รับแสงแดด ร่างกายสามารถสร้างวิตามินดีได้เมื่อผิวหนังได้รับแสงแดด ในกรณีที่ไม่ถูกแดด จำเป็นจะต้องได้รับวิตามินดีจากอาหารให้มากขึ้น เมื่อได้รับแสงแดดพอ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเสริมด้วยการรับประทานวิตามินดีในรูปวิตามินรวม หรือรับประทานอาหารที่มีการเสริมด้วยวิตามินดี

* คุณสมบัติ
- วิตามินดีที่บริสุทธิ์จะมีสีขาว เป็นผลึกที่ไม่มีกลิ่น ซึ่งสามารถละลายได้ในไขมันและตัวทำละลายไขมันไม่ละลายในน้ำ จะคงทนต่อความร้อน (140 องศาเซลเซียส) คงทนต่อการออกซิเดชั่น กรดและด่างอ่อน แต่เสียง่ายเมื่อถูกอัลตราไวโอเลต - ส่วนพวกสารแรกเริ่มของวิตามินดีจะเสียง่ายเมื่อถูกออกซิเดชั่น ละลายในตัวทำลายไขมันและไม่ละลายน้ำเช่นเดียวกับวิตามินดี

ชนิด ของวิตามินดี
วิตามินดีเป็นกรุ๊ปทางเคมีของสารประกอบพวก สเทอรอล ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันโรคกระดูกอ่อน วิตามินดีจะถูกสร้างโดยฉายแสงอัลตราไวโอเลตบนสารแรกเริ่ม รูปแบบของวิตามินดีมีประมาณ 10 หรือมากกว่า แต่มีเพียง 2 รูป ที่เกี่ยวข้องกับทางโภชนาการ

1. วิตามินดีสอง (ergocalciferol or calciferor or vitamin D2) สารแรกเริ่มคือ เออร์โกสเทอรอล (ergosterol) พบในยีสต์ เห็ด และพืช เมื่อได้รับแสงอัลตราไวโอเลต ในช่วงความถี่ 230 นาโนเมตร (nm) จะสามารถเปลี่ยนเป็นออร์โกแคลซิเฟอรอล หรือวิตามินดีสองได้
2. วิตามินดีสาม (cholecalciferol or activeted 7 dehydrocholesterol or vitamin D3) จะพบในเซลล์ของคนและสัตว์ โดยผิวหนังมีสาร 7-ดีไฮโดรคอเลสเทอรอล เมื่อถูกแสงอัลตราไวโอเลต จากแสงแดด หรือจากเครื่องมือ ในช่วงความถี่ 275-300 นาโนเมตร (nm) จะสามารถเปลี่ยนเป็นคอลีแคลซิเฟอรอล (cholecalciferol) หรือวิตามินดีสามได้ การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นบนผิวหนังในชั้น กรานูโลซัม (granulosum) 7- ดิไฮโดรคอลเลสเทอรอลสามารถสร้างขึ้นได้จากคอเลสเทอรอลที่ผนังลำไส้เล็กแล้ว ส่งผ่านไปยังผิวหนัง

วิตามินเอ

วิตามินเอ มีส่วนประกอบสำคัญของคอร์เนีย และยังมีผลต่อการเจริญเติบโต การสร้างกระดูก และระบบสืบพันธุ์ นอกจากนี้ ยังป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ และระบบขับปัสสาวะ ทำให้ผิวและผมแข็งแรง

ค้นพบโดย ดร. อี.วี. แมคคอลลัม (E.V. McCollum) นักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐอเมริกา

วิตามินเอ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

1. อยู่ในรูปแบบวิตามินอยู่แล้ว (Proformed Vitamin A)หรือเรียกว่า Retinol ซึ่งได้มาจากเนื้อสัตว์ เช่น น้ำมันตับปลา
2. กำลังจะเป็นวิตามินเอ (Provitamin A) หรือเรียกว่า Carotene เป็นสารที่เมื่อเข้าสู่รางกายจึงได้รับการเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ พบมาในผักสีต่างๆ เช่น แครอท ผักโขม

ประโยชน์

* ช่วยบำรุงสายตา และแก้โรคตามัวตอนกลางคืน (Night Blindness)
* ช่วยให้กระดูก ผม ฟัน และเหงือกแข็งแรง
* สร้างความต้านทานให้ระบบหายใจ
* ช่วยสร้างภูมิชีวิตให้ดีขึ้น และทำให้หายป่วยเร็วขึ้น
* ช่วยในเรื่องของผิวพรรณ ลดการอักเสบของสิว และช่วยลบจุดด่างดำ
* ช่วยบรรเทาโรคเกี่ยวกับไทรอยด์

แหล่ง วิตามินเอ

ผักผลไม้ที่ให้วิตามินเอส่วนใหญ่จะมีสีเหลือง ส้ม แดง และเขียวเข้ม เพราะมีเบต้าแคโรทีนและแคโรนอยด์ที่ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอต่อไป เนื่องด้วยวิตามินเอในผักผลไม้มีความไวต่อออกซิเจนมาก ดังนั้นวิธีการต้มที่ป้องกันการสูญเสียวิตามินได้ดีทีสุดคือ ควรปิดฝาภาชนะขณะต้มและใส่น้ำน้อยๆ

ร่ายกายต้องการวิตามินเอในแต่ละวันอยู่ที่วันละ 4,000-5,000 IU
แหล่งวิตามินในธรรมชาติ จำนวน ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ
ผักตำลึง น้ำหนัก 100 กรัม 18,608 IU
ยอดชะอม น้ำหนัก 100 กรัม 10,066 IU
คะน้า น้ำหนัก 100 กรัม 9,300 IU
แครอท น้ำหนัก 100 กรัม 9,000 IU
ยอดกระถิน น้ำหนัก 100 กรัม 7,883 IU
ผักโขม น้ำหนัก 100 กรัม 7,200 IU
ฟักทอง น้ำหนัก 100 กรัม 6,300 IU
มะม่วงสุก 1 ผล(โดยเฉลี่ย) 4,000 IU
บรอกโคลี 1 หัว(โดยเฉลี่ย) 3,150 IU
แคนตาลูบ น้ำหนัก 100 กรัม 3,060 IU
แตงกวา 1 กิโลกรัม 1,750 IU
ผักกาดขาว น้ำหนัก 100 กรัม 1,700 IU
มะละกอสุก 1 ชิ้นยาว(โดยเฉลี่ย) 1,500 IU
หน่อไม้ฝรั่ง น้ำหนัก 100 กรัม 810 IU
มะเขือเทศ น้ำหนัก 100 กรัม 800 IU
พริกหวาน 1 เม็ด(โดยเฉลี่ย) 500-700 IU
แตงโม 1 ชิ้นใหญ่ 700-1,000 IU
กระเจี๊ยบเขียว น้ำหนัก 100 กรัม 470 IU

วิตามินบี 12

วิตามินบี 12 (Cyanocobalamin) เป็นวิตามินชนิดละลายน้ำ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ให้ระวังการดูดซึมของบี12 สู่ร่างกายจะบกพร่องและเป็นผลให้เกิดโรคโลหิตจาง ควรกินวิตามินชนิดนี้ควบกับแคลเซียมจะทำให้การดูดซึมสู่ร่างกายดีขึ้น

ประโยชน์
* ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง
* ช่วยให้เด็กเติบโตและเจริญอาหาร
* ช่วยให้ระบบประสาททำงานได้ดี
* ช่วยให้สมองไม่ฟุ้งซ่าน ความจำดีและมีสมาธิ

แหล่ง อาหาร
พบมากในตับ ไต รองลงมาได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่แดง และอาหารหมักดอง เช่น กะปิ น้ำปลา เต้าเจี้ยว อาหารที่มาจากพืชผักทั้งหมดไม่มีวิตามิน บี 12เลย ยกเว้นอาหารหมักดอง ผู้บริโภคมังสวิรัติชนิดเคร่งครัด จึงควรบริโภค อาหารที่ได้จากการหมักด้วย การขาดวิตามิน บี12 ต้องใช้เวลา 10-15 ปี หรือนานกว่านั้น เนื่องจากเป็นวิตามินที่ละลายน้ำเพียงชนิดเดียว ที่มีการสะสมในร่างกายได้มาก

อันตราย จากการขาดวิตามิน
โรคโลหิตจางชนิดเพอรืนิเซียส วิตามินบี 12 จะสามารถดูดซึมได้ดี ต้องประกอบด้วย กรดเกลือในกระเพาะอาหาร , intrinsic factorที่ผลิตจากกระเพาะอาหาร , เอนไซม์ทริปซินซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ผลิตจากตับอ่อน , ลำไส้เล็กต้องแข็งแรง เนื่องจากการดูดซึมวิตามินบี 12 จะเกิดขึ้นที่บริเวณลำไส้เล็กตอนปลาย โดยอาศัย intrinsic factor มีการเสื่อมหรือสูญเสีย ของประสาทสัมผัส มีอาการชาที่แขนและขา อารมณ์แปรปรวน ความจำเสื่อม มีปัญหาเรื่องการมองเห็น หรืออาจมีอาการอื่นๆขึ้นอยู่กับเส้นประสาท เส้นใดที่เกิดความเสียหาย จากการไม่มีการสร้างแผ่นไมอีลิน

วิตามินบี 6

วิตามินบี 6 (อังกฤษ: Pyridoxine) เป็นวิตามินที่มักใช้ร่วมกับบี1 และบี12 ซึ่งวิตามินบี1 ทำงานกับคาร์โบไฮเดรตส่วนวิตามินบี6 และบี12 ทำงานร่วมกับโปรตีนและไขมัน ร่างกายคนเราต้องการวิตามินบี6 ประมาณ 1.5 มิลลิกรัม

ประโยชน์
* ช่วยเปลี่ยนกรดอมิโนให้เป็นวิตามินบี3 หรือไนอะซิน
* ช่วยร่างกายสร้างภูมิต้านทานแอนติบอดี และช่วยสร้างเซลล์โลหิตใด้ดียิ่งขึ้น
* ช่วยร่างกายสร้างน้ำย่อยในกระเพาะอาหารและแร่ธาตุแมกนีเซียม
* ช่วยบรรเทาโรคที่เกิดจากระบบประสาทและผิวหนัง
* ช่วยบรรเทาการคลื่นไส้อาเจียน
* ช่วยบรรเทาอาการปากแห้งและคอแห้ง
* ช่วยแก้การเป็นตะคริว แขนขาชาและช่วยขับปัสสาวะ

ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะผิวหนัง

ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะผิวหนัง (Transdermal patch female contraceptive) [1]เป็น ยาคุมกำเนิดแบบใหม่ที่เพิ่งเข้านำเข้ามาใช้ในประเทศไทย มีประสิทธิภาพดีเทียบเท่ายาเม็ดคุมกำเนิดชนิด Combined pill โดยใช้ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะสัปดาห์ละ 1 แผ่น ในระหว่างที่ใช้แผ่นแปะ สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ เช่น อาบน้ำ ว่ายน้ำ ออกกำลังกาย โดยไม่มีผลต่อการออกฤทธิ์ของยา จึงเป็นวิธีคุมกำเนิดที่ง่าย สะดวก ลดปัญหาการลืมทานยาเม็ด

กลไก ในการป้องกันการตั้งครรภ์
ทำให้เมือกที่บริเวณปากมดลูกเหนียวข้นขึ้น ซึ่งทำให้อสุจิผ่านเข้ามาผสมกับไข่ได้ยากขึ้น และมีผลทำให้เยื่อบุมดลูกบางลง ไม่เหมาะต่อการฝังตัวของไข่ นอกจากนี้ยังมีผลยับยั้งการตกไข่

วิธี การใช้ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะผิวหนัง
ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะผิวหนัง ใน 1 กล่อง มีแผ่นแปะ 3 แผ่น ซึ่ง 3 แผ่นนี้จะใช้แปะผิวหนังใน 1 รอบเดือน (รอบเดือนปกติของสตรีจะมีระยะเวลาประมาณ 28 วัน หรือ 4 สัปดาห์) โดยใน แผ่นของยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะ จะแปะผิวหนังได้นาน 1 สัปดาห์ และต้องใช้ต่อเนื่อง 3 สัปดาห์ของรอบเดือน ส่วนสัปดาห์ที่ 4 เป็นช่วงที่ไม่มีการใช้ยา สรุป คือ ใน1 รอบเดือน ให้แปะแผ่นยาคุมกำเนิด 3 สัปดาห์ และหยุดแปะ 1 สัปดาห์

เริ่มแปะแผ่นยาในวันแรกที่มีประจำเดือน โดยใช้ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะในวันแรกที่รอบเดือนมา ซึ่งเริ่มใช้แผ่นแปะคุมกำเนิดภายใน 24 ชั่วโมงในวันแรกที่รอบเดือนมา และนับวันที่แปะแผ่นคุมกำเนิดในวันนี้เป็นวันที่หนึ่งของการใช้ยาคุมกำเนิด ซึ่งวันเปลี่ยนแผ่นยาจะตรงกับวันที่แปะแผ่นยาคุมกำเนิดวันนี้ในทุกสัปดาห์ และมีผลในการคุมกำเนิดทันที่ ไม่ต้องใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วย

เริ่มแปะแผ่นยาในวันอาทิตย์ ระหว่างสัปดาห์ที่มีประจำเดือนมา โดยเริ่มใช้ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะในวันอาทิตย์ ส่วนรอบต่อไปก็เปลี่ยนแผ่นแปะทุกวันอาทิตย์ ทั้งนี้ในช่วง 7 วันแรก ควรใช้การคุมกำเนิดอย่างอื่นร่วมด้วย

ข้อ ควรปฏิบัติในกรณีลืมเปลี่ยนแผ่นยาคุมกำเนิด
* กรณีลืมเปลี่ยนแผ่นยาในสัปดาห์แรกของรอบเดือน ให้แปะยาแผ่นใหม่ทันที่ที่นึกขึ้นได้ วันเปลี่ยนแผ่นยาจะเปลี่ยนใหม่จะเป็นวันใหม่นี้แทน และต้องคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นด้วย เช่น สวมถุงยางอนามัยใน 7 วันแรก
* กรณีลืมเปลี่ยนแผ่นยาในสัปดาห์ที่ 2 หรือ 3 ของรอบเดือน
* หากลืมน้อยกว่า 48 ชั่วโมง ควรปฏิบัติดังนี้ แปะแผ่นยาใหม่ทันทีที่นึกได้ และวันเปลี่ยนแผ่นยาคงเป็นวันเดิม ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีทุมกำเนิดอื่นร่วมด้วย
* หากลืมมากกว่า 48 ชั่วโมง ควรปฏิบัติดังนี้ แปะยาแผ่นใหม่ทันทีที่นึกขึ้นได้ ให้นับยาแผ่นใหม่ที่แปะนี้เป็นยาแผ่นแรกของรอบการใช้ยาแผ่นใหม่ทันที และต้องคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นร่วมด้วย เช่น สวมถุงยางอนามันใน 7 วันแรก


== ข้อควรปฏิบัติในกรณีแผ่นยาคุมกำเนิดหลุดลอก ==

* กรณีแผ่นยาหลุดน้อยกว่า 1 วัน แปะยาแผ่นใหม่ทันที แล้วเปลี่ยนแผ่นยาใหม่ในวันเปลี่ยนแผ่นยาตามกำหนด
* กรณีลืมแผ่นหลุดนานเกิน 1 วัน ผู้ใช้ควรหยุดรอบการนับการใช้แผ่นยาเดิม และให้เริ่มต้นการใช้แผ่นยาคุมกำเนิดรอบใหม่ทีนที และนับวันนี้เป็นวันแรกของการใช้รอบใหม่ และต้องคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นร่วมด้วย เช่น สวมถุงยางอนามันใน 7 วันแรก


บริเวณที่เหมาะสมในการแปะแผ่นยาคุมกำเนิด คือ สะโพก หน้าท้อง ต้นแขนด้านนอก หรือ แผ่นหลังช่วงบน แต่ห้ามแปะบริเวณหน้าอก[2]

กลไก การออกฤทธิ์

กลไก การออกฤทธิ์
ยับยั้งฮิสทามีนที่ตัวรับ H1 แบบแข่งขัน

ผล ข้างเคียงของยา
อาจมีอาการ ปากแห้ง คอแห้ง ไม่สบายท้อง ง่วงซึม ปวดหัว ใจสั่น วิงเวียน นอนไม่หลับ อ่อนล้า คลื่นไส้อาเจียน มีปัญหาการมอง ปัสสาวะยาก อยากอาหาร น้ำหนักเพิ่ม ผื่นขึ้น ถ้ามีปัญหาควรปรึกษาแพทย์

คำ เตือนและข้อควรระวัง
* ควรบอกแพทย์ก่อนถ้าคุณเป็นโรค หอบหืด, ต้อหิน (glaucoma), ulcer, ต่อมลูกหมากโต (prostate gland hypertrophy) ความดันโลหิตสูง , ชัก (seizures), กำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
* ไม่ควรดื่มสุราระหว่างใช้ยานี้
* ควรบอกแพทย์ก่อนถ้าคุณกำลังใช้ยานอนหลับ, ยากล่อมประสาท, ยาสงบระงับ, ยาคลายกล้ามเนื้อ, ยากดประสาท

คำ แนะนำระหว่างใช้ยานี้
* ถ้าเกิดอาการนอนไม่หลับ มากกว่า 2 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์
* ยานี้อาจทำให้เกิดอาการง่วงซึม จึงไม่ควรทำงานที่ต้องใช้ความระมัดระวัง หรือ เสี่ยงอันตราย เช่น การขับรถ หรือ ทำงานเกี่ยวกับการควบคุมเครื่องจักรกล เป็นต้น

ไอบูโปรเฟน

ไอบูโปรเฟน (อังกฤษ:Ibuprofen) เป็นยาบรรเทาอาการปวดประเภท เอ็นเซด (nonsteroidal anti-inflammatory drug-NSAID) ผลิตออกจำหน่ายในชื่อการค้าที่หลากหลาย เช่น

* แอกต์-3 (Act-3)
* แอดวิล (Advil)
* บรูเฟน (Brufen)
* โมตริน (Motrin)
* นูปริน (Nuprin)
* นูโรเฟน (Nurofen)

ไอบูโปรเฟนใช้รักษาอาการปวดข้อ (arthritis) อาการปวดระดู (dysmenorrhoea) เป็นไข้ (fever) ยาบรรเทาปวด (analgesic) และ การอักเสบ ไอบูโปรเฟนเป็นผลงานการวิจัยและ พัฒนาของ กลุ่มบริษัทบูตส์

ไอบูโปรเฟนใช้รักษาโรคได้ดังตอไปนี้:
* รูมาตอยด์ อาร์ทริติส (rheumatoid arthritis)
* ออสทีโออาร์ทริติส (osteoarthritis)
* รูมาตอยด์ อาร์ทริติส ในเด็ก (juvenile rheumatoid arthritis)
* อาการปวดระดู (primary dysmenorrhoea)
* ไข้ (fever)
* รักษาอาการปวดและอักเสบทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง
* บรรเทาอาการ ปวดหัว โดยเฉพาะ ไมเกรน (migraine)

กลไก การออกฤทธ์
ไอบูโปรเฟน เป็น เอ็นเซด ที่เชื่อกันว่ามันมีฤทธ์ยับยั้งเอ็นไซม์ ไซโคลออกซเจเนส (COX) เป็นผลให้เกิดการยับยั้งการสังเคราะห์โปรสตาแกลนดิน (prostaglandin)

แอมโมเนียมคลอไรด์

แอมโมเนียมคลอไรด์ หรือ ซัลแอมโมเนียค (Sal Ammoniac )(สูตรเคมี แอมโมเนียม คลอไรด์ (NH4Cl); ชื่ออื่นๆ คือ nushadir salt, zalmiak, sal armagnac, sal armoniac, and salt armoniack) ในรูปบริสุทธิ์จะเป็น เกลือ ผงผลึกสีขาวละลายน้ำได้ มีรสขม ในธรรมชาติ เป็นสารที่เกิดตามแหล่ง ภูเขาไฟ เกิดเป็นหินภูเขาไฟตามปล่องภูเขาไฟ

ตามประวัติศาสตร์มันถูกจัดเป็นหนึ่งในสี่ หัวใจ การเล่นแปรธาตุ เมื่อแตกตัวมันจะให้วัสดุที่มีพลัง การกัดกร่อน สูงสองตัว คือ แอมโมเนีย และ กรดเกลือ ที่สามารถละลาย โลหะ ได้ ซึ่งนักเล่นแร่แปลธาตุมักจะใช้เปลี่ยนโลหะให้เป็นอย่างอื่น, ชาวอาหรับ ใช้มันเป็นแหล่ง แอมโมเนีย:

2NH4Cl + 2CaO → CaCl2 + Ca(OH)2 + 2NH3

มัน ใช้ในการผลิต แอมโมเนีย มเปอร์คลอเรต (ammonium perchlorate) (NH4ClO4):

NaClO4 + NH4Cl → NH4ClO4 + NaCl

แอมโมเนียมคลอไรด์ ใช้ทำความสะอาดหัวแร้งบัดกรี ใช้เป็นอาหารเสริมในปศุสัตว์ เป็นส่วนผสมของ แชมพู สระผมใช้ผสมหมึกพิมพ์ใน อุตสาหกรรมผ้า ในกาวผลิตไม้อัด ส่วนผสมในอาหารยีส ผสมในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดส่วนผสมในยาแก้ไอเนื่องมีฤทธิ์ ขับเสมหะ (expectorant)

พาราเซตามอล

พาราเซตามอล (อังกฤษ: Paracetamol) (INN) (ออกเสียง: /ˌpærəˈsiːtəmɒl, ˌpærəˈsɛtəmɒl/) หรือ อะ เซตามีโนเฟน (acetaminophen) (นิยมเรียกในสหรัฐอเมริกา (USAN)) เป็นยาที่สามารถจำหน่ายได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ (OTC) มีฤทธิ์บรรเทาอาการยาแก้ปวดและลดไข้ ซึ่งเป็นยาพื้นฐานที่มักใช้เพื่อบรรเทาไข้ อาการปวดศีรษะ และอาการปวดเมื่อย และรักษาให้กายจากโรคหวัดและไข้หวัด พาราเซตามอลประกอบด้วยยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตรอยด์ (NSAIDs) และโอปิออยด์ พาราเซตามอลมักใช้รักษาอาการปวดพื้นฐานถึงการปวดอย่างซับซ้อน

โดย ทั่วไปพาราเซตามอลจะปลอดภัยต่อมนุษย์หากได้รับในปริมาณที่เหมาะสม แต่หากได้รับปริมาณมากเกินไป (เกิน 1000 มิลลิกรัมต่อโดส หรือ 4,000 มิลลิกัรมต่อวันในผู้ใหญ่ หรือเกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับผู้ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์[2]) จะทำให้เกิดความเสียหายต่อการทับงานของตับได้ แต่ผู้ป่วยบางรายที่รับประทานในปริมาณปกติก็สามารถส่งผลต่อตับได้เช่นเดียว กับผู้ที่รับในปริมาณมากเกินไปเช่นกัน แต่หากกรณีดังกล่าวพบได้น้อยมาก อันตรายจากการใช้ยานี้จะมากขึ้นในผู้ดื่มแอลกอฮอล์ พิษของพาราเซตามอลสามารถทำใหแกิดภาวะตับล้มเหลวซึ่งมีการพบ แล้วในโลกตะวันตก อาทิในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
ประวัติ

ในสมัยโบราณจะใช้เปลือกต้นหลิว (willow) เป็นยาแก้ไข้ (antipyretic) ในขณะนั้นรู้กันว่าสารเคมีในเปลือกหลิว คือ ซาลิซิน (salicins) ซึ่งสามารถจะเปลี่ยนเป็นแอสไพรินได้ และทราบด้วยว่าสารเคมีที่อยู่ในเปลือก ซิงโคน่า (cinchona) ใช้เป็นยารักษามาลาเรียได้ คือ ควินนิน (quinine) และมีฤทธิ์เป็นยาแก้ไข้ได้ด้วย

ในช่วงทศวรรษ 1880เกิดการ ขาดแคลนต้น ซิงโคน่า จึงได้มีการหาทางเลือกสำหรับยาลดไข้และได้ค้นพบยาลดไข้ตัวใหม่ ดังนี้

* พบ อะซิตานิไลด์ (Acetanilide) ในปี ค.ศ. 1886
* พบ ฟีนาซิติน (Phenacetin) ในปี ค.ศ. 1887

ใน ขณะที่ ฮาร์มอน นอร์ทรอป มอร์ส (Harmon Northrop Morse) สามารถสังเคราะห์ พาราเซตามอลได้ในปี ค.ศ. 1873 โดยปฏิกิริยารีดัก ชั่น พารา-ไนโตรฟีนอล (p-nitrophenol) กับ ดีบุกในกรดน้ำส้ม (acetic acid) พาราเซตามอลไม่ได้ถูกใช้เป็นยาเกือบยี่สิบปี จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1893ได้มีการตรวจพบพาราเซ ตามอล ในปัสสาวะของผู้ที่ใช้ยาฟีนาซิตินและในปีค.ศ. 1899 พบว่าพาราเซตามอลเป็นเมตาโบไลต์ ของ อะซิตานิไลด์

ใน ปี ค.ศ. 1948 เบอร์นาร์ด บรอดี้ และ จูเลียส อะเซลรอด ได้ทดลองใช้ อะซิตานิไลด์ ในโรค เมตทีโมโกบินีเมีย (methemoglobinemia) เขาพบว่าฤทธิ์บรรเทาอาการปวดของอะซิตานิไลด์ เกิดจากพาราเซตามอลซึ่งเป็นเมตาโบไลต์ ของ อะซิตานิไลด์ และพาราเซตามอลมีผลข้างเคียงน้อยกว่าอะซิตานิไลด์ มาก ตั้งแต่นั้นมาพาราเซตามอลก็ถูกใช้เป็นยาแก้ไขแก้ปวดกันอย่างแพร่หลาย

* ค.ศ. 1955 พาราเซตามอลวางตลาดในสหรัฐอเมริกา ชื่อการค้าว่า Tylenol
* ค.ศ. 1956 พาราเซตามอลวางตลาดในประเทศอังกฤษ ชื่อการค้าว่า Panadol

วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553

คาเฟอีน

คาเฟอีน (อังกฤษ: caffeine) เป็นสารแซนทีนอัลคาลอยด์ ซึ่งสามารถพบได้ในอาหารหลายชนิดได้แก่ เมล็ดกาแฟ,ชา,ผล โคล่า คาเฟอีนถือว่าเป็นยากำจัดศัตรูพืชโดย ธรรมชาติ เพราะมันออกฤทธิ์ทำให้อัมพาต และสามารถฆ่าแมลงบางชนิดได้ คาเฟอีนยังมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ร่างกายเกิดความตื่นตัวและลดความง่วงได้ เครื่องดื่มหลายชนิดมีคาเฟอีนเป็นส่วนผสม เช่นในกาแฟ น้ำชา น้ำอัดลม รวมทั้งเครื่องดื่มชูกำลัง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้คาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นประสาทที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในโลก

แหล่ง ของคาเฟอีน
เมล็ดกาแฟจัดเป็นพืชที่เป็นแหล่งของคาเฟอีนที่ใหญ่ที่สุด ปริมาณคาเฟอีนที่อยู่ในกาแฟจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักสองประการ คือชนิดของเมล็ดกาแฟที่เป็นแหล่งผลิต และกรรมวิธีในการเตรียมกาแฟ เช่น เมล็ดกาแฟที่คั่วจนเป็นสีเข้มจะมีปริมาณคาเฟอีนน้อยกว่าเมล็ด ที่คั่วไม่นาน เนื่องจากคาเฟอีนสามารถสลายตัวไปได้ระหว่างการคั่ว และกาแฟพันธุ์อาราบิกาจะมีปริมาณคาเฟ อีนน้อยกว่ากาแฟพันธุ์โรบัสตา เป็นต้น โดยทั่วไปกาแฟเอสเปรสโซจากเมล็ดกาแฟพันธุ์อาราบิกาจะมีคาเฟอี นประมาณ 40 มิลลิกรัม นอกจากนี้ในเมล็ดกาแฟยังพบอนุพันธุ์ของคาเฟอีน คือธีโอฟิลลิน (Theophyllin) ในปริมาณเล็กน้อยอีกด้วย

ใบชายังเป็นแหล่งของคาเฟอีนที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่ง พบว่าจะมีคาเฟอีนมากกว่ากาแฟในปริมาณเดียวกัน แต่วิธีชงดื่มของชานั้น ทำให้ปริมาณคาเฟอีนลดลงไปมาก แต่ชาจะมีปริมาณของธีโอฟิลลินอยู่มาก และพบอนุพันธุ์อีกชนิดของคาเฟอีน คือธีโอโบรมีน (Theobromine) อยู่เล็กน้อยด้วย ชนิดของใบชาและ กระบวนวิธีการเตรียมก็เป็นปัจจัยสำคัญของคาเฟอีนในน้ำชาเช่น เดียวกับในกาแฟ เช่นในชาดำและชาอูหลงจะมีคาเฟอี นมากกว่าในชาชนิดอื่นๆ อย่างไรก็ตาม สีของน้ำชาไม่ได้เป็นลักษณะบ่งชี้ถึงปริมาณคาเฟอีนในน้ำชา เช่นในชาเขียวญี่ปุ่นซึ่งจะมีปริมาณคาเฟอีนสู งกว่าชาดำบางชนิด

ช็อคโกแลตซึ่งผลิตมาจากเมล็ดโกโก้ก็เป็นแหล่งของคาเฟอี นเช่นเดียวกัน แต่ในปริมาณที่น้อยกว่าเมล็ดกาแฟและใบชา แต่เนื่องจากในเมล็ดโกโก้มีสารธีโอฟิลลินและธีโอโบรมีนอยู่มาก จึงมีฤทธิ์อ่อนๆในการกระตุ้นประสาท อย่างไรก็ตาม ปริมาณของสารดังกล่าวนี้ก็ยังน้อยเกินไปที่จะให้เกิดผลกระตุ้นประสาทเช่น เดียวกับกาแฟในปริมาณที่เท่ากัน

น้ำอัดลมและเครื่องดื่มชูกำลังเป็นเครื่องดื่มที่พบคา เฟอีนได้มากเช่นเดียวกัน น้ำอัดลมทั่วไปจะมีคาเฟอีนประมาณ 10-50 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ขณะที่เครื่องดื่มชูกำลัง เช่นกระทิงแดง จะมีคาเฟอีนอยู่มากถึง 80 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค คาเฟอีนที่ผสมอยู่ในเครื่องดื่มเหล่านี้อาจมาจากพืชที่เป็นแหล่งผลิต แต่ส่วนใหญ่จะได้จากคาเฟอีนที่สกัดออกระหว่างการผลิตกาแฟพร่องคาเฟอีน (decaffeinated coffee)
สถานะ ทางเคมี
คาเฟอีน เป็นสารอัลคาลอยด์ซึ่งจัดอยู่ ในตระกูล เมทิลแซนทีน ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกันกับสารประกอบ ธีโอฟิลลิน และ ธีโอโบรมีน ในสถานะบริสุทธิ์ จะมีสีขาวเป็นผง และมีรสขมจัด สูตรทางเคมีคือ C8H10N4O2,
เม แทบอลิซึมและเภสัชวิทยา

คาเฟ อีนจัดเป็นสารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและเมแทบอลิซึมหรือกลไกการเผา ผลาญสารอาหารในร่างกาย [3]เพื่อ ลดความง่วง ความเหนื่อยล้า และจะส่งผลกระตุ้นเส้นประสาท โดยมีการปล่อยโปแตสเซียมและแคลเซียม เข้าสู่เซลล์ประสาท เพิ่มการตื่นตัวของร่างกาย โดยในระบบประสาท คาเฟอีนจะไปกระตุ้นการทำงานในระดับสูงของสมอง เพื่อเพิ่มความกระปรี้กระเปร่า ทำให้กลไกการคิดรวดเร็วและมีสมาธิมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ร่างกายมีกระบวนการต่างๆในการแปรรูปคาเฟอีนที่ได้รับมาเป็นสารอนุพันธุ์ชนิด อื่นซึ่งมีฤทธิ์ต่างๆกัน ซึ่งกล่าวถึงในหัวข้อถัดไป
เม แทบอลิซึม
คาเฟอีนถูกแปรสภาพโดนเอนไซม์ใน ตับ ได้เป็นอนุพันธุ์ของคาเฟอีนสามชนิด คือ พาราแซนทีน (84%), ธีโอโบรมีน (12%), and ธีโอฟิลลิน (4%)

คาเฟอีนจะถูกดูดซึมที่กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กภายใน 45 นาทีหลังจากการบริโภค หลังจากนั้นจะถูกนำเข้ากระแสเลือดและลำเลียงไปทั่วร่างกาย ครึ่งชีวิตของคาเฟอีนในร่างกาย หรือเวลาที่ร่างกายใช้ในการกำจัดคาเฟอีนในปริมาณครึ่งหนึ่งของที่บริโภค จะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลโดยมีปัจจัยต่างๆ เช่นอายุ ระดับการทำงานของตับ ภาวะตั้งครรภ์และการใช้ยาอื่นร่วมด้วย ในผู้ใหญ่ปกติจะมีครึ่งชีวิตของคาเฟอีนประมาณ 3-4 ชั่วโมง ในขณะที่หญิงที่ทานยาคุมกำเนิดและหญิงตั้งครรภ์อาจมีครึ่งชีวิตของคา เฟอีนประมาณ 5-10 ชั่วโมง [4] และ 9-11 ชั่วโมง .[5] ตามลำดับ ในผู้ป่วยโรคตับระยะรุนแรง อาจมีการสะสมของคาเฟอีนในร่างกายได้นานถึง 96 ชั่วโมง.[6] สำหรับในทารกและเด็กจะมีครึ่งชีวิตของคาเฟอีนที่นานกว่าผู้ใหญ่ พบว่าในทารกแรกเกิดจะมีครึ่งชีวิตของคาเฟอีนประมาณ 30 ชั่วโมง คาเฟอีนจะถูกเปลี่ยนแปลงสภาพที่ตับ โดยอาศัยการทำงานของเอนไซม์ ไซโตโครม พี 450 ออกซิเดส (Cytochrome P450 oxidase) ซึ่งเอนไซม์นี้จะเปลี่ยนคาเฟอีนให้เป็นอนุพันธุ์สามชนิด [7] คือ

* พาราแซนทีน (Paraxanthine) มีผลในการสลายไขมัน เพิ่มปริมาณของกลีเซอรอลและกรดไขมันในกระแสเลือด
* ธีโอโบรมีน (Theobromine) มีผลในการขยายหลอดเลือด และเพิ่มปริมาณของปัสสาวะ
* ธีโอฟิลลิน (Theophylline) มีผลทำให้กล้ามเนื้อเรียบที่อยู่ล้อมรอบหลอดลมปอดคลายตัว จึงทำให้หลอดลมขยายตัวมากขึ้น

อนุ พันธุ์ทั้งสามชนิดนี้จะถูกแปรสภาพต่อไป และขับออกทางปัสสาวะในที่สุด
การ ออกฤทธิ์

เนื่องจากคาเฟอีนเป็นสารในกลุ่มแซนทีนแอลคาลอยด์ที่มีโครง สร้างคล้ายคลึงกับแอดิโนซีน (Adenosine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทชนิดหนึ่งในสมอง โมเลกุลของคาเฟอีนจึงสามารถจับกับตัวรับแอดิโนซีน (adenosine receptor) ในสมองและยับยั้งการทำงานของแอดิโนซีนได้ [8] ผลโดยรวมคือทำให้มีการเพิ่มการทำงานของสารสื่อประสาทโดปามีน (dopamine) ซึ่งทำให้สมองเกิดการตื่นตัว นอกจากนี้พบว่าอาจจะมีการเพิ่มปริมาณของซีโรโทนิน (serotonin) ซึ่งมีผลต่ออารมณ์ของผู้บริโภค ทำให้รู้สึกพึงพอใจและมีความสุขมากขึ้น อย่างไรก็ตาม คาเฟอีนมิได้ลดความต้องการนอนหลับของสมอง เพียงแต่ลดความรู้สึกเหนื่อยล้าลงเท่านั้น

อย่างไรก็ดี สมองจะมีการตอบสนองต่อคาเฟอีนโดยการเพิ่มปริมาณของตัวรับแอดิโนซีน ทำให้ฤทธิ์ของคาเฟอีนในการบริโภคครั้งต่อไปลดลง เราเรียกภาวะนี้ว่าภาวะทนต่อคาเฟอีน (caffeine tolerance)และทำให้ผู้บริโภคต้องการคาเฟอีนมากขึ้นเพื่อให้เกิดผลต่อร่างกาย ผลอีกประการที่เกิดจากการที่สมองเพิ่มปริมาณของตัวรับแอดิโนซีน นั่นคือทำให้ร่างกายไวต่อปริมาณแอดิโนซีนที่ผลิตตาม ปกติมากขึ้น [9]เมื่อ หยุดการบริโภคคาเฟอีนในทันที จะทำให้เกิดผลข้างเคียงคืออาการปวดศีรษะและรู้สึกคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ร่างกายตอบสนองต่อแอดิโนซีนมากเกินไปนั่นเอง นอกจากนี้ ในผู้ที่หยุดบริโภคคาเฟอีนจะทำให้ปริมาณของโดปามีนและซีโรโทนินลดลงในทันที ส่งผลให้สูญเสียสมาธิและความตั้งใจ รวมทั้งอาจเกิดอาการซึมเศร้าอย่างอ่อนๆได้ อาการดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นประมาณ 12-24 ชั่วโมงหลังจากการหยุดบริโภคคาเฟอีน แต่จะหายไปได้เองภายใน 2-3 วัน อาการของการอดคาเฟอีนดังกล่าวสามารถบรรเทาได้โดยการใช้ยาแอสไพริน หรือการได้รับคาเฟอีนในปริมาณน้อย

ดินประสิว

ดินประสิว หรือ โพแทสเซียมไนเตรต (อังกฤษ: Potassium Nitrate) มีสูตรเคมี KNO3 มีจำนวนอะตอมอยู่ 5 อะตอม เป็นดินที่เป็นกรดเกิดจากมูลของค้างคาว โดยการที่นำเอามูลค้างคาวมาต้มเคี่ยว แล้วทิ้งไว้ให้เย็น จะมีเกล็ดสีขาวเกาะอยู่ เรียกว่า “ดินประสิวขาว” [2] ส่วนดินประสิวตามร้านสมุนไพรทั่ว ๆ ไปนั้นจะมีจุดสีเหลือง ๆ สีดำ ๆ แสดงว่าทำยังไม่สะอาดดี การกลั่นกรองยังใช้ไม่ดี
ประโยชน์

ดินประสิวที่ทางภาคเหนือนั้นจะขาว นำมาเป็นส่วนผสมของดอกไม้เพลิง ใช้ทำดินปืน ทำดอกไม้เพลิง หรือใช้ใส่อาหารหมักดอก เช่น พวกปลาร้า ปลาเจ่า หมูแหนม ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขอนุญาตให้ผสมในอาหารได้ในปริมาณที่กำหนด คือ ใช้ไนเตรทได้ไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม และไนไตรท์ไม่เกิน 125 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารบูดเน่า ช่วยระงับการเจริญเติบโตของเชื้อคลอสตริเดียม โบทูไลนัม หรือ เพื่อรักษาสีของเนื้อสัตว์ให้ดูใหม่สด [3]

ในธุรกิจอาหารจะใช้ดินประสิวเป็นสารกันบูดและสารถนอมสีเนื้อสัตว์ให้ดูสด อยู่เสมอ ความจริงแล้วผลของการกันบูดกันเสียนั้น สำคัญอยู่ที่อนุพันธ์ไนเตรต ดังนั้นในการถนอมอาหาร จึงสามารถใช้ไนเตรตในรูปอื่นด้วย คือ โซเดียมไนเตรต และนอกจากไนเตรตแล้ว ยังมีสารอีกชนิดหนึ่งที่คนชอบใช้เป็นสารกันบูดก็คือไนไตรต์ แต่ด้วยคุณสมบัติของไนเตรตและไนไตรต์ที่สามารถรักษาสีของเนื้อสัตว์ให้ดูสด อยู่ เสมอได้ โดยการทำปฏิกิริยากับสีของเม็ดเลือดแดง ทำให้สีคงทนอยู่ได้นานนี้ เป็นสาเหตุให้พ่อค้าแม่ค้าที่ไม่รู้ถึงอันตราย ที่อาจจะเกิดขึ้น หรืออาจจะด้วยความเห็นแก่ตัว เห็นแก่เงินต้องการขายสินค้าของตัวเองให้ได้มาก ๆ จึงใส่ดินประสิวหรือไนเตรตและสารไนไตรต์ในปริมาณสูงลงในอาหารเพื่อปกปิดสภาพ ที่แท้จริงของอาหารให้อาหารอย่างพวกเนื้อเค็ม ปลาเค็ม กุนเชียง ไส้กรอก เบคอน แหนมเป็นสีแดงสวยแม้จะค้างนานวันก็ตาม จากการสุ่มตัวอย่าง เคยตรวจพบ เนื้อเค็ม เนื้อสวรรค์ ไส้กรอก ไตปลาดิบ มีสารไนเตรตและไนไตรต์ในปริมาณที่สูงมากเกินปริมาณที่กระทรวงสาธารณสุขของ ไทยกำหนดให้ใช้ จุดประสงค์ที่ทางคณะกรรมการอาหารและยาอนุญาตให้ใช้สารในกลุ่มนี้ได้ เนื่องจากสารกลุ่มนี้มีคุณสมบัติใน การป้องกันการเจริญของเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด โดยเฉพาะป้องกันการเจริญของเชื้อคลอสตริเดียมโบ ทูลินัม ซึ่งเชื้อนี้สามารถสร้างสารพิษโบทูลิน ที่มีอันตรายร้ายแรงมาก เชื้อโรคชนิดนี้มักเจริญเติบโตในอาหารที่เก็บในภาชนะปิดสนิทอากาศผ่านเข้า ออกไม่ได้ เช่น อาหารกระป๋อง[4]

โทษ

ดินประสิวเป็นสารก่อมะเร็ง สามารถทำปฏิกิริยากับสารเอมีน (amine) ในปลาหรือในร่างกายของมนุษย์ โดยมีน้ำย่อยในกะเพาะอาหารเป็นตัวช่วยทำให้เกิดสารประกอบหลายชนิดที่มีโครง สร้างคล้ายกัน เรียกว่า "ไนโตรซามีน" สารเหล่านี้บางชนิดไม่มีอันตรายต่อสุขภาพ แต่บางชนิดจะร้ายแรงมากทำให้เป็นมะเร็งได้ ถ้ารับประทานไนเตรตเข้าไปมาก ๆ อาจทำให้เกิดอาการท้องร่วงรุนแรงมาก อาจเกิดอาการตัวเขียว หายใจไม่ออกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก ๆ จะยิ่งไวต่อสารเคมีชนิดนี้มากกว่าผู้ใหญ่

ปัจจุบัน ยังพบว่าสารไนไตรต์สามารถจะทำปฏิกิริยากับสารประกอบบางอย่างในอาหาร และสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไป แล้วเกิดเป็นสารประกอบชนิดใหม่ขึ้น เรียกว่าสารไนโตรซามีนซึ่งเป็นสาร เคมีกลุ่มที่อาจทำให้เกิดเป็นมะเร็งใน อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้ การเกิดไนโตรซามีนนั้นอาจเกิดมาจากไนเตรต เปลี่ยนเป็นไนไตรต์ โดยเชื้อแบคทีเรียบางชนิด แล้วไนไตรต์ก็จะทำปฏิกิริยากับอามีนที่มีอยู่ในเนื้อสัตว์บางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่เป็นกรด จะเกิดปฏิกิริยาได้ไนโตรซามีน ซึ่งเป็นสารที่ก่อมะเร็งได้อย่างรวดเร็วในระยะหลังพบว่าไนโตรซามีนสามารถ เกิดขึ้นได้ในร่างกาย โดยเฉพาะในกระเพาะอาหารที่มีสภาวะเป็นกรด เมื่อเราได้รับไนเตรตเข้าไปในร่างกายแล้ว ภายใน 1-2 ชม. ร่างกายขับไนเตรตและบางส่วนเปลี่ยนเป็นไนไตรต์ออกมาทางน้ำลายสูง เมื่อเรากลืนน้ำลายผสมกับอาหารที่มีอามีนสูง็จะเกิดปฏิกิริยาในกระเพาะอาหาร ได้ ดังนั้นถ้าเรากินอาหาร ที่มีดินประสิวหรือไนเตรตและสารไนไตรต์สูง แล้วกินอาหารที่มีอามีนในมื้อถัดไปก็จะได้รับ ไนโตรซามีนที่เกิดขึ้นในกระเพาะอาหารได้

ยาระบาย

ยาระบาย (อังกฤษ: Laxative) เป็นตำรับยาที่กำจัดกากอาหาร (defecation) หรืออุจจาระ (feces) ออกจากร่างกาย ยาระบายส่วนใหญ่จะใช้รักษาโรคท้องผูก (constipation) โดยการกระตุ้น หล่อลื่น และสร้างปริมาณอุจจาระ

ยาระบายแบ่งเป็น ประเภทต่างๆ ดังนี้

* 1 เพิ่มปริมาณอุจจาระ (Bulk-producing agents)
* 2 ยาประเภททำให้อุจจาระ อ่อนนุ่ม (Stool softeners / Surfactants)
* 3 ยาประเภทหล่อลื่น (Lubricants / Emollient)
* 4 ยาประเภทเพิ่มปริมาตร น้ำ (Hydrating agents (osmotics))
o 4.1 ยาประเภทน้ำเกลือ (Saline)
o 4.2 ไฮเปอร์ออสโมติก เอเจนต์ (Hyperosmotic agents)
* 5 ประเภทกระตุ้น (Stimulant / Irritant)
* 6 อื่นๆ
o 6.1 น้ำมันระหุ่ง (Castor Oil)

เพิ่ม ปริมาณอุจจาระ (Bulk-producing agents)

* ตำแหน่งออก ฤทธิ์ยา: ลำไส้เล็ก และ ลำไส้ใหญ่
* ช่วงเวลาออกฤทธิ์: 12 - 72 ชม.
* ยา ประเภทนี้จะมีลักษณะดังนี้

1. กากอาหารไฟเบอร์ (dietary fiber)
2. สารที่เมื่อถูกน้ำแล้วจะเพิ่มปริมาตรเป็นเจล เช่น
1. พซิลเลียม (psyllium)
2. เมตามูซิล (Metamucil) ,
3. เม ตทิลเซลลูโลส (Citrucel) ,
4. พอลิคาร์โบฟิล (polycarbophill)

ยา ประเภททำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม (Stool softeners / Surfactants)

* ตำแหน่ง ออกฤทธิ์ยา: ลำไส้เล็ก และ ลำไส้ใหญ่
* ช่วงเวลาออกฤทธิ์: 12 - 72 ชม.
* ตัวอย่างยานี้คือ ดูคูเซต (docusate-Colace, Diocto).

ยา ประเภทหล่อลื่น (Lubricants / Emollient)

* ตำแหน่งออก ฤทธิ์ยา: ลำไส้โคลอน (Colon)
* ช่วงเวลาออกฤทธิ์: 6 - 8 ชม.
* ตัวอย่าง ยานี้คือน้ำมันแร่ (mineral oil) ผลข้างเคียงจากการใช้ยานี้คือ ทำให้การดูดซึมไวตามินประเภทที่ละลายในน้ำมัน

เช่น เอ ดี อี และ เค น้อยลงอาจทำให้ร่างกายขาดไวตามินเหล่านี้ได้
ยา ประเภทเพิ่มปริมาตรน้ำ (Hydrating agents (osmotics))

* ตัวอย่าง ยาเหล่านี้คือ

1. มิลค์ออฟแมกนิเซีย (Milk of Magnesia)
2. เกลือยิปซั่ม (Epsom salt)

ยา ประเภทน้ำเกลือ (Saline)

* ตำแหน่งออกฤทธิ์ยา: ลำไส้เล็ก และ ลำไส้ใหญ่
* ช่วงเวลาออกฤทธิ์: 0.5 - 3 ชม.
* ตัวอย่าง ยาเหล่านี้คือ

1. โมโนเบซิก โซเดียม ฟอสเฟต (Monobasic sodium phosphate)
2. ไดเบซิก โซเดียม ฟอสเฟต (Dibasic sodium phosphate)
3. แมกนีเซียม ซิเตรต (Magnesium citrate)
4. มิลค์ออฟแมกนิเซีย (Milk of Magnesia)
5. แมกนีเซียม ซัลเฟต (Magnesium sulphate)
6. โซเดียม ไบฟอสเฟต (Sodium biphosphate)

ไฮ เปอร์ ออสโมติก เอเจนต์ (Hyperosmotic agents)

* ตำแหน่ง ออกฤทธิ์ยา: ลำไส้โคลอน (Colon)
* ช่วงเวลาออกฤทธิ์: 0.5 - 3 ชม.
* ตัวอย่าง ยาเหล่านี้เป็นยาประเภทยาเหน็บ (suppositories) ได้แก่

1. กลีเซอรีน (Glycerin)
2. แลคตูโลส (Lactulose)

ยาแก้ท้องร่วง

ยาแก้ท้องร่วง(อังกฤษ:antidiarrhoeal)เป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการ ท้องร่วงท้องร่วง(diarrhoea)ซึ่ง แบ่งเป็นกลุ่มดังนี้

1. สารละลายเกลือแร่ (Electrolyte) เพื่อทดแทนการสูญเสียของเหลวและเกลือแร่ออกจากร่างกาย
2. สารเพิ่มปริมาณ (Bulking agents)
1. methylcellulose,
2. guar gum or plant fibre (bran, sterculia,ispaghul, etc.)
3. สารดูดซับพิษ (Absorbents)
1. methylcellulose
4. ยาลดการ เคลื่อนไหวของลำไส้ (slow intestinal transit)
1. โอปิเอต (Opiate)
2. โลเปอราไมด์ (Loperamide)

พริก


พริก เป็นพืชในตระกูล Solanaceae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Capsicum frutescens L. ชื่อภาษาอังกฤษว่า Chilli peppers, chili, chile หรือ chilli มาจากคำภาษาสเปน ว่า chile โดยส่วนมากแล้ว ชื่อเหล่านี้มักหมายถึง พริกที่มีขนาดเล็ก ส่วนพริกขนาดใหญ่ที่มีรสอ่อนกว่าจะเรียกว่า Bell Pepper ในสหรัฐอเมริกา Pepper ในประเทศอังกฤษและไอร์แลนด์, capsicum ในประเทศอินเดียกับออสเตรเลีย และ Paprika ในประเทศทวีปยุโรปหลายประเทศ พริกชนิดต่างๆ มีต้นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกา ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีปลูกกันในหลายประเทศทั่วโลก เพราะพริกเป็นเครื่องเทศที่สำคัญชื่อหนึ่ง และยังมีคุณสมบัติเป็นยาสมุนไพรด้วยเช่นกัน

สรรพคุณ

พริกมีวิตามินซี สูง เป็นแหล่งของกรด ascorbic ซึ่งสารเหล่านี้ ช่วยขยายเส้นโลหิตในลำไส้และกระเพาะอาหารเพื่อให้ดูดซึมอาหารดีขึ้น ช่วยร่างกายขับถ่าย ของเสียและนำธาตุอาหารไปยังเนื้อเยื่อของร่างกาย (tissue) สำหรับพริกขี้หนูสดและพริกชี้ฟ้าของไทย มีปริมาณวิตามิน ซี 87.0 - 90 มิลลิกรัม / 100 g นอกจากนี้พริกยังมีสารเบต้า - แคโรทีนหรือวิตามินเอ สูง (พริกขี้หนูสด 140.77 RE )

พริกยังมีสารสำคัญอีก 2 ชนิด ได้แก่ Capsaicin และ Oleoresinโดยเฉพาะสาร Capsaicin ที่ นำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และผลิตภัณฑ์รักษาโรค ในอเมริกามีผลิตภัณฑ์จำหน่ายในชื่อ Cayenne สำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร สาร Capsaicin ยังมีคุณสมบัติทำให้เกิดรสเผ็ด ลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ หัวไหล่ แขน บั้นเอว และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และมีผลิตภัณฑ์จำหน่ายทั้งชนิดเป็นโลชั่นและครีม ( Thaxtra - P Capsaicin) แต่การใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจมีผลกระทบต่ออาการหยุดชะงักการทำงานของกล้ามเนื้อได้เช่นกัน เพื่อความปลอดภัย USFDA ได้กำหนดให้ใช้สาร capsaicin ได้ ที่ความเข้มข้น 0.75 % สำหรับเป็นยารักษาโรค