วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553

ยาระบาย

ยาระบาย (อังกฤษ: Laxative) เป็นตำรับยาที่กำจัดกากอาหาร (defecation) หรืออุจจาระ (feces) ออกจากร่างกาย ยาระบายส่วนใหญ่จะใช้รักษาโรคท้องผูก (constipation) โดยการกระตุ้น หล่อลื่น และสร้างปริมาณอุจจาระ

ยาระบายแบ่งเป็น ประเภทต่างๆ ดังนี้

* 1 เพิ่มปริมาณอุจจาระ (Bulk-producing agents)
* 2 ยาประเภททำให้อุจจาระ อ่อนนุ่ม (Stool softeners / Surfactants)
* 3 ยาประเภทหล่อลื่น (Lubricants / Emollient)
* 4 ยาประเภทเพิ่มปริมาตร น้ำ (Hydrating agents (osmotics))
o 4.1 ยาประเภทน้ำเกลือ (Saline)
o 4.2 ไฮเปอร์ออสโมติก เอเจนต์ (Hyperosmotic agents)
* 5 ประเภทกระตุ้น (Stimulant / Irritant)
* 6 อื่นๆ
o 6.1 น้ำมันระหุ่ง (Castor Oil)

เพิ่ม ปริมาณอุจจาระ (Bulk-producing agents)

* ตำแหน่งออก ฤทธิ์ยา: ลำไส้เล็ก และ ลำไส้ใหญ่
* ช่วงเวลาออกฤทธิ์: 12 - 72 ชม.
* ยา ประเภทนี้จะมีลักษณะดังนี้

1. กากอาหารไฟเบอร์ (dietary fiber)
2. สารที่เมื่อถูกน้ำแล้วจะเพิ่มปริมาตรเป็นเจล เช่น
1. พซิลเลียม (psyllium)
2. เมตามูซิล (Metamucil) ,
3. เม ตทิลเซลลูโลส (Citrucel) ,
4. พอลิคาร์โบฟิล (polycarbophill)

ยา ประเภททำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม (Stool softeners / Surfactants)

* ตำแหน่ง ออกฤทธิ์ยา: ลำไส้เล็ก และ ลำไส้ใหญ่
* ช่วงเวลาออกฤทธิ์: 12 - 72 ชม.
* ตัวอย่างยานี้คือ ดูคูเซต (docusate-Colace, Diocto).

ยา ประเภทหล่อลื่น (Lubricants / Emollient)

* ตำแหน่งออก ฤทธิ์ยา: ลำไส้โคลอน (Colon)
* ช่วงเวลาออกฤทธิ์: 6 - 8 ชม.
* ตัวอย่าง ยานี้คือน้ำมันแร่ (mineral oil) ผลข้างเคียงจากการใช้ยานี้คือ ทำให้การดูดซึมไวตามินประเภทที่ละลายในน้ำมัน

เช่น เอ ดี อี และ เค น้อยลงอาจทำให้ร่างกายขาดไวตามินเหล่านี้ได้
ยา ประเภทเพิ่มปริมาตรน้ำ (Hydrating agents (osmotics))

* ตัวอย่าง ยาเหล่านี้คือ

1. มิลค์ออฟแมกนิเซีย (Milk of Magnesia)
2. เกลือยิปซั่ม (Epsom salt)

ยา ประเภทน้ำเกลือ (Saline)

* ตำแหน่งออกฤทธิ์ยา: ลำไส้เล็ก และ ลำไส้ใหญ่
* ช่วงเวลาออกฤทธิ์: 0.5 - 3 ชม.
* ตัวอย่าง ยาเหล่านี้คือ

1. โมโนเบซิก โซเดียม ฟอสเฟต (Monobasic sodium phosphate)
2. ไดเบซิก โซเดียม ฟอสเฟต (Dibasic sodium phosphate)
3. แมกนีเซียม ซิเตรต (Magnesium citrate)
4. มิลค์ออฟแมกนิเซีย (Milk of Magnesia)
5. แมกนีเซียม ซัลเฟต (Magnesium sulphate)
6. โซเดียม ไบฟอสเฟต (Sodium biphosphate)

ไฮ เปอร์ ออสโมติก เอเจนต์ (Hyperosmotic agents)

* ตำแหน่ง ออกฤทธิ์ยา: ลำไส้โคลอน (Colon)
* ช่วงเวลาออกฤทธิ์: 0.5 - 3 ชม.
* ตัวอย่าง ยาเหล่านี้เป็นยาประเภทยาเหน็บ (suppositories) ได้แก่

1. กลีเซอรีน (Glycerin)
2. แลคตูโลส (Lactulose)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น