วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553

กลูตาเมต

กลูตาเมต หรือ กรดกลูตามิค เป็นกรดอะมิโนชนิดที่พบมากที่สุดในโปรตีนตามธรรมชาติ กรดกลูตามิคจัดเป็นกรดอะมิโน ชนิดที่ไม่จำเป็น ในทางเคมีนั้นกลูตาเมตเป็นไอออนลบของกรดกลูตามิก

โครง สร้าง
โครงสร้างทางเคมีของกรดกลูตามิกมีหมู่คาร์บอกซิลิกสอง หมู่และหมู่อะมิโนหนึ่งหมู่ การที่กรดกลูตามิกมีหมู่คาร์บอกซิลิกมากกว่ากรดอะมิโนทั่วไปจึงทำให้มี คุณสมบัติเป็นกรด โดยในค่าพี่เอชที่เป็นกลาง หมู่ฟังก์ชันเหล่านี้แตกตัวเป็นไอออนทั้งหมดทำให้ประจุสุทธิเป็น -1

หน้าที่
กลูตาเมตเป็นสารที่มีความสำคัญต่อวิถีการสันดาปโดยเฉพาะในปฏิกิริยา ทรานส์อะมิเนชั่น (transamiation)ที่มีการเคลื่อนย้ายหมู่อะมิโนของกรดอะมิโนไปยังกรดแอลฟาคีโตซึ่ง เอนไซม์ที่เร่งปฏิกิริยานี้ คือ เอนไซม์ทรานส์อะมิเนส (transaminase)

ในระบบประสาทกลูตาเมตทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาทที่ออกฤทธิ์แบบกระตุ้น มีบทบาทสำคัญในกระบวนการเรียนรู้และจดจำของสมอง เมื่อเซลล์ประสาทหลั่งกลูตาเมตออกสู่ช่องว่างระหว่างไซแนปส์ (ไซแนปติกเคล็ป) แล้วสารนี้จะไปจับกับตัวรับกลูตาเมต กลูตาเมตที่มากเกินไปซึ่งละลายอยู่นอกเซลล์ประสาทและเซลล์เกลียจะถูกดูดกลับเข้าเซลล์โดยอาศัยกลูตาเมตทราน สปอตเตอร์

แหล่ง อาหารและการดูดซึม
กรดกลูตามิกหรือกลูตาเมตมีอยู่ในอาหารตามธรรมชาติ ทั้งที่อยู่ในรูปของโปรตีนในอาหาร และกลูตามเมตอิสระ (กรดอมิโนตัวเดี่ยวๆ) ซึ่งมีทั้งที่มีอยู่ตามธรรมชาติและจากเครื่องปรุงรสที่เติมลงไปในอาหาร เช่น น้ำปลา ซีอิ้ว และผงชูรส (โมโนโซเดียมกลูตาเมต) กลูตาเมตอิสระในอาหารทำหน้าที่ให้รสชาติที่ชื่อว่า รสอูมามิ หรือ รสอร่อยกลมกล่อม โดยการจับกับ Umami Receptor ที่อยู่บนผิวเซลล์ของต่อมรับรสบนลิ้น กลูตาเมตที่อยู่ในอาหารไม่ว่าจะมาจากแหล่งใด รวมทั้งที่อยู่ในรูปของผงชูรส ประมาณร้อยละ 95 จะถูกสันดาปที่เซลล์ในลำไส้เล็ก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น