วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2553

ปรอท

ปรอท (อังกฤษ: Mercury; ละติน: Hydragyrum) เป็นโลหะหนักสามารถหาปรอทได้จากหินที่ขุดพบในเหมือง โดยการนำหินนั้นมาทำให้ร้อนด้วยอุณหภูมิ 357 องศาเซลเซียส ปรอทเป็นสารที่มีความหนาแน่นสูง ถึงขั้นที่ก้อนตะกั่วหรือเหล็กสามารถลอยอยู่ได้ ถึงแม้ปรอทจะมีลักษณะคล้ายตะกั่วและเป็นของเหลว แต่ก็มีน้ำหนักมากกว่าตะกั่ว (มวลอะตอม 200.59) และถึงแม้ปรอทจะเป็นโลหะ แต่ก็ไม่ดึงดูดกับแม่เหล็ก เราสามารถนำปรอทมาใช้ในอุตสาหกรรมหลายๆ ประเภท ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องวัดอุณหภูมิและความดัน การย้อมสี การผลิตเยื่อกระดาษ พลาสติก เภสัชภัณฑ์ อุปกรณ์ในการถ่ายรูป อุปกรณ์ไฟฟ้า สารฆ่าแมลงและยาฆ่าเชื้อ. นอกจากนี้ เนื่องจากว่าปรอทมีจุดเดือดไม่สูงนัก จึงได้มีการทดลองนำ เมอคิวริคออกไซด์ มาผลิดเป็นออกซิเจนบริสุทธิ์อีกด้วย

ประโยชน์

ปรอทมักจะใช้ในการผลิตเคมีทางอุตสาหกรรม หรือในการประยุกต์ทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ปรอทใช้ในเทอร์มอมิเตอร์บางชนิด โดยเฉพาะที่ใช้วัดอุณหภูมิสูง (ในสหรัฐฯ บางรัฐและท้องถิ่นห้ามการขายปรอทวัดไข้โดยไม่มีใบสั่งแพทย์) การใช้อื่นๆ นอกจากนี้มีเช่น

* เครื่องวัด ความดันเลือด
* ทีเมอโรซอล (Thimerosal) เป็นสารประกอบอินทรีย์ ที่ใช้เป็นสารกันบูดในวัคซีน และหมึกสำหรับทำรอยสัก (Thimerosal in vaccines)
* บาโรมิเตอร์ปรอท ปั๊มสูญญากาศ (diffusion pump) เครื่องวัด ปริมาณไฟฟ้า, และอุปกรณ์ห้องปฏิบัติการอื่นๆ เนื่องจากเป็นของเหลวที่มีความหนาแน่นสูง ปรอทจึงเหมาะสมที่จะใช้
* จุด triple point ของปรอท คือ -38.8344 °C คือจุดที่ใช้เป็นอุณหภูมิมาตรฐานสำหรับมาตราอุณหภูมินานาชาติ (International Temperature Scale, ITS-90)
* ในหลอดอิเล็กตรอนบาง ชนิด รวมถึงเครื่องปรับกระแสสลับให้เป็นกระแสตรง (mercury arc rectifier)
* ไอปรอทใช้ในหลอดไฟไอปรอท และป้ายโฆษณา "หลอดนีออน" บางชนิด และหลอดไฟฟลูออเรส เซนต์
* ปรอทเหลวในบางครั้งใช้เป็นตัวทำความเย็นสำหรับเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ อย่างไรก็ดี มีการเสนอให้ใช้โซเดียมสำหรับเครื่องปฏิกรณ์ที่ใช้โลหะเหลวในการทำ ความเย็น เนื่องจากปรอทมีความหนาแน่นสูงทำให้ต้องใช้พลังงานในการหมุนเวียนตัวทำความ เย็น
* ปรอทในอดีตเคยใช้ในวิธีการแอมัลกาเมชัน (amalgamation) สำหรับการทำให้แร่ทองคำและเงินบริสุทธิ์ ซึ่งวิธีการที่ทำให้เกิดมลพิษนี้ยังคงใช้โดยนักขุดทอง garimpeiros ของลุ่มแม่น้ำอะเมซอนในบราซิล
* ปรอทยังคงใช้ในบางวัฒนธรรมสำหรับยาพื้นบ้าน และสำหรับวัตถุประสงค์ทางพิธีกรรม ซึ่งอาจรวมถึงการรับประทาน การฉีด หรือการโปรยปรอททั่วบ้าน
* อเล็กซานเดอร์ คัลเดอร์ (Alexander Calder) สร้างน้ำพุปรอท (mercury fountain) สำหรับซุ้มของสเปน (Spanish Pavilion) ที่งาน World's Fair ในปารีสเมื่อ พ.ศ. 2480
* ใช้ในเคมีไฟฟ้าเป็นส่วนของขั้วไฟฟ้าทุติยภูมิอ้าง อิงที่เรียกว่าขั้วไฟฟ้าคา โลเมล (calomel electrode) เป็นทางเลือกใหม่ต่างจากขั้วไฟฟ้าไฮโดรเจนมาตรฐาน (Standard Hydrogen Electrode ใช้เพื่อหาศักย์ขั้วไฟฟ้า (electrode potential) ของครึ่งเซลล์

การใช้อื่นๆ: สวิตช์ปรอท ขั้วไฟฟ้าสำหรับการ การแยกสาร ด้วยกระแสไฟฟ้าบางชนิด ถ่านไฟฟ้า (ถ่านไฟปรอท รวมถึงสำหรับการผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์และคลอรีน และถ่านอัลคาไลน์) , คะตาลิสต์ ยาฆ่าแมลง โลหะอุดฟัน และ กล้องโทรทรรศน์กระจกเหลว (liquid mirror)

การใช้ในอดีต: ป้องกันไม้ ล้างรูปดาแกร์โรไทป์ (daguerreotypes) เคลือบกระจกเงา สีสำหรับป้องกันเรือสกปรก (ยกเลิกเมื่อ พ.ศ. 2533) , ยาฆ่าพืช (ยกเลิกเมื่อ พ.ศ. 2538) การทำความสะอาด และเครื่องปรับระกับในรถยนต์ สารประกอบของปรอทได้เคยใช้ใน ยาฆ่าเชื้อโรค ยาถ่าย ยาแก้ซึม และ ยาแก้โรคซิฟิลิส. นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวหาว่า สายลับพันธมิตรชาติ ตะวันตกใช้ปรอทเพื่อก่อวินาศกรรมเครื่องบินของเยอรมัน โดยทาปรอทไว้บนอะลูมิเนียมเปลือย ทำให้โลหะสึกกร่อนอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความเสียหายทางโครงสร้างอย่างไม่ทราบสาเหตุ

ในการประยุกต์บางอย่าง ปรอทสามารถแทนที่ด้วยโลหะผสมกาลินสแตน (galinstan: แกลเลียม + อินเดียม + ดีบุก) ซึ่งมีพิษน้อยกว่า แต่แพงกว่าพอสมควร

ในวัตถุมงคลโดยเฉพาะกลุ่มเครื่องรางที่เรียกว่า เบี้ยแก้ ได้มีการใช้ปรอทบรรจุลงไปในตัวเบี้ยด้วยเช่นเดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น